Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วงศ์ย่อยจิ้งจกและตุ๊กแก (ชื่อวิทยาศาสตร์: Gekkoninae; อังกฤษ: House gecko, Tokay) เป็นวงศ์ย่อยของวงศ์ Gekkonidae นับเป็นวงศ์ย่อยที่มีความหลากหลาย และประสบความสำเร็จสูงสุดในการดำรงชีวิตมากที่สุดของสัตว์เลื้อยคลานในอันดับย่อยกิ้งก่า (Lacertilia)
วงศ์ย่อยจิ้งจกและตุ๊กแก | |
---|---|
จิ้งจกบ้าน (Hemidactylus platyurus) เป็นชนิดในสกุล Hemidactylus ที่พบได้อย่างแพร่หลายในทวีปเอเชีย แม้กระทั่งในบ้านเรือน | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
โดเมน: | ยูแคริโอต Eukaryota |
อาณาจักร: | สัตว์ Animalia |
ไฟลัม: | สัตว์มีแกนสันหลัง Chordata |
ชั้น: | สัตว์เลื้อยคลาน Reptilia |
อันดับ: | กิ้งก่าและงู Squamata |
วงศ์: | วงศ์จิ้งจกและตุ๊กแก Gekkonidae |
วงศ์ย่อย: | วงศ์ย่อยจิ้งจกและตุ๊กแก Gekkoninae Gray, 1825[1][2] |
สกุล | |
30; ดูข้อความ |
ลักษณะโดยทั่วไป มีกระดูกพรีแมคซิลลาและกระดูกพาไรทัลเป็นชิ้นเดี่ยว มีแว่นตาคลุมตา ลำตัวสั้น ขาทั้ง 4 ข้างมีขนาดใหญ่ ลำตัวปกคลุมด้วยผิวหนังที่อ่อนนุ่มและมีเกล็ดปกคลุมลำตัวเรียงตัวต่อเนื่องกัน มีขนาดแตกต่างกันหลากหลายทั้งเพียงไม่กี่เซนติเมตร จนถึงขนาดหนึ่งฟุต
ส่วนใหญ่หากินบนต้นไม้ ใต้ฝ่าเท้ามีเซต้าหรือขนที่แตกแขนงและมีความเล็กละเอียดมาก ใช้สำหรับยึดเกาะผนังในแนวตั้งฉากได้เป็นอย่างดีที่สุดในบรรดาวงศ์ย่อยทั้งหมดของวงศ์ Gekkonidae ซึ่งการเรียงตัวและลักษณะของเส้นขนนี้ใช้เป็นตัวในการอนุกรมวิธานแยกประเภท
ในหลายสกุล ได้ลดรูปแผ่นหนังใต้นิ้วและใช้เป็นโครงสร้างอื่นทดแทนในการอาศัยอยู่บนต้นไม้ เช่น Cnemaspis และ Cyrtodactylus ที่อาศัยบนต้นไม้หรือผนังหินปูนในถ้ำ โดยใช้เล็บในการเกาะเกี่ยวแทน ในบางสกุล เช่น Dixonius และ Gehyra อาศัยอยู่พื้นดินแทน
หากินในเวลากลางคืนเป็นส่วนใหญ่ ตามปกติแล้วจะวางไข่เพียงครั้งละ 2 ฟอง โดยเปลือกไข่มีลักษณะแข็งและไม่เปลี่ยนรูป แต่สำหรับบางสกุลที่มีขนาดเล็ก เช่น Coleodactylus วางไข่เพียงฟองเดียว โดยการวางไข่ขึ้นอยู่กับขนาดของลำตัว แต่ก็มีบางชนิดที่สามารถเกิดได้โดยไม่ต้องผ่านการปฏิสนธิ
ปัจจุบัน มีการอนุกรมวิธานแล้วทั้งสิ้น 80 สกุล ประมาณ 800 ชนิด โดยมีสกุลที่เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดี อาทิ Gekko, Hemidactylus และPtychozoon ฯลฯ พบกระจายพันธุ์ในเขตร้อนและเขตอบอุ่นของยูเรเชีย ในประเทศไทยพบประมาณ 46-50 ชนิด อาทิ ตุ๊กแกบ้าน (Gekko gecko), ตุ๊กแกตาเขียว (G. siamensis), ตุ๊กแกบินหางเฟิน (Ptychozoon lionotum) เป็นต้น [3]
ชื่อไทย | ชื่อวิทยาศาสตร์ | ถิ่นอาศัย | ปีที่ค้นพบ |
จิ้งจกนิ้วยาวอาดัง-ราวี | Cnemaspis adangrawi [4] | พบเฉพาะบนเกาะอาดัง-ระวี จังหวัดสตูล เท่านั้น | 2019 |
จิ้งจกนิ้วยาวสตูล 1 | Cnemaspis biocellata [5] | พบที่อำเภอมะนัง และอำเภอเมือง จังหวัดสตูล เท่านั้น | 2008 |
