Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรคหัด (อังกฤษ: measles) เป็นโรคติดเชื้อชนิดหนึ่งที่ติดต่อกันได้ง่ายมาก เกิดจากเชื้อไวรัสหัด[3][9] ในระยะแรกผู้ป่วยจะมีไข้ ซึ่งมักเป็นไข้สูง (>40 องศาเซลเซียส) ไอ น้ำมูกไหลจากเยื่อจมูกอักเสบ และตาแดงจากเยื่อตาอักเสบ[3][4] ในวันที่ 2-3 จะเริ่มมีจุดสีขาวขึ้นในปาก เรียกว่าจุดของคอปลิก[4] จากนั้นในวันที่ 3-5 จะเริ่มมีผื่นเป็นผื่นแดงแบน เริ่มขึ้นที่ใบหน้า จากนั้นจึงลามไปทั่วตัว[4] อาการมักเริ่มเป็น 10-12 หลังจากรับเชื้อ และมักเป็นอยู่ 7-10 วัน[6][7]สามารถพบภาวะแทรกซ้อนได้ราว 30% ซึ่งภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้ได้แก่ ท้องร่วง ตาบอด สมองอักเสบ ปอดอักเสบ และอื่น ๆ[6][10] โรคนี้เป็นคนละโรคกับโรคหัดเยอรมันและหัดกุหลาบ[11]
โรคหัด | |
---|---|
ชื่ออื่น | Measles, morbilli, rubeola, red measles, English measles[1][2] |
ผื่นของผู้ป่วยโรคหัดในวันที่สี่หลังเริ่มแสดงอาการ | |
สาขาวิชา | โรคติดเชื้อ |
อาการ | ไข้ ไอ มีน้ำมูก ตาแดง มีผื่น[3][4] |
ภาวะแทรกซ้อน | ปอดบวม, ชัก, สมองอักเสบ, สมองอักเสบทั่วแบบกึ่งเฉียบพลัน[5] |
การตั้งต้น | 10–12 วันหลังได้รับเชื้อ[6][7] |
ระยะดำเนินโรค | 7–10 วัน[6][7] |
สาเหตุ | ไวรัสโรคหัด[3] |
การป้องกัน | วัคซีนโรคหัด[6] |
การรักษา | รักษาตามอาการ[6] |
ความชุก | ปีละ 20 ล้านคน[3] |
การเสียชีวิต | 73,400 (ค.ศ. 2015)[8] |
โรคหัดติดต่อทางอากาศ เชื้อหัดจะออกมาพร้อมกับการไอและการจามของผู้ป่วย[6] นอกจากนี้ยังอาจติดต่อผ่านการสัมผัสน้ำลายหรือน้ำมูกของผู้ป่วยได้ด้วย[6] หากมีผู้ที่ไม่มีภูมิคุ้มกันและอยู่ในที่เดียวกันกับผู้ติดเชื้อ จะเกิดการติดเชื้อถึงเก้าในสิบ[10] ผู้ติดเชื้อจะสามารถแพร่เชื้อให้คนอื่นได้ตั้งแต่ 4 วันก่อนมีอาการ ไปจนถึง 4 วัน หลังเริ่มมีผื่น.[10] ส่วนใหญ่เมื่อเป็นแล้วจะไม่เป็นอีก[6] การตรวจหาเชื้อไวรัสในผู้ป่วยรายที่สงสัย จะมีประโยชน์ในการควบคุมโรค[10]
วัคซีนโรคหัดสามารถป้องกันการติดเชื้อได้เป็นอย่างดี[6] ผลจากการใช้วัคซีนนี้ทำให้จำนวนผู้เสียชีวิตจากโรคหัดลดลงถึง 75% ในช่วง ค.ศ. 2000-2013 ซึ่งเด็กทั่วโลกถึง 85% ได้รับวัคซีนนี้[6] ปัจจุบันยังไม่มีการรักษาแบบจำเพาะ มีแต่เพียงการใช้การรักษาบรรเทาอาการเท่านั้น[6] เช่น การให้สารน้ำชดเชยทางปาก กินอาหารที่มีประโยชน์ และใช้ยาลดไข้[6][7] อาจต้องใช้ยาปฏิชีวนะก็ต่อเมื่อมีการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน เช่น เป็นปอดอักเสบ[6] ในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาที่ผู้ป่วยอาจขาดสารอาหาร การให้วิตามินเอก็เป็นที่แนะนำ[6]
ในแต่ละปีจะมีผู้ป่วยโรคหัดประมาณ 20 ล้านคน[3] ส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่กำลังพัฒนาของทวีปแอฟริกาและทวีปเอเชีย[6] โรคนี้เป็นโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนที่เป็นสาเหตุการเสียชีวิตจำนวนมากที่สุดในโลก[12] เมื่อ ค.ศ. 1980 มีคนเสียชีวิตจากโรคหัดถึง 2.6 ล้านคน[6] และลดเหลือ 545,000 คนใน ค.ศ. 1990 และ 73,000 ใน ค.ศ. 2014[8][13] ผู้ป่วยที่เสียชีวิตส่วนใหญ่อายุน้อยกว่า 5 ปี[6] อัตราการเสียชีวิตโดยรวมอยู่ที่ 0.2%[10] แต่อาจสูงได้ถึง 10% ในผู้ที่ขาดสารอาหาร[6] ปัจจุบันยังเชื่อว่าโรคนี้ไม่ติดไปยังสัตว์อื่น[6] ในประเทศสหรัฐอเมริกาก่อนมีการใช้วัคซีนจะมีผู้ป่วยโรคหัดประมาณปีละ 3-4 ล้านคน[10] ซึ่งหลังจากมีการใช้วัคซีนอย่างกว้างขวาง โรคหัดก็ถูกกำจัดหมดไปจากอเมริกาเมื่อ ค.ศ. 2016[14]
