เนเธอร์แลนด์ของฮาพส์บวร์ค (อังกฤษ: Habsburg Netherlands, ดัตช์: Habsburgse Nederlanden; ฝรั่งเศส: Pays-Bas des Habsbourg) ซึ่งในภาษาละตินเรียกถึงว่า เบลจิกา (Belgica) เป็นกลุ่มดินแดนในศักดินาสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาที่มีบริเวณอยู่ในกลุ่มประเทศต่ำ ซึ่งปกครองโดยจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ภายใต้อำนาจของราชวงศ์ฮาพส์บวร์ค โดยเริ่มนับตั้งแต่ปีที่ผู้ปกครองคนสุดท้ายจากราชวงศ์วาลัว-บูร์กอญ คือ มารีแห่งบูร์กอญ ซึ่งเป็นพระมเหสีในจักรพรรดิมัคซีมีลีอานที่ 1 สิ้นพระชนม์ลงเมื่อ ค.ศ. 1482[1] ต่อมาพระราชนัดดา จักรพรรดิคาร์ลที่ 5 ผู้ซึ่งประสูติในเนเธอร์แลนด์ของฮาพส์บวร์คได้แต่งตั้งบรัสเซลส์เป็นหนึ่งในเมืองหลวง[2][3]

ข้อมูลเบื้องต้น การปกครองเนเธอร์แลนด์โดยราชวงศ์ฮาพส์บวร์ค Habsburg Netherlands, สถานะ ...
การปกครองเนเธอร์แลนด์
โดยราชวงศ์ฮาพส์บวร์ค

Habsburg Netherlands
ค.ศ. 1482–1794
ธงชาติHabsburg Netherlands
ธงชาติ
ตราแผ่นดินของHabsburg Netherlands
ตราแผ่นดิน
สถานะรัฐร่วมประมุขภายในจักรวรรดิ
เมืองหลวงบรัสเซลส์
ภาษาทั่วไปดัตช์, แซกซอนต่ำ, ฟรีเชียตะวันตก, วัลลูน, ลักเซมเบิร์ก, ฝรั่งเศส
ศาสนา
การปกครองราชาธิปไตย
ยุคประวัติศาสตร์ยุคใหม่ตอนต้น
 ราชวงศ์ฮาพส์บวร์ครับสืบทอดอาณาจักร
ค.ศ. 1482
 ผนวกเข้าเป็นเครือราชรัฐบูร์กอญ
ค.ศ. 1512
 กฎการสืบราชบัลลังก์
ค.ศ. 1549
 สืบทอดต่อให้กับสเปนของฮาพส์บวร์ค
ค.ศ. 1556
 สนธิสัญญาสันติภาพมึนส์เทอร์
30 มกราคม ค.ศ. 1648
 สนธิสัญญาราสตัทท์
7 มีนาคม ค.ศ. 1714
 ยุทธการที่สปรีมอนต์
18 กันยายน 1794
ก่อนหน้า
ถัดไป
เนเธอร์แลนด์ของบูร์กอญ
ราชรัฐมุขนายกยูเทรกต์
สาธารณรัฐดัตช์
สาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 1
ปิด
ประวัติศาสตร์ของกลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำ
ราชอาณาจักรแฟรงก์
(คริสต์ศตวรรษที่ 5-10)
ฟริเซีย
(600-734)
จักรวรรดิการอแล็งเฌียง หลังปี 800
  แฟรงก์ตะวันตก (ฝรั่งเศส) อาณาจักรแฟรงก์กลาง (โลทาริงเกีย)
(843–870)
แฟลนเดอส์และโลทาริงเกียในอาณาจักรแฟรงก์ตะวันตก
(870–880)
 
แฟลนเดอส์
(862–1384)
และรัฐอื่นๆ
(คริสต์
ศตวรรษ
ที่ 10–14)
ราชอาณาจักรโลทาริงเกีย (ต่อมาเป็นดัชชี) ในแฟรงก์ตะวันออก (เยอรมนี)
(880-1190)

บิชอปแห่ง
ลีแยฌ

(980-1794)


ดัชชีบูลียง
(988-1795)


แอบบีย์
สตาวีลอต
-มาลเมดีย์
(1138-1795)

ดัชชีบราบันต์
(1183-1430)
และรัฐอื่นๆ
(คริสต์ศตวรรษ
ที่ 10–15)

เคาน์ตี/
ดัชชี
ลักเซมเบิร์ก

(963–1443)

เคาน์ตีฮอลแลนด์
(880-1432)
และรัฐอื่นๆ
(คริสต์ศตวรรษ
ที่ 10–15)
เนเธอร์แลนด์ของเบอร์กันดี (1384–1477)
เนเธอร์แลนด์ของฮาพส์บวร์ค (กลุ่มสิบเจ็ดมณฑล)
(1482–1556)
เนเธอร์แลนด์ของสเปน
(เนเธอร์แลนด์ตอนใต้)

