Loading AI tools
รัฐธรรมนูญฉบับที่ห้า และฉบับปัจจุบันของประเทศฝรั่งเศสที่ปกครองในระบอบสาธารณรัฐ จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส ฉบับวันที่ 4 ตุลาคม ค.ศ. 1958 (ฉบับที่ 15 ของประเทศฝรั่งเศส) วางกฎเกณฑ์สำหรับสถาบันต่างๆ ของระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยของสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 5 ซึ่งถือคติการปกครองว่า "รัฐบาลจากประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชน"[1]
รัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส | |
---|---|
ภาพแสดงบทนำของรัฐธรรมนูญพร้อมตรามหาลัญจกร | |
ภาพรวม | |
ชื่อต้นฉบับ | Constitution française du 4 octobre 1958 |
ท้องที่ใช้ | ประเทศฝรั่งเศส |
เสนอ | 28 กันยายน ค.ศ. 1958 (66 ปี 39 วัน) |
มีผลบังคับใช้ | 4 ตุลาคม ค.ศ. 1958 (66 ปี 33 วัน) |
ระบบ | รัฐเดี่ยว ระบบกึ่งประธานาธิบดี สาธารณรัฐ |
โครงสร้างรัฐบาล | |
แขนง | 3 |
ประมุขแห่งรัฐ | ประธานาธิบดี |
ฝ่ายนิติบัญญัติ | ระบบสองสภา (รัฐสภา: วุฒิสภา, สมัชชาแห่งชาติ) |
ฝ่ายบริหาร | คณะรัฐบาล นำโดยนายกรัฐมนตรี |
ฝ่ายตุลาการ | ศาลสูง (วัตถุประสงค์ในการถอดถอนประธานาธิบดี) สภารัฐธรรมนูญ (องค์การที่ทำหน้าที่ตรวจสอบความถูกต้องตามรัฐธรรมนูญของกฎหมาย) |
ระบอบ | ระบบกึ่งประธานาธิบดี |
คณะผู้เลือกตั้ง | ไม่มี แต่การเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาถูกกำหนดให้เป็นทางอ้อม |
ประวัติศาสตร์ | |
แก้ไขเพิ่มเติม (ครั้ง) | 25 |
แก้ไขครั้งล่าสุด | 4 มีนาคม ค.ศ. 2024 |
ฉบับก่อนหน้า | รัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส ค.ศ. 1946 |
เอกสารฉบับเต็ม | |
Constitution of the Fifth French Republic บนวิกิซอร์ซ |
ชาวฝรั่งเศสได้รับรองรัฐธรรมนูญฉบับนี้ด้วยประชามติเมื่อวันที่ 28 กันยายน ค.ศ. 1958[2] และกฎหมายสูงสุดฉบันนี้ได้รับการแก้ไขแล้ว 24 ครั้ง โดยการแก้ไขรัฐธรรมนูญได้ทำด้วยวิธีต่างๆ คือ การแก้ไขโดยสภาผู้แทนแห่งรัฐหรือ Congrès (สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาลงคะแนนเสียงพร้อมกัน) หรือการแก้ไขซึ่งรับรองโดยประชาชนผ่านทางประชามติ
อารัมภบทของรัฐธรรมนูญฉบับนี้อ้างอิงถึง (1) คำประกาศว่าด้วยสิทธิมนุษยชนและสิทธิพลเมือง ฉบับวันที่ 26 สิงหาคม ค.ศ. 1789 (2) อารัมภบทรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศสฉบับวันที่ 27 ตุลาคม ค.ศ. 1946 (รัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 4) และ (3) กฎบัตรสิ่งแวดล้อมฉบับปี ค.ศ. 2004 เอกสารเหล่านี้ กอปรกับรัฐธรรมนูญ และหลักพื้นฐานซึ่งรับรองโดยกฎหมายแห่งสาธารณรัฐ ถือเป็นส่วนหนึ่งของแม่บทกฎหมายรัฐธรรมนูญ (Le bloc de constitutionalité)
ตุลาการรัฐธรรมนูญฝรั่งเศส (Le Conseil constitutionnel) เป็นผู้ตรวจสอบความสอดคล้องของกฎหมายต่างๆ ต่อรัฐธรรมนูญ โดยอาศัยแม่บทกฎหมายรัฐธรรมนูญเป็นเกณฑ์ นอกจากตุลาการรัฐธรรมนูญแล้ว ระหว่างการพิพากษาอรรถคดีทั้งปวงอื่นๆ ผู้พิพากษาศาล (ศาลยุติธรรม ศาลปกครอง ฯลฯ) หรือผู้ร้องหรือผู้ถูกร้อง ก็สามารถยกแม่บทกฎหมายรัฐธรรมนูญขึ้นอ้างได้โดยตรงเช่นกัน
รัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ให้ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งปกครองภายใต้ระบอบสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 4 หลุดพ้นจากความไม่มีเสถียรภาพของรัฐบาล และวิกฤตสงครามแอลจีเรีย โดยมีหลักการสำคัญคือสร้างความแข็งแกร่งให้กับฝ่ายบริหาร
มีแชล เดอเบร (Michel Debré) ผู้ยกร่างรัฐธรรมนูญ มีแรงบันดาลใจในการยกร่างฯ มาจากระบอบรัฐสภาแบบประเทศอังกฤษ โดยเฉพาะความแข็งแกร่งของตำแหน่งนายกรัฐมนตรี นอกจากนี้ ชาร์ล เดอ โกล (Charles de Gaulle) ยังได้ผลักดันให้รัฐธรรมนูญกำหนดให้ประธานาธิบดีเป็นผู้พิทักษ์สถาบันต่างๆ ของรัฐ [3]
