Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ทอมัส บรูซ เอิร์ลที่ 7 แห่งเอลกิน และ เอิร์ลแห่งคินคาดีนที่ 11 หรือ ทอมัส เอลกิน (อังกฤษ: Thomas Bruce, 7th Earl of Elgin หรือ Thomas Elgin (ออกเสียง - เสียงอ่านภาษาอังกฤษ: /ˈɛlɡɪn/ เสียง 'g หนัก') และ 11th Earl of Kincardine (ออกเสียง Kincardine)) (20 กรกฎาคม ค.ศ. 1766 - 14 พฤศจิกายน ค.ศ. 1841) ทอมัส บรูซ เอิร์ลที่ 7 แห่งเอลกิน เป็นขุนนางและนักการทูตชาวอังกฤษผู้มีชื่อเสียงโด่งดังจากกรณีที่ไปเลาะและขนย้ายประติมากรรมที่มารู้จักกันว่า “ประติมากรรมหินอ่อนเอลกิน” (Elgin Marbles) หรือ “ประติมากรรมหินอ่อนพาเธนอน” จากเอเธนส์มายังสหราชอาณาจักร[1] ทอมัส เอลกินเป็นบุตรคนที่สองของชาร์ลส์ บรูซ เอิร์ลแห่งเอลกินที่ 5 และภรรยามาร์ธา ไวท์ (Martha Whyte) ทอมัสได้รับบรรดาศักดิ์เป็นเอิร์ลแห่งเอลกินต่อจากพี่ชายวิลเลียม โรเบิร์ต บรูซ เอิร์ลแห่งเอลกินที่ 6 ในปี ค.ศ. 1771 เมื่ออายุได้ 5 ปี[1]
ทอมัส บรูซ เอิร์ลที่ 7 แห่งเอลกิน Thomas Bruce, 7th Earl of Elgin | |
---|---|
ทอมัส บรูซ เอิร์ลที่ 7 แห่งเอลกิน | |
เกิด | 20 กรกฎาคม ค.ศ. 1766 |
อสัญกรรม | 14 พฤศจิกายน ค.ศ. 1841 |
บรรดาศักดิ์ | ขุนนางอังกฤษ |
ตำแหน่ง | นำ “ประติมากรรมหินอ่อนเอลกิน” จากเอเธนส์มายังสหราชอาณาจักร |
ขุนนางอังกฤษ - กษัตริย์อังกฤษ - ชาวอังกฤษ |
เอลกินเริ่มอาชีพเป็นทหารโดยการเข้าประจำการในกองทหารสกอตการ์ด และได้รับเลือกให้เป็นผู้แทนขุนนางสกอตในปี ค.ศ. 1790 และดำรงตำแหน่งต่อมาจนกระทั่งปี ค.ศ. 1807 ในปี ค.ศ. 1791 เอลกินถูกส่งไปเป็นราชทูตพิเศษผู้รักษาการชั่วคราวยังราชสำนักออสเตรียขณะที่เซอร์โรเบิร์ต คีธยังป่วยอยู่ จากนั้นเอลกินก็ถูกส่งไปเป็นราชทูตพิเศษยังบรัสเซลส์จนกระทั่งเมื่อฝรั่งเศสเข้ายึดครองเนเธอร์แลนด์ของสเปน หลังจากที่กลับมาอังกฤษได้ระยะหนึ่งเอลกลินก็ถูกส่งตัวไปเป็นราชทูตพิเศษยังปรัสเซีย ในปี ค.ศ. 1795[2]
เมื่อวันที่ 11 มีนาคม ค.ศ. 1799 ไม่นานก่อนที่จะไปเป็นราชทูตประจำคอนสแตนติโนเปิลเอลกินก็สมรสกับแมรี นิสเบ็ทท์ (ค.ศ. 1778–ค.ศ. 1855) บุตรีคนเดียวของวิลเลียม แฮมมิลตัน นิสเบ็ทท์[3] แมรีมาจากตระกูลเจ้าของที่ดินชาวสกอต เอลกินและแมรีมีบุตรชายด้วยกันคนหนึ่งแต่มาเสียชีวิตก่อนเอลกิน และบุตรีอีกสามคน[3]
เอลกินผู้ดำรงตำแหน่งเป็นราชทูตประจำราชสำนักของจักรวรรดิออตโตมันระหว่างปี ค.ศ. 1799 จนถึงปี ค.ศ. 1803 เป็นผู้มีพลังขันแข็งและมีความสามารถในการบริหารจัดการการดำเนินการเรื่องที่ยากในกรณีที่เกี่ยวกับอิทธิพลของอังกฤษระหว่างความขัดแย้งที่เกิดขึ้นระหว่างจักรวรรดิออตโตมันและฝรั่งเศส[4]