(1556–1714)

สาธารณรัฐดัตช์
(1581–1795)

เนเธอร์แลนด์ของออสเตรีย
(เนเธอร์แลนด์ตอนใต้)

(1714–1795)

การปฏิวัติลีแยฌ
(1789–1792)

สหรัฐเบลเยียม
(1790)
   

ตกเป็นส่วนหนึ่งของ
สาธารณรัฐฝรั่งเศส
(1795–1804)
และ
จักรวรรดิฝรั่งเศส
(1804–1815)

สาธารณรัฐ
บาตาเวีย

(1795–1806)

ราชอาณาจักร
ฮอลแลนด์

(1806–1810)
 

สหราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์
(1815-1830)

ราชอาณาจักรเบลเยียม
(ตั้งแต่ 1830)

แกรนด์ดัชชี
ลักเซมเบิร์ก
(รัฐร่วมประมุข)

ราชอาณาจักร
เนเธอร์แลนด์

(ตั้งแต่ 1830)

แกรนด์ดัชชี
ลักเซมเบิร์ก

(ตั้งแต่ 1890)

ต่อมาได้กลายเป็นกลุ่มสิบเจ็ดมณฑลในปีค.ศ. 1549 และต่อมาได้ตกอยู่ภายใต้การปกครองของราชวงศ์ฮาพส์บวร์คสายสเปน ตั้งแต่ปีค.ศ. 1556 ซึ่งถูกเรียกว่าเนเธอร์แลนด์ของสเปน ตั้งแต่บัดนั้น[4] ต่อมาในปีค.ศ. 1581 ได้เกิดการปฏิวัติดัตช์ขึ้นเพื่อแยกดินแดนในกลุ่มรัฐทั้งเจ็ดเป็นอิสระเพื่อจัดตั้งสาธารณรัฐดัตช์ ซึ่งทำให้ดินแดนส่วนที่เหลือในเนเธอร์แลนด์ใต้ที่ยังอยู่ภายใต้การปกครองของสเปนนั้นได้กลายเป็นเนเธอร์แลนด์ของออสเตรียในปีค.ศ. 1714 อันเป็นผลของสนธิสัญญาราสตัทท์ (Treaty of Rastatt)

การปกครองโดยราชวงศ์ฮาพส์บวร์คสิ้นสุดลงในการผนวกดินแดนภายหลังการจัดตั้งสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 1 เมื่อปีค.ศ. 1795

ภูมิศาสตร์

เนเธอร์แลนด์ของฮาพส์บวร์คกินอาณาเขตทั้งหมดของกลุ่มประเทศต่ำ (ในเนเธอร์แลนด์ เบลเยียม และลักเซมเบิร์กในปัจจุบัน) และจังหวัดนอร์ และปาดกาแลเกือบทั้งหมดในฝรั่งเศสปัจจุบัน ตั้งแต่ปีค.ศ. 1482 จนถึงค.ศ. 1581

โดยภายใต้การปกครองของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ โดยมีผู้ปกครองคือฟีลิปเลอบง ดยุกแห่งบูร์กอญระหว่างปีค.ศ. 1419-1467 จังหวัดต่างๆ ในเนเธอร์แลนด์ก็เริ่มเติบโตไปด้วยกัน ถึงแม้ว่าอดีตจะเคยอยู่ภายใต้การปกครองของทั้งอาณาจักรฝรั่งเศส และอีกส่วนภายใต้การปกครองของจักรวรรดิ ดินแดนที่เป็นรัฐบริวาร ได้แก่ ฟลานเดอร์ส อาร์ตัว และเมเคอเลิน นามูร์ ฮอลแลนด์ เซลันด์ และแอโน บราบันต์ ลิมบวร์ก และลักเซมเบิร์ก ได้ถูกปกครองแบบรัฐร่วมประมุขโดยมีกษัตริย์จากราชวงศ์วาลัว-บูร์กอญ และสภาผู้แทนราษฎร โดยมีศูนย์กลางอำนาจของราชวงศ์บูร์กอญอยู่ที่ดัชชีบราบันต์อันเป็นสถานที่ตั้งของราชสำนักในกรุงบรัสเซลส์

โอรสของดยุกฟีลิปเลอบง ชาร์ลผู้อาจหาญ (ดยุกแห่งบูร์กอญ ระหว่างปีค.ศ. 1467-1477) ยังสามารถผนวกดินแดนเกลเดอรส์ และซุทเฟิน มาครองได้และยังคาดหวังฐานันดรศักดิ์และบรรดาศักดิ์จากจักรพรรดิฟรีดริชที่ 3 ผ่านการเสกสมรสกับพระธิดา แต่ก็ล้มเหลวจึงทำให้เขาได้เริ่มก่อสงครามบูร์กอญขึ้น และสิ้นชีพลงในยุทธการน็องซี


ดูเพิ่ม

อ้างอิง

Wikiwand - on

Seamless Wikipedia browsing. On steroids.