บทบัญญัติที่สำคัญของรัฐธรรมนูญฉบับนี้กำหนดหลักการในการบริหารแผ่นดินและจัดระเบียบการดำเนินการของสถาบันต่างๆ ของประเทศฝรั่งเศส
สิทธิเสรีภาพขั้นมูลฐานได้รับการรับรองโดยการอ้างอิงถึงคำประกาศว่าด้วยสิทธิมนุษยชนและสิทธิพลเมือง ค.ศ. 1789 อารัมภบทของรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 4 ฉบับวันที่ 27 ตุลาคม ค.ศ. 1946 หลักการพื้นฐานที่ได้รับการรับรองโดยกฎหมายแห่งสาธารณรัฐ (principes fondamentaux reconnus par les lois de la République) รวมถึงกฎบัตรสิ่งแวดล้อม ค.ศ. 2004
ในคำวินิจฉัยลงวันที่ 16 กรกฎาคม ค.ศ. 1971 ตุลาการรัฐธรรมนูญได้รับรองว่าบทบัญญัติต่างๆ ข้างต้นเป็นส่วนหนึ่งของรัฐธรรมนูญ กล่าวคือถือเป็นส่วนหนึ่งของแม่บทกฎหมายรัฐธรรมนูญ (Le bloc de constitutionalité)
การแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นไปตามบทบัญญัติมาตรา 89 โดยมีขั้นตอน 4 ขั้นตอน ดังนี้
ในอดีต ได้เคยมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญด้วยประชามติบนพื้นฐานของมาตรา 11 กล่าวคือ การแก้ไขรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งประธานาธิบดีทางตรงเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน ค.ศ. 1962 (ผ่านการรับรอง) และการแก้ไขรัฐธรรมนูญว่าด้วยการกระจายอำนาจระดับแคว้น (Régions) และการปรับปรุงระบบวุฒิสภาเมื่อวันที่ 27 เมษายน ค.ศ. 1969 (ไม่ผ่านการรับรอง)
ในการแก้ไขรัฐธรรมนูญตามมาตรา 89 มีขั้นตอน 4 ขั้นตอน ดังนี้ :
ดังนี้ หากประธานาธิบดีต้องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ต้องได้รับความเห็นชอบจากนายกรัฐมนตรีก่อน
รัฐธรรมนูญ ค.ศ. 1791 | ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ |
รัฐธรรมนูญแห่งปีที่ 1 ค.ศ. 1793 (Constitution de l'an I ) | สาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 1 |
รัฐธรรมนูญแห่งปีที่ 3 ค.ศ. 1795 (Constitution de l'an III) | คณะปกครอง (Directoire) |
รัฐธรรมนูญแห่งปีที่ 8 ค.ศ. 1799 (Constitution de l'an VIII) | ระบอบกงสุล (Consulat) |
รัฐธรรมนูญแห่งปีที่ 10 ค.ศ. 1802 (Constitution de l'an X) | ระบอบกงสุลตลอดชีวิต (Consulat à vie) |
รัฐธรรมนูญแห่งปีที่ 12 ค.ศ. 1804 (Constitution de l'an XII) | จักรวรรดิฝรั่งเศสที่ 1 (Premier Empire) |
กฎบัตร ค.ศ. 1814 (Charte de 1814) | การฟื้นฟูราชวงศ์ฝรั่งเศส (Restauration française) |
กฎหมายเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแห่งจักรวรรดิ ค.ศ. 1815 (Acte additionnel aux constitutions de l'Empire de 1815) | "หนึ่งร้อยวัน" (les Cent Jours) |
กฎบัตร ค.ศ. 1830 (Charte de 1830) | ราชาธิปไตยเดือนกรกฎาคม (Monarchie de Juillet) |
รัฐธรรมนูญ ค.ศ. 1848 | สาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 2 |
รัฐธรรมนูญ ค.ศ. 1852 | จักรวรรดิฝรั่งเศสที่ 2 (Second Empire) |
กฎหมายรัฐธรรมนูญ ค.ศ. 1875 | สาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 3 |
กฎหมายรัฐธรรมนูญ ลงวันที่ 10 กรกฎาคม ค.ศ. 1940 | ระบอบวิชี (Régime de Vichy) |
กฎหมายรัฐธรรมนูญ ค.ศ. 1945 | รัฐบาลเฉพาะกาลแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส (Gouvernement provisoire de la République française) |
รัฐธรรมนูญ ลงวันที่ 27 ตุลาคม ค.ศ. 1946 | สาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 4 |
รัฐธรรมนูญ ค.ศ. 1958 | สาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 5 |
ดูรายละเอียด (เป็นภาษาฝรั่งเศส) เพิ่มเติมได้ที่ เว็บไซต์ตุลาการรัฐธรรมนูญฝรั่งเศส
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.