เกิดจากเชื้อไวรัสมีเซิล (Measles virus) ซึ่งจะพบมากในน้ำลายของผู้ป่วยติดต่อโดยการไอ จาม หายใจรดกัน หรือการสัมผัสสิ่งของเครื่องใช้ร่วมกัน ระยะฟักตัว 9-11 วัน
มีอาการตัวร้อนขึ้นทันทีทันใด ในระยะแรกมีอาการคล้ายไข้หวัด แต่ผิดกันตรงที่จะมีไข้สูงตลอดเวลา กินยาลดไข้ ไข้ก็ไม่ลด เด็กจะซึม กระสับกระส่าย ร้องกวน เบื่ออาหาร มีน้ำมูกใส ๆ ไอแห้ง ๆ น้ำตาไหล ไม่สู้แสง หนังตาบวม จะมีอาการถ่ายเหลวบ่อยครั้งเหมือนท้องเดินในระยะก่อนที่จะมีผื่น หรืออาจชักจากไข้สูงผื่นของหัดจะขึ้นจากตีนผม ซอกคอก่อน แล้วลามไปตามใบหน้าลำตัวและแขนขา ลักษณะเฉพาะของหัดคือจะมีผื่นขึ้นหลังมีไข้ 3-4 วัน มักจะขึ้นในวันที่ 4 ของไข้ เป็นผื่นเท่าหัวเข็มหมุดที่ตีนผมก่อนและซอกคอ ผื่นนี้จะจางหายได้เมื่อดึงรั้งผิวหนังให้ตึง เป็นแผ่นกว้าง รูปร่างไม่แน่นอน อาจมีผื่นคันเล็กน้อย ผื่นจะไม่จางหายไปในทันที จะจางหายไปใน 4-7 วัน และจะเหลือให้เห็นเป็นรอยสีน้ำตาล บางราย
ไข้ 38.5-40.5 องศาเซลเซียส หรือบางรายอาจสูงกว่านั้นก็เป็นได้ หน้าแดง ตาแดง หน้าตาบวมคู่ เปลือกตาแดง บางรายมีอาการปวดตาเมื่อกลอกตาสุด ระยะ 2 วันหลังมีไข้ พบจุดสีขาว ๆ เหลือง หรือ แดงขนาดเล็ก ๆ คล้ายเม็ดงาที่กระพุ้งแก้มด้านในบริเวณใกล้ฟันกรามล่าง หรือ ฟันกรามด้านบนสองซี่สุดท้าย เรียกว่าจุดค็อปลิก (Koplik's spot) ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะตัวของหัดและจะหายไป หลังไข้ขึ้น 2-4 วันจะพบผื่นที่หน้า หลังหู ซอกคอ ลำตัว โดยเริ่มขื้นจากด้านบนก่อน ต่อมน้ำเหลืองที่คอด้านซ้ายและขวาบวมขื้น ปอดจะมีเสียงปกติ ยกเว้นถ้ามีโรคปอดอักเสบแทรก เมื่อใช้เครื่องฟังจะได้ยินเสียงกรอบแกรบ (crepitation)
ผู้ป่วยโรคหัดส่วนใหญ่จะไม่เสียชีวิตจากโรคนี้ แต่บางรายก็อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ โดย 1 ใน 4 จะมีอาการมากถึงขั้นต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล และ 1-2 ใน 1,000 จะเสียชีวิต ภาวะแทรกซ้อนเช่นนี้มักพบในผู้ป่วยเด็กอายุน้อยกว่า 5 ปีและผู้ป่วยอายุมากกว่า 20 ปี[15] ภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตที่พบบ่อยที่สุดคือปอดอักเสบ โดยพบเป็นสาเหตุการเสียชีวิตของผู้ป่วยที่เสียชีวิตจากโรคหัดถึง 56-86%[16]
บทความนี้ทั้งหมดหรือบางส่วน มีเนื้อหา รูปแบบ หรือลักษณะการนำเสนอที่ไม่เหมาะสมสำหรับสารานุกรม |
บทความนี้ทั้งหมดหรือบางส่วน มีเนื้อหา รูปแบบ หรือลักษณะการนำเสนอที่ไม่เหมาะสมสำหรับสารานุกรม |
โรคนี้สามารถป้องกันได้โดยรับการฉีดวัคซีน เมื่ออายุ 9-12 เดือน ฉีดเพียงครั้งเดียวสามารถป้องกันได้ตลอดไป วัคซีนมีทั้งชนิดเดี่ยว และรวมกับหัดเยอรมันและคางทูม (MMR) ขอรับการฉีดได้ที่สถานีอนามัยใกล้บ้าน หรือโรงพยาบาลทั่วไป
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.