เต่าตนุ [ตะ-หฺนุ] เป็นเต่าทะเลชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Chelonia mydas อยู่ในวงศ์ Cheloniidae และเป็นเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Chelonia[4]

ข้อมูลเบื้องต้น เต่าตนุ, สถานะการอนุรักษ์ ...
เต่าตนุ
Thumb
สถานะการอนุรักษ์
CITES Appendix I (CITES)[2]
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอตา
Eukaryota
อาณาจักร: สัตว์
Animalia
ไฟลัม: สัตว์มีแกนสันหลัง
Chordata
ชั้น: สัตว์เลื้อยคลาน
อันดับ: เต่า
อันดับย่อย: เต่า
Cryptodira
วงศ์ใหญ่: Chelonioidea
วงศ์: วงศ์เต่าทะเล
วงศ์ย่อย: Cheloniinae

Brongniart, 1800
สกุล: Chelonia

(Linnaeus, 1758)
สปีชีส์: Chelonia mydas
ชื่อทวินาม
Chelonia mydas
(Linnaeus, 1758)
ชื่อพ้อง[3]
Species synonymy
  • Testudo mydas
    Linnaeus, 1758
  • Testudo macropus
    Walbaum, 1782
    (nomen illegitimum)
  • Testudo viridis
    Schneider, 1783
  • Testudo japonica
    Thunberg, 1787
  • Testudo marina vulgaris
    Lacépède, 1788
  • Testudo viridisquamosa
    Lacépède, 1788
  • Testudo mydas macropus
    Suckow, 1798
  • Chelonia mydas
    Brongniart, 1800
  • Testudo chloronotos
    Bechstein, 1800
  • Testudo cepediana
    Daudin, 1801
  • Testudo rugosa
    Daudin, 1801
  • Chelone mydas
    — Brongniart, 1805
  • Chelonia japonica
    Schweigger, 1812
  • Chelonia virgata
    Schweigger, 1812
  • Caretta cepedii
    Merrem, 1820
  • Caretta esculenta
    Merrem, 1820
  • Caretta thunbergii
    Merrem, 1820
  • Caretta mydas
    Fitzinger, 1826
  • Caretta virgata
    — Fitzinger, 1826
  • Chelonia lachrymata
    Cuvier, 1829
  • Chelonia maculosa
    Cuvier, 1829
  • Chelonia midas [sic]
    Wagler, 1830
    (ex errore)
  • Chelonia mydas var. japonica
    Gray, 1831
  • Chelonia esculenta
    Wiegmann & Ruthe, 1832
  • Chelonia bicarinata
    Lesson, 1834
  • Chelonia marmorata
    A.M.C. Duméril & Bibron, 1835
  • Chelonia (Chelonia)
    cepedeana [sic]
    Fitzinger, 1835
    (ex errore)
  • Chelonia viridis
    Temminck & Schlegel, 1835
  • Mydas mydas
    Cocteau, 1838
  • Mydasea mydas
    Gervais, 1843
  • Euchelonia mydas
    Tschudi, 1846
  • Megemys mydas
    Gistel, 1848
  • Chelonia lacrymata [sic]
    Agassiz, 1857
    (ex errore)
  • Chelonia formosa
    Girard, 1858
  • Chelonia tenuis
    Girard, 1858
  • Euchelys macropus
    — Girard, 1858
  • Chelone macropus
    Strauch, 1862
  • Chelone maculosa
    — Strauch, 1862
  • Chelone marmorata
    — Strauch, 1862
  • Chelone virgata
    — Strauch, 1862
  • Chelone viridis
    — Strauch, 1862
  • Chelonia albiventer
    Nardo, 1864
  • Thalassiochelys albiventer
    Günther, 1865
  • Chelonia agassizii
    Bocourt, 1868
  • Mydas viridis
    — Gray, 1870
  • Chelone midas
    Cope, 1871
  • Chelonia lata
    Philippi, 1887
  • Chelone mydas
    Boulenger, 1889
  • Chelonia mydas mydas
    Mertens & L. Müller, 1928
  • Caretta thunbergi [sic]
    H.M. Smith, 1931
    (ex errore)
  • Chelonia mydas agassizii
    Carr, 1952
  • Chelonia mydas agassizi [sic]
    Schmidt, 1953
    (ex errore)
  • Chelonia mydas carrinegra
    Caldwell, 1962
  • Chelonia agazisii [sic]
    Tamayo, 1962
    (ex errore)
  • Testudo nigrita
    Tamayo, 1962
  • Chelonia agassizi
    — Carr, 1967
  • Chelonia mydus [sic]
    Nutaphand, 1979
    (ex errore)
  • Chelonia mydas carinegra [sic]
    Nutaphand, 1979
    (ex errore)
  • Testudo chloronotus [sic]
    H.M. Smith & R.B. Smith, 1980
    (ex errore)
  • Chelone albiventer
    — Márquez, 1990
  • Caretta thumbergii [sic]
    Sharma, 1998
    (ex errore)
  • Chelonia mydas viridis
    Karl & Bowen, 1999
ปิด

