Loading AI tools
นักการเมืองชาวจีน (ค.ศ. 1898–1969) จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หลิว เช่าฉี (จีน: 刘少奇; พินอิน: Liú Shàoqí; 24 พฤศจิกายน ค.ศ. 1898 – 12 พฤศจิกายน ค.ศ. 1969) เป็นนักปฏิวัติและนักการเมืองชาวจีน ดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมาธิการสามัญประจำสภาประชาชนแห่งชาติตั้งแต่ปี ค.ศ. 1954 ถึง 1959 รองประธานพรรคคอมมิวนิสต์จีนคนที่หนึ่งตั้งแต่ปี ค.ศ. 1957 ถึง 1966 และประธานาธิบดีสาธารณรัฐประชาชนจีน (ประมุขแห่งรัฐ) ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1959 ถึง 1968 เขาเคยได้รับการพิจารณาให้เป็นผู้สืบทอดอำนาจต่อจากเหมา เจ๋อตง แต่ต่อมาได้ถูกปลดจากตำแหน่งและถูกกวาดล้างในช่วงการปฏิวัติทางวัฒนธรรม
หลิว เช่าฉี | |||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
刘少奇 | |||||||||||||||||
ประธานสาธารณรัฐประชาชนจีน คนที่ 2 | |||||||||||||||||
ดำรงตำแหน่ง 27 เมษายน ค.ศ. 1959 – 31 ตุลาคม ค.ศ. 1968 (9 ปี 187 วัน) | |||||||||||||||||
หัวหน้ารัฐบาล | โจว เอินไหล | ||||||||||||||||
รองประธานาธิบดี | ต่ง ปี้อู่ และซ่ง ชิ่งหลิง | ||||||||||||||||
ผู้นำ | เหมา เจ๋อตง (ประธานพรรคคอมมิวนิสต์จีน) | ||||||||||||||||
ก่อนหน้า | เหมา เจ๋อตง | ||||||||||||||||
ถัดไป | ต่ง ปี้อู่ และซ่ง ชิ่งหลิง (รักษาการ) | ||||||||||||||||
ประธานคณะกรรมาธิการสามัญประจำสภาประชาชนแห่งชาติ คนที่ 1 | |||||||||||||||||
ดำรงตำแหน่ง 27 กันยายน ค.ศ. 1954 – 27 เมษายน ค.ศ. 1959 (4 ปี 212 วัน) | |||||||||||||||||
ก่อนหน้า | สถาปนาตำแหน่ง | ||||||||||||||||
ถัดไป | จู เต๋อ | ||||||||||||||||
รองประธานพรรคคอมมิวนิสต์จีน | |||||||||||||||||
ดำรงตำแหน่ง 28 กันยายน ค.ศ. 1956 – 1 สิงหาคม ค.ศ. 1966 (9 ปี 307 วัน) | |||||||||||||||||
ประธาน | เหมา เจ๋อตง | ||||||||||||||||
ก่อนหน้า | สถาปนาตำแหน่ง | ||||||||||||||||
ถัดไป | หลิน เปียว | ||||||||||||||||
สมาชิกสภาประชาชนแห่งชาติ | |||||||||||||||||
ดำรงตำแหน่ง 15 กันยายน ค.ศ. 1954 – 21 ตุลาคม ค.ศ. 1968 (14 ปี 36 วัน) | |||||||||||||||||
เขตเลือกตั้ง | ปักกิ่ง ทั้งเขต | ||||||||||||||||
ข้อมูลส่วนบุคคล | |||||||||||||||||
เกิด | 24 พฤศจิกายน ค.ศ. 1898 หนิงเซียง, มณฑลหูหนาน, จักรวรรดิชิง | ||||||||||||||||
เสียชีวิต | 12 พฤศจิกายน ค.ศ. 1969 ปี) ไคเฟิง, มณฑลเหอหนาน, สาธารณรัฐประชาชนจีน | (70||||||||||||||||
พรรคการเมือง | พรรคคอมมิวนิสต์จีน (1921–1968) | ||||||||||||||||
คู่สมรส |
| ||||||||||||||||
บุตร | 9 (รวมถึง หลิว หยุ่นปิน และหลิว ยฺเหวียน) | ||||||||||||||||
ชื่อภาษาจีน | |||||||||||||||||
อักษรจีนตัวย่อ | 刘少奇 | ||||||||||||||||
อักษรจีนตัวเต็ม | 劉少奇 | ||||||||||||||||
| |||||||||||||||||
ในช่วงวัยเยาว์ หลิวได้เข้าร่วมขบวนการแรงงานในการนัดหยุดงานหลายครั้ง รวมถึงขบวนการ 30 พฤษภาคม หลังการปะทุของสงครามกลางเมืองจีนในปี ค.ศ. 1927 พรรคคอมมิวนิสต์จีนได้มอบหมายให้เขาทำงานในพื้นที่เซี่ยงไฮ้และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีน และเดินทางไปยังโซเวียตเจียงซีในปี ค.ศ. 1932 เขาได้เข้าร่วมการเดินทัพทางไกล และได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรคในภาคเหนือของจีนในปี ค.