Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กรมทางหลวงชนบท (อังกฤษ: Department of Rural Roads) เป็นส่วนราชการระดับกรม สังกัดกระทรวงคมนาคม จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2545 โดยบุคลากรโอนภารกิจมาจากกรมโยธาธิการและกรมการเร่งรัดพัฒนาชนบท มีหน้าที่ในการพัฒนาและยกระดับมาตรฐานทางหลวงชนบท เพื่อสนับสนุนการคมนาคมขนส่ง การท่องเที่ยว การพัฒนาชายแดน การพัฒนาเมืองอย่างบูรณาการและยั่งยืน แก้ไขปัญหาจราจรโดยสร้างทางเชื่อม ทางเลี่ยง และทางลัด รวมทั้งเป็นพี่เลี้ยงด้านการพัฒนาทางหลวงท้องถิ่นให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
Department of Rural Roads | |
ตราสัญลักษณ์ของกรม | |
ภาพรวมกรม | |
---|---|
ก่อตั้ง | 3 ตุลาคม พ.ศ. 2545 |
กรมก่อนหน้า | |
ประเภท | ส่วนราชการ |
เขตอำนาจ | ทั่วราชอาณาจักร |
สำนักงานใหญ่ | เลขที่ 9 ถนนพหลโยธิน แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร 10220 |
บุคลากร | 4,081 คน (พ.ศ. 2566)[1] |
งบประมาณต่อปี | 50,643,485,000 บาท (พ.ศ. 2568)[2] |
ฝ่ายบริหารกรม |
|
ต้นสังกัดกรม | กระทรวงคมนาคม |
เว็บไซต์ | เว็บไซต์ของกรม |
พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 มุ่งปรับปรุงระบบระบบราชการให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นไปของสังคม โดยมีการจัดตั้งกรมทางหลวงชนบทขึ้น แต่ได้มีการกำหนดบทเฉพาะกาล มาตรา 54 ไว้ว่า "ภายในห้าปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้โอนกิจการอำนาจหน้าที่ ทรัพย์สิน งบประมาณ หนี้ สิทธิ ภาระผูกพัน ข้าราชการ ลูกจ้าง และอัตรากำลังของกรมทางหลวงชนบท และบรรดาอำนาจหน้าที่ของผู้ดำรงตำแหน่งหรือผู้ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในกรมทางหลวงชนบท ไปเป็นของกรมทางหลวง หรือผู้ดำรงตำแหน่งหรือผู้ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ ตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา ในพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวจะกำหนดให้การกำหนดรายละเอียดบางกรณีเป็นไปตามมติของคณะรัฐมนตรีหรือประกาศของรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องก็ได้ เมื่อมีการตราพระราชกฤษฎีกาตามวรรคหนึ่งขึ้นบังคับใช้แล้ว ให้ถือว่ากรมทางหลวงชนบทเป็นอันยุบเลิก" ซึ่งจะเป็นผลให้กรมทางหลวงชนบท มีภารกิจที่จะต้องดำเนินการในระยะเวลาเพียง 5 ปี
ต่อมาภายหลังการประชุมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2550 ได้มีมติให้กรมทางหลวงชนบทดำเนินการต่อไปอีก 5 ปี กระทั่งในปี พ.ศ. 2552 ได้มีพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2552 ให้ยกเลิกการยุบกรมทางหลวงชนบท และให้มีภารกิจดำเนินการเช่นเดิม เนื่องจากเป็นนโยบายหลักของทุกรัฐบาล[3]
สัญลักษณ์ของกรมทางหลวงชนบท คือ องค์พระวิษณุหรือพระนารายณ์ เป็นเทพแห่งวิศวกรรมการพัฒนา การก่อสร้าง และบำรุงรักษาทางหลวง ประทับเป็นสง่าบนพระอาสน์ มือขวาถือจอบ มือซ้ายถือลูกดิ่ง เบื้องหลังพระวิษณุแสงสว่างแผ่เป็นรัศมีโดยรอบทั้ง 8 ทิศ แสดงถึงภารกิจของกรมทางหลวงชนบท ครอบคลุมทั้งประเทศ และลายกนก 3 ชั้น ตัดด้วยเส้นสีแดงบนพื้นสีเหลืองทอง หมายถึง ประเทศไทย