จิ้งจกนิ้วยาวธัญญา | Cnemaspis chanardi [6] | ภาคใต้ตอนล่างลงไป | 2010 |
จิ้งจกนิ้วยาวจันทบูรณ์ | Cnemaspis chanthaburiensis [7] | ภาคตะวันออกของประเทศไทย นอกจากนี้ยังพบในประเทศกัมพูชา | 1998 |
จิ้งจกนิ้วยาวหัวสีส้ม | Cnemaspis huaseesom [8] | พบในเขตจังหวัดกาญจนบุรี | 2010 |
จิ้งจกนิ้วยาวหมอสุเมธ | Cnemaspis kamolnorranathi [9] | พบในเขตจังหวัดสุราษฎร์ธานี | 2010 |
จิ้งจกนิ้วยาวกัมพล | Cnemaspis kumpoli [10] | พบทางภาคใต้ตอนกลางลงไป | 1963 |
จิ้งจกนิ้วยาวลานสกา | Cnemaspis lineatubercularis [11] | พบในเขตจังหวัดนครศรีธรรมราช | 2020 |
จิ้งจกนิ้วยาวสามร้อยยอด | Cnemaspis lineogularis [12] | พบในเขตจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ | 2017 |
จิ้งจกนิ้วยาวมลายู | Cnemaspis mcguirei [13] | มีรายงานพบเฉพาะจังหวัดปัตตานี | 2008 |
จิ้งจกนิ้วยาวนราธิวาส | Cnemaspis narathiwatensis [14] | พบในเขตจังหวัดนราธิวาส, จังหวัดยะลา และประเทศมาเลเซีย | 2010 |
จิ้งจกนิ้วยาวนิยมวรรณ | Cnemaspis niyomwanae [15] | พบเฉพาะจังหวัดตรังและจังหวัดสตูล | 2010 |
จิ้งจกนิ้วยาวสตูล 2 | Cnemaspis omari [16] | พบในจังหวัดสตูลและประเทศมาเลเซีย | 2014 |
จิ้งจกนิ้วยาวพังงา | Cnemaspis phangngaensis [17] | พบเฉพาะจังหวัดพังงา เท่านั้น | 2017 |
จิ้งจกนิ้วยาวภูเก็ต | Cnemaspis phuketensis [18] | พบเฉพาะจังหวัดภูเก็ต เท่านั้น | 2004 |
จิ้งจกนิ้วยาวคอจุด | Cnemaspis punctatonuchalis [19] | พบในเขตจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ | 2010 |
จิ้งจกนิ้วยาวไทย | Cnemaspis siamensis [20] | พบตั้งแต่จังหวัดเพชรบุรี ถึง จังหวัดสุราษฎร์ธานี | 1925 |
จิ้งจกนิ้วยาวเกาะตะรุเตา | Cnemaspis tarutaoensis [21] | พบเฉพาะบนเกาะตะรุเตา จังหวัดสตูล เท่านั้น | 2019 |
จิ้งจกนิ้วยาวท่าชนะ | Cnemaspis thachanaensis [22] | พบเฉพาะอำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี เท่านั้น | 2017 |
จิ้งจกนิ้วยาวคลองนาคา | Cnemaspis vandeventeri [23] | พบในเขตจังหวัดระนอง, พังงา, ภูเก็ต | 2010 |
ดูเพิ่มเติมได้ที่ ตุ๊กกาย
ดูเพิ่มเติมได้ที่ จิ้งจกดิน
ชื่อไทย | ชื่อวิทยาศาสตร์ | ถิ่นอาศัย | ปีที่ค้นพบ |
จิ้งจกหินหางเรียว | Gehyra angusticaudata | พบในเขตภาคกลางตอนล่าง ภาคตะวันตก ภาคตะวันออก ภาคใต้ตอนบน | 1963 |
จิ้งจกหินลายกระ | Gehyra fehlmanni | พบในภาคใต้และภาคตะวันตก เคยรายงานพบในจังหวัดสระบุรี | 1962 |
จิ้งจกหินอ้วน, จิ้งจกหินเมืองกาญจน์ | Gehyra lacerata | พบในภาคตะวันตก ภาคใต้ตอนบน ภาคกลางตอนล่าง | 1962 |
จิ้งจกหินสีจาง | Gehyra mutilata | เป็นจิ้งจกหินที่พบทั่วประเทศ และพบได้บ่อยที่สุด | 1835 |
จิ้งจกหินวงจันทร์ | Gehyra wongchan | พบในภาคกลางของประเทศไทย | 2022 |
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.