ศ. 1936 เพื่อนำการต่อต้านญี่ปุ่นในภูมิภาคดังกล่าว ในช่วงสงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สอง หลิวเป็นผู้นำสำนักงานที่ราบภาคกลางของพรรคคอมมิวนิสต์จีน ภายหลังเหตุการณ์กองทัพใหม่ที่สี่ในปี ค.ศ. 1941 หลิวได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจการทางการเมืองของกองทัพใหม่ที่สี่ หลังจากที่หลิวเดินทางกลับมายังเหยียนอานในปี ค.ศ. 1943 เขาได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการสำนักเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีน และรองประธานคณะกรรมการการทหารส่วนกลาง
หลังจากการก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีนในปี ค.ศ. 1949 หลิวได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองประธานรัฐบาลกลางประชาชน หลังจากการก่อตั้งสภาประชาชนแห่งชาติในปี ค.ศ. 1954 หลิวได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมาธิการสามัญของสภา ในปี ค.ศ. 1959 เขาได้สืบทอดตำแหน่งประธานสาธารณรัฐประชาชนจีนจากเหมา เจ๋อตง ในช่วงที่ดำรงตำแหน่งประธาน เขาได้ดำเนินนโยบายการฟื้นฟูเศรษฐกิจของจีน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากการประชุมคณะทำงานงาน 7,000 คนในปี ค.ศ. 1962 หลิวได้รับการประกาศต่อสาธารณะว่าเป็นผู้สืบทอดตำแหน่งของเหมาในปี ค.ศ. 1961 อย่างไรก็ตาม เขาถูกการวิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรง และถูกขับออกจากพรรคโดยเหมาหลังจากการปฏิวัติวัฒนธรรมเริ่มต้นขึ้นในปี ค.ศ. 1966 และในที่สุดก็ถูกกักบริเวณภายในบ้านในปี ค.ศ. 1967 เขาถูกบีบให้ออกจากวงการเมือง และถูกตราหน้าว่าเป็น "ผู้นำกองบัญชาการของชนชั้นนายทุนจีน" "ผู้เดินตามเส้นทางทุนนิยม" ที่สำคัญที่สุดของจีน และผู้ทรยศต่อการปฏิวัติ เขาถึงแก่อสัญกรรมในคุกในปี ค.ศ. 1969 จากภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน หลิวถูกประณามอย่างกว้างขวางในช่วงหลายปีหลังการอสัญกรรม จนกระทั่งได้รับการฟื้นฟูเกียรติยศหลังความตายโดยรัฐบาลของเติ้ง เสี่ยวผิงในปี ค.ศ. 1980 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของยุคปัวล่วนฝ่านเจิ้ง รัฐบาลของเติ้งยังได้อนุมัติให้มีการจัดรัฐพิธีศพอย่างเป็นทางการเพื่อไว้อาลัยแก่หลิว
หลิวเกิดในครอบครัวชาวนะฐานะปานกลางในหมู่บ้านหัวหมิงโหลว[1] อำเภอหนิงเซียง มณฑลหูหนาน[2] บรรพบุรุษมีถิ่นฐานเดิมอยู่ที่อำเภอจี๋ฉุ่ย มณฑลเจียงซี เขาได้รับการศึกษาสมัยใหม่[3]: 142 โดยศึกษาที่โรงเรียนมัธยมประจำอำเภอหนิงเซียง และได้รับการแนะนำให้เข้าร่วมชั้นเรียนที่เซี่ยงไฮ้เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการศึกษาต่อที่ประเทศรัสเซีย ในปี ค.ศ. 1920 เขาพร้อมด้วยเหริน ปี้ฉือได้เข้าร่วมองค์การเยาวชนสังคมนิยม และในปีต่อมาหลิวก็ได้รับการคัดเลือกให้ไปศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยกรรมกรแห่งตะวันออก ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาของโคมินเทิร์นในมอสโก[1]
เขาเข้าร่วมพรรคคอมมิวนิสต์จีนที่เพิ่งก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1921 ปีถัดมา เขาได้เดินทางกลับมายังประเทศจีน และในฐานะเลขาธิการสมาคมแรงงานแห่งประเทศจีน เขาได้เป็นผู้นำในการจัดการประท้วงของเหล่าคนงานรถไฟหลายครั้งในหุบเขาแยงซีและที่อันหยวนบนพรมแดนระหว่างมณฑลเจียงซีและหูหนาน[1]
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.