เอลกินเป็นผู้มีความสนใจเป็นอันมากกับของโบราณ โครงการหนึ่งของเอลกินเมื่อไปเป็นทูตคือการสะสมของโบราณ และรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับศิลปะกรีกโบราณด้วยตนเองโดยการวาดภาพ และหล่อโดยเฉพาะที่เอเธนส์เพื่อใช้ในการจำลองสำหรับการศึกษาและสะสมศิลปะในสหราชอาณาจักร ในการดำเนินโครงการนี้เอลกินก็รวบรวมกลุ่มศิลปินและช่างจากอิตาลีติดตัวไปด้วยก่อนที่จะไปถึงคอนสแตนติโนเปิล คณะศิลปินที่เอเธนส์หลังจากประสบอุปสรรคอยู่บ้างในที่สุดก็ได้รับอนุญาตตามพระราชกฤษฎีกาเฟอร์มันให้ทำการสำรวจอัครปุระได้อย่างเสรี และได้รับอนุญาตโดยเฉพาะให้ทำการเขียนภาพร่าง, หล่อ, ขุด และ นำแผ่นจารึกและประติกรรมนูนออกจากอัครปุระได้อย่างเสรี และดูเหมือนว่าการอนุญาตนี้มิได้จำกัดอยูแต่เพียงพาร์เธนอนเอง การเลาะแผ่นประติมากรรมเมโทเป (Metope), แถบประติมากรรมนูน (Frieze) และประติมากรรมบนหน้าจั่วเป็นการกระทำที่มาจากการตัดสินใจโดยไม่มีการไตร่ตรองล่วงหน้าโดยฟิลิป ฮันท์อนุศาสนาจารย์ประจำตัวและเลขานุการชั่วคราวของเอลกินในเอเธนส์ ผู้สร้างความกดดันต่อรัฐบาลท้องถิ่นของเอเธนส์โดยการอ้างคำอนุญาตโดยพระราชกฤษฎีกาเฟอร์มันโดยการตีความหมายอย่างกว้างๆ
ทั้งฟิลิป ฮันท์และเอลกินต่างก็ไม่มีความรู้สึกว่าการกระทำดังว่าเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ ทั้งสองต่างก็มีความรู้สึกประหลาดใจในปฏิกิริยาอันไม่ยินดียินร้ายของออตโตมัน (ผู้ที่ขณะนั้นมีอำนาจอยู่ในกรีซ) ต่อสภาวะอันเสื่อมโทรมลงของประติมากรรมต่างๆ ซึ่งเอลกินต่อมาอ้างว่าตนมีความประสงค์ที่จะพิทักษ์ประติมากรรมเหล่านี้ไว้จากการถูกทำลายระหว่างการต่อสู้ที่เกิดขึ้นในสงครามกู้อิสรภาพกรีก เอลกินอ้างว่าสาเหตของการเคลื่อนย้ายงานประติมากรรมก็เพื่อเป็นการอนุรักษ์ และอันที่จริงแล้วระหว่างความขัดแย้งที่เกิดขึ้นระหว่างตุรกีและกรีซอัครปุระก็ถูกล้อมสองครั้ง ชาวกรีกก็อยู่ในภาวะที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออกจนถึงกับยอมที่จะให้ลูกปืนแก่ฝ่ายออตโตมันที่ตั้งมั่นอยู่ผู้ที่พยายามจะหลอมตะกั่วที่ใช้เชื่อมเสาในการทำกระสุนถ้าฝ่ายออตโตมันให้สัญญาได้ว่าจะไม่ทำความเสียหายแก่พาร์เธนอน[2][4]
