ในทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ น้ำหนัก หมายถึงหน่วยวัดน้ำหนักบนวัตถุอันเนื่องมาจากความโน้มถ่วง [1][2] ขนาดของน้ำหนักในปริมาณสเกลาร์ มักเขียนแทนด้วย W แบบตัวเอน คือผลคูณของมวลของวัตถุ m กับขนาดของความเร่งเนื่องจากความโน้มถ่วง g [3] นั่นคือ W = mg ถ้าหากพิจารณาน้ำหนักว่าเป็นเวกเตอร์ จะเขียนแทนด้วย W แบบตัวหนา หน่วยวัดของน้ำหนักใช้อย่างเดียวกันกับหน่วยวัดของแรง ซึ่งหน่วยเอสไอก็คือนิวตัน ยกตัวอย่าง วัตถุหนึ่งมีมวลเท่ากับ 1 กิโลกรัม มีน้ำหนักประมาณ 9.8 นิวตันบนพื้นผิวโลก มีน้ำหนักประมาณหนึ่งในหกเท่าบนพื้นผิวดวงจันทร์ และมีน้ำหนักที่เกือบจะเป็นศูนย์ในห้วงอวกาศที่ไกลออกไปจากเทห์ฟ้าอันจะส่งผลให้เกิดความโน้มถ่วง
ในทางนิติศาสตร์และการพาณิชย์ น้ำหนัก มีความหมายเดียวกันกับมวล [4] ดังเช่นที่ปรากฏบนฉลากบรรจุภัณฑ์และข้อมูลโภชนาการ การใช้ในชีวิตประจำวันทั่วไป มักจะถือว่าน้ำหนักก็หมายถึงมวล [4] และใช้หน่วยวัดของมวลเป็นหน่วยวัดของน้ำหนัก ด้วยเหตุว่า ความเร่งเนื่องจากความโน้มถ่วงบนพื้นผิวโลกแทบจะเป็นค่าคงตัว หมายความว่า อัตราส่วนระหว่างน้ำหนักของวัตถุนิ่งบนพื้นผิวโลกต่อมวลของวัตถุนั้น แทบจะเป็นอิสระจากตำแหน่งที่วัตถุนั้นตั้งอยู่บนพื้นผิวโลก ดังนั้นน้ำหนักของวัตถุบนพื้นผิวโลกจึงเป็นตัวแทนของมวลได้โดยอนุโลม
ความเร่งเนื่องจากความโน้มถ่วงของดาวเคราะห์ และดวงจันทร์
ความเร่งเนื่องจากความโน้มถ่วงของดาวเคราะห์ และดวงจันทร์ โดยคิดเทียบกับความเร่งเนื่องจากความโน้มถ่วงของโลก
เทห์ฟ้า | จำนวนเท่า เมื่อเทียบกับโลก | ความโน้มถ่วงพื้นผิว (m/s²) |
---|---|---|
ดวงอาทิตย์ | 27.90 | 274.1 |
ดาวพุธ | 0.3770 | 3.703 |
ดาวศุกร์ | 0.9032 | 8.872 |
โลก | 1 (ตามนิยาม) | 9.8226 [5] |
ดวงจันทร์ | 0.1655 | 1.625 |
ดาวอังคาร | 0.3895 | 3.728 |
ดาวพฤหัสบดี | 2.640 | 25.93 |
ดาวเสาร์ | 1.139 | 11.19 |
ดาวยูเรนัส | 0.917 | 9.01 |
ดาวเนปจูน | 1.148 | 11.28 |
อ้างอิง
Wikiwand in your browser!
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.