รายนามอธิบดีกรมทางหลวงชนบท | ||
ลำดับ | รายนาม | ระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง |
---|---|---|
1 | สุรชัย ธารสิทธิ์พงษ์ | (8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545 - 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549) |
2 | ระพินทร์ จารุดุล | (29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 - 10 เมษายน พ.ศ. 2551) |
3 | สุพจน์ ทรัพย์ล้อม | (11 เมษายน พ.ศ. 2551 - 30 กันยายน พ.ศ. 2551) |
4 | วิชาญ คุณากูลสวัสดิ์ | (31 ตุลาคม พ.ศ. 2551 - 30 กันยายน พ.ศ. 2554) |
5 | ชาติชาย ทิพย์สุนาวี | (21 ตุลาคม พ.ศ. 2554 - 30 กันยายน พ.ศ. 2557) |
6 | ดรุณ แสงฉาย | (16 ธันวาคม พ.ศ. 2557 - 30 กันยายน พ.ศ. 2558) |
7 | พิศักดิ์ จิตวิริยะวศิน | (1 ตุลาคม พ.ศ. 2558 - 29 มกราคม พ.ศ. 2562) |
8 | กฤชเทพ สิมลี | (29 มกราคม พ.ศ. 2562 - 30 กันยายน พ.ศ. 2562) |
9 | ปฐม เฉลยวาเรศ | (13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 - 14 ตุลาคม พ.ศ. 2564) |
10 | อภิรัฐ ไชยวงศ์น้อย | (15 ตุลาคม พ.ศ. 2564 - ปัจจุบัน) |
กรมทางหลวงชนบทได้มีแผนพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวในแต่ละภูมิภาคของประเทศไทย (Scenic Route) ประกอบไปด้วยโครงข่ายสายทางที่ก่อสร้างแล้ว และอยู่ระหว่างการก่อสร้างและศึกษา[5] ประกอบไปด้วย
ถนนเฉลิมบูรพาชลทิต เป็นโครงข่ายถนนในชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก มีแผนในการพัฒนาเส้นทางตั้งแต่จังหวัดชลบุรี จังหวัดระยอง จังหวัดจันทบุรี และจังหวัดตราด ปัจจุบันสร้างระยะแรกเสร็จสิ้นแล้วคือช่วงจังหวัดระยอง - จันทบุรี
ประกอบไปด้วยแผนพัฒนาสองฝั่งทะเลในภาคใต้ คือ ถนนเลียบชายฝั่งทะเลด้านตะวันตกของอ่าวไทย และถนนเลียบชายฝั่งทะเลอันดามัน
ถนนเลียบชายฝั่งทะเลด้านตะวันตกของอ่าวไทย เป็นโครงข่ายถนนในชายฝั่งทะเลด้านตะวันตกของอ่าวไทย มีแผนในการพัฒนาเส้นทางตั้งแต่จังหวัดสมุทรปราการ เลาะตามชายฝั่งลงไปจนถึงจังหวัดนราธิวาส ระยะทางประมาณ 1500 กิโลเมตร[6][7] ปัจจุบันสร้างระยะแรกเกือบสมบูรณ์แล้วในช่วงจังหวัดสมุทรสาคร - จังหวัดชุมพร
ถนนเลียบชายฝั่งทะเลอันดามัน เป็นโครงข่ายถนนในชายฝั่งทะเลอันดามัน มีแผนในการพัฒนาเส้นทางตั้งแต่จังหวัดระนอง จังหวัดพังงา จังหวัดภูเก็ต จังหวัดกระบี่ และจังหวัดสตูล ปัจจุบันอยู่ระหว่างการศึกษา ระยะทางประมาณ 600 กิโลเมตร[8]
ถนนนาคาวิถี เป็นโครงข่ายถนนริมฝั่งแม่น้ำโขง มีแผนพัฒนาเส้นทางตั้งแต่จังหวัดเลย จังหวัดหนองคาย จังหวัดบึงกาฬ จังหวัดนครพนม จังหวัดมุกดาหาร จังหวัดอำนาจเจริญ และจังหวัดอุบลราชธานี ระยะทางประมาณ 750 กิโลเมตร[6] คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างได้ในปี พ.ศ. 2565[9]
ถนนบูรพาคีรี เป็นโครงข่ายถนนเลียบชายเขาด้านทิศใต้ของเขาใหญ่ มีแผนพัฒนาเส้นทางตั้งแต่จังหวัดนครนายก จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดปราจีนบุรี และจังหวัดสระแก้ว ระยะทางประมาณ 175 กิโลเมตร ปัจจุบันอยู่ในระหว่างการสำรวจและออกแบบ[6]
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.