เต่าตนุเป็นเต่าทะเลที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่และมีน้ำหนักมากเมื่อโตเต็มที่ โดยมีความยาวตั้งแต่หัวจรดหางประมาณ 1 เมตร น้ำหนักราว 130 กิโลกรัม หัวป้อมสั้น ปากสั้น เกล็ดเรียงต่อกันโดยไม่ซ้อนกัน กระดองหลังโค้งนูนเล็กน้อย บริเวณกลางหลังเป็นแนวนูนเกือบเป็นสัน ท้องแบนราบขาทั้งสี่แบนเป็นใบพาย ขาคู่หลังมีขนาดเล็กกว่าขาคู่หน้ามาก ขาคู่หน้ามีเล็บแหลมเพียงข้างละชิ้น สีของกระดองดูเผิน ๆ มีเพียงสีน้ำตาลแดงเท่านั้น แต่ถ้าหากพิจารณาให้ละเอียดจะพบว่าเกล็ดแต่ละเกล็ดของกระดองหลังมีสีน้ำตาลแดงหรือน้ำตาลอมเขียว ขอบเกล็ดมีสีอ่อน ๆ เป็นรอยด่างและมีลายเป็นเส้นกระจายออกจากจุดสีแดงปนน้ำตาล คล้ายกับแสงของพระอาทิตย์ที่ลอดออกจากเมฆ จึงมีชื่อเรียกเต่าชนิดนี้ว่าอีกชื่อหนึ่งว่า "เต่าแสงอาทิตย์" ขณะที่ชาวตะวันตกเรียกว่า "เต่าเขียว" อันเนื่องจากมีกระดองเหลือบสีเขียวนั่นเอง[5]

เต่าชนิดนี้เป็นเต่าที่กินทั้งพืชและสัตว์ แต่จะกินพืชเป็นหลัก โดยกินอาหารจำพวกหญ้าทะเลหรือสาหร่ายทะเล โดยมีสัตว์น้ำขนาดเล็กทั่วไป เช่น ปลาหรือแมงกะพรุน เป็นอาหารรองลงไป

เรามักพบเต่าตนุในเขตน้ำตื้นใกล้ชายฝั่งหรือตามเกาะต่าง ๆ โดยกระจายพันธุ์ทั้งในมหาสมุทรแอตแลนติก มหาสมุทรอินเดีย และมหาสมุทรแปซิฟิก ในน่านน้ำไทยพบทั้งที่อ่าวไทยและทะเลอันดามัน นับเป็นเต่าทะเลชนิดที่พบได้บ่อยที่สุดในน่านน้ำไทย โดยมักพบในเขตที่มีอุณหภูมิน้ำที่ค่อนข้างอุ่น คือ สูงกว่า 20 องศาเซลเซียสขึ้นไป โดยขึ้นมาวางไข่มากที่เกาะครามและเกาะกระในอ่าวไทย และทางฝั่งทะเลอันดามันพบวางไข่มากที่อุทยานแห่งชาติตะรุเตา บนชายหาดและเกาะหลายแห่งในจังหวัดภูเก็ตและพังงา[6]

เต่าตนุโตเต็มที่เมื่ออายุได้ 4–7 ปี เชื่อกันว่าอายุยืนถึง 80 ปี[7] ฤดูวางไข่ตกอยู่ในราวเดือนมิถุนายนจนถึงเดือนกันยายนในบริเวณอ่าวไทย และอยู่ในราวเดือนกันยายนจนถึงเดือนกุมภาพันธ์ในทะเลอันดามัน จำนวนไข่ต่อครั้งมีตั้งแต่ 70–150 ฟอง เต่าขนาดโตเต็มที่แล้วจะว่ายน้ำหากินไปเรื่อย ๆ แต่จะกลับมาวางไข่บนชายหาดที่ถือกำเนิด

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

Wikiwand in your browser!

Seamless Wikipedia browsing. On steroids.

Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.

Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.