Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รองศาสตราจารย์ ยุทธพร อิสรชัย อดีตรองอธิการบดี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (ฝ่ายกิจการสภามหาวิทยาลัย) อดีตคณบดีรัฐศาสตร์ (ประธานกรรมการประจำสาขาวิชารัฐศาสตร์) อดีตผู้อำนวยการโครงการวิทยาลัยการเมืองสาขาวิชารัฐศาสตร์[1][2] มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เกิดเมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2519 ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ โดยวิธีพิเศษ เมื่ออายุ 30 ปี รองศาสตราจารย์ โดยวิธีพิเศษ เมื่ออายุ 32 ปี คณบดีรัฐศาสตร์ เมื่ออายุ 35 ปี และรองอธิการบดี เมื่ออายุ 39 ปี โดยมักมีบทบาทในการแสดงความคิดเห็นทางวิชาการเกี่ยวกับการเมือง[3][4]
บทความนี้อาจต้องเขียนใหม่ทั้งหมดเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพของวิกิพีเดีย หรือกำลังดำเนินการอยู่ คุณช่วยเราได้ หน้าอภิปรายอาจมีข้อเสนอแนะ |
ยุทธพร อิสรชัย | |
---|---|
เกิด | 8 มีนาคม พ.ศ. 2519 |
สัญชาติ | ไทย |
อาชีพ | นักเขียน, นักวิชาการ, อาจารย์ |
ปัจจุบัน ยุทธพร อิสรชัย เป็นรองศาสตราจารย์ประจำสาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช และยังเป็นอาจารย์พิเศษในสถาบันวิชาการต่างๆ ทั้งในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก และหลักสูตรพิเศษต่าง ๆ เช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาลัยการทัพอากาศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มหาวิทยาลัยกรุงเทพ มหาวิทยาลัยรังสิต มหาวิทยาลัยเกริก มหาวิทยาลัยปทุมธานี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และสถาบันพระปกเกล้า รวมทั้งเป็นวิทยากรให้แก่องค์การระหว่างประเทศ เช่น สหภาพยุโรป (EU Delegation) สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย เป็นต้น
นอกจากนี้ ยังเป็นผู้ให้ความเห็นทางการเมืองในสื่อมวลชนทั้งโทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ สื่ออินเทอร์เน็ต มีผลงานทางวิชาการด้านการสื่อสารทางการเมือง พรรคการเมืองและการเลือกตั้ง การเมืองการปกครองท้องถิ่น ระเบียบวิธีวิจัยทางรัฐศาสตร์ ประชาสังคมและชุมชนท้องถิ่น กระบวนการพัฒนาและทางเลือกสาธารณะ เศรษฐกิจการเมืองไทย แนวคิดทางการเมืองและสังคม ปัญหาการพัฒนาทางการเมืองไทย รัฐธรรมนูญ สถาบันการเมือง และองค์กรอิสระ ฯลฯ ในรูปแบบงานวิจัย หนังสือ ตำรา เอกสารการสอน บทความ และสื่อการสอนอื่นๆ
ด้านการเป็นที่ปรึกษาและกรรมการในหน่วยงานต่างๆ เช่น ผู้เชี่ยวชาญประจำตัวสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ และกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ อนุกรรมาธิการพิจารณากรอบการจัดทำรัฐธรรมนูญ คณะที่ 8 ภาค 3 หมวด 2 การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ ในคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ที่ปรึกษาอนุกรรมาธิการ คณะที่ 2 คณะอนุกรรมาธิการปฏิรูประบบพรรคการเมือง ในคณะกรรมาธิการปฏิรูปการเมือง อนุกรรมาธิการ คณะที่ 4 คณะอนุกรรมาธิการปฏิรูปการเรียนรู้ การปรองดอง และการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน ในคณะกรรมาธิการปฏิรูปการเมือง กรรมาธิการยกร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยสภาตรวจสอบภาคพลเมือง กรรมการจัดทำข้อเสนอเพื่อยกร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย สภาพัฒนาการเมือง กรรมการจัดทำข้อเสนอเพื่อปฏิรูปประเทศไทย สภาพัฒนาการเมือง กรรมการที่ปรึกษา คณะกรรมการวิชาการ สภาพัฒนาการเมืองที่ปรึกษารัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี สมาชิกสมัชชาแห่งชาติ ที่ปรึกษากรรมาธิการการปกครองและอนุกรรมาธิการติดตามและตรวจสอบการใช้งบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ที่ปรึกษาสมาคมพนักงานเทศบาลแห่งประเทศไทย ที่ปรึกษาสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาข้าราชการกรุงเทพมหานคร กรรมการบริหารสมาคมรัฐศาสตร์แห่งประเทศไทย กรรมการออกข้อสอบของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย กรรมการจัดการประชุมวิชาการรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์แห่งชาติ ครั้งที่ 8 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ครั้งที่ 9 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรรมการเตรียมการจัดตั้งสภาพัฒนาการเมืองและยกร่างแผนแม่บทพัฒนาการเมือง สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี และอนุกรรมการการมีส่วนร่วมกับประชาชนในการสร้างความเข้มแข็งของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยและการแก้ไขรัฐธรรมนูญในคณะกรรมการพิจารณาแนวทางการแก้ไขรัฐธรรมนูญตามข้อเสนอของคณะกรรมการสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูปการเมืองและศึกษาการแก้ไขรัฐธรรมนูญ สำนักนายกรัฐมนตรี เป็นต้นย
- ประถมศึกษาจากโรงเรียนดาราสมุทรภูเก็ต
- มัธยมศึกษาจากโรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย
- รัฐศาสตรบัณฑิต (การปกครอง) จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- นิติศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- รัฐศาสตรมหาบัณฑิต (การปกครอง) จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- รัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต (เศรษฐศาสตร์การเมืองและการบริหารจัดการ) มหาวิทยาลัยบูรพา (แบบทำดุษฎีนิพนธ์โดยไม่มีรายวิชาเรียน)
- Cert. in American Government, Harvard University (USA)
- Cert. in Local Executive High Performance, Local Government Officials Development Institute (LOGODI) เก็บถาวร 2013-02-18 ที่ archive.today (Republic of Korea)
- Cert. in United Cities and Local Governments Asia-Pacific Conference (UCLG-ASPAC 2010) (UCLG) (Japan)
- Cert. in American Political Science Association Annual Meeting 2013 (Chicago, USA)
- Cert. in American Political Science Association Annual Meeting 2016 (Philadelphia, USA)
- ประกาศนียบัตรชั้นสูงการเสริมสร้างสังคมสันติสุข (สสสส.) รุ่นที่ 5 สถาบันพระปกเกล้า
- ประกาศนียบัตรหลักสูตรนักบริหารระดับสูงในมหาวิทยาลัย (นบม.) รุ่นที่ 26 สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) กระทรวงศึกษาธิการ
- ประกาศนียบัตรชั้นสูงการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยสำหรับนักบริหารระดับสูง (ปปร.) รุ่นที่ 21 สถาบันพระปกเกล้า
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.