ระหว่างกระบวนการถอดแผ่นประติมากรรมเอลกินก็พบว่าไม่สามารถที่จะถอดจากอัครปุระได้โดยไม่ตัดออกเป็นชิ้นเล็กๆ ฉะนั้นการถอดแผ่นประติมากรรมของเอลกินจึงสร้างความเสียหายเป็นอันมาก การกระทำดังว่าแม้ในสมัยของเอลกินเองก็เป็นการกระทำที่สร้างความขัดแย้ง เอลกินเสียค่าใช้จ่ายไปเป็นจำนวนมากในการทำการขนส่งชิ้นส่วนต่างๆ กลับไปยังสหราชอาณาจักรที่ไม่ได้รับค่าตอบแทน[ต้องการอ้างอิง]
การถอดและขนย้ายประติมากรรมของเอลกินได้รับการสนับสนุนจากบางฝ่าย[5] แต่ก็มีผู้คัดค้านกล่าวประณามและกล่าวเปรียบเอลกินว่าเป็นผู้ขโมยทรัพย์สิน[1][6][7][8][9][10] โดยเฉพาะจากลอร์ดไบรอนกวีอังกฤษผู้เขียนติเตียนในโคลง “The Curse of Minerva” (ไทย: คำสาปของมิเนอร์วา)[11] หลังจากการโต้แย้งกันในรัฐสภาที่ตามมาด้วยการประกาศว่าการกระทำของเอลกินไม่เป็นการกระทำที่ผิดแล้ว รัฐบาลบริติชก็ทำการซื้อแผ่นประติมากรรมในปี ค.ศ. 1816 เป็นจำนวนเงิน 35,000 ปอนด์ซึ่งต่ำกว่าค่าใช้จ่ายที่เอลกินต้องเสียไปเป็นจำนวนทั้งสิ้นราว 75,000 ปอนด์ เพื่อนำไปตั้งแสดงที่พิพิธภัณฑ์บริติช[1]ที่ยังคงตั้งแสดงอยู่จนกระทั่งทุกวันนี้ ขณะเดียวกันข้อขัดแย้งและปัญหาที่ว่าพิพิธภัณฑ์บริติชควรจะคืนแผ่นหินอ่อนให้แก่เอเธนส์หรือไม่ก็ยังคงดำเนินต่อไป
ชีวิตงานอาชีพในตะวันออกใกล้ของเอลกินเต็มไปด้วยเหตุการณ์ร้ายหลายอย่างที่เกิดขึ้น ตั้งแต่ยังเยาว์วัยเอลกินก็ป่วยด้วยโรคที่บรรยายว่าเป็นโรคไขข้อที่แทบจะเชื่อแน่กันว่าเป็นซิฟิลิส[2]
เมื่อกลับมาถึงอังกฤษเอลกินผู้ไม่สามารถหว่านล้อมให้พิพิธภัณฑ์บริติชชดเชยค่าใช้จ่ายที่เสียไปกับการขนส่งแผ่นประติมากรรมก็ฟ้องชู้ของภรรยาเรียกร้องเงินเป็นจำนวนมาก จากนั้นในปี ค.ศ. 1807 และ ค.ศ. 1808 ก็ฟ้องหย่าภรรยาในข้อหาว่ามีชู้ในศาลอังกฤษและต่อมาศาลสกอตแลนด์ตามลำดับ และโดยพระราชบัญญัติของรัฐสภาซึ่งทำให้กลายเป็นเรื่องอื้อฉาว เมื่อวันที่ 21 กันยายน ค.ศ. 1810 เอลกินก็แต่งงานกับเอลิซาเบธ (ค.ศ. 1790–ค.ศ. 1860) บุตรีคนสุดท้องของเจมส์ ทาวน์เซนด์ ออสวอลด์ มีบุตรด้วยกันห้าคนที่รวมทั้งเจมส์ บรูซ เอิร์ลแห่งเอลกินที่ 8 ข้าหลวงใหญ่แห่งบริติชนอร์ธอเมริกา และอุปราชแห่งอินเดีย, เซอร์เฟรเดอริค ไรท์-บรูซ ทูต และ ทอมัส ชาร์ลส์ บรูซผู้แทนราษฎรของพอร์ทสมัธ และบุตรีอีกสามคน เอลกินย้ายไปอยู่บนแผ่นดินใหญ่ยุโรปเพราะเป็นหนี้เป็นสินท่วมตัว ส่วนลูกชายคนโตก็ใช้ชีวิตส่วนใหญ่ในต่างประเทศ และก็มีชื่อเสียงในด้านการสร้างความเสียหายแก่วัตถุอันมีค่าทางประวัติศาสตร์ เมื่อเป็นผู้ออกคำสั่งให้ทำลายพระราชวังฤดูร้อนเดิมที่ปักกิ่ง
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.