Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เคาน์ตี ดัชชี และแกรนด์ดัชชีลักเซมเบิร์ก (อังกฤษ: County, Duchy and Grand Duchy of Luxembourg) ภูมิภาคทางประวัติศาสตร์ของ ลักเซมเบิร์ก เป็นมณฑลของโรมันเบลจิคาพรีมา[1] หลังจากการรุกรานของกลุ่มชนเจอร์มานิคจากทางตะวันออกลักเซมเบิร์กก็กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิแฟรงก์และต่อมาก็กลายเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิแฟรงค์กลาง
ประวัติศาสตร์ของกลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำ | ||||
---|---|---|---|---|
ราชอาณาจักรแฟรงก์ (คริสต์ศตวรรษที่ 5-10) |
ฟริเซีย (600-734) | |||
จักรวรรดิการอแล็งเฌียง หลังปี 800 | ||||
แฟรงก์ตะวันตก (ฝรั่งเศส) | อาณาจักรแฟรงก์กลาง (โลทาริงเกีย) (843–870) | |||
แฟลนเดอส์และโลทาริงเกียในอาณาจักรแฟรงก์ตะวันตก (870–880) | ||||
แฟลนเดอส์ (862–1384) และรัฐอื่นๆ (คริสต์ ศตวรรษ ที่ 10–14) |
ราชอาณาจักรโลทาริงเกีย (ต่อมาเป็นดัชชี) ในแฟรงก์ตะวันออก (เยอรมนี) (880-1190) | |||
บิชอปแห่ง ลีแยฌ (980-1794) ดัชชีบูลียง (988-1795) แอบบีย์ สตาวีลอต -มาลเมดีย์ (1138-1795) |
ดัชชีบราบันต์ (1183-1430) และรัฐอื่นๆ (คริสต์ศตวรรษ ที่ 10–15) |
เคาน์ตี/ ดัชชี ลักเซมเบิร์ก (963–1443) |
เคาน์ตีฮอลแลนด์ (880-1432) และรัฐอื่นๆ (คริสต์ศตวรรษ ที่ 10–15) | |
เนเธอร์แลนด์ของเบอร์กันดี (1384–1477) | ||||
เนเธอร์แลนด์ของฮาพส์บวร์ค (กลุ่มสิบเจ็ดมณฑล) (1482–1556) | ||||
เนเธอร์แลนด์ของสเปน (เนเธอร์แลนด์ตอนใต้) (1556–1714) |
สาธารณรัฐดัตช์ (1581–1795) | |||
เนเธอร์แลนด์ของออสเตรีย (เนเธอร์แลนด์ตอนใต้) (1714–1795) | ||||
การปฏิวัติลีแยฌ (1789–1792) |
สหรัฐเบลเยียม (1790) |
|||
ตกเป็นส่วนหนึ่งของ สาธารณรัฐฝรั่งเศส (1795–1804) และ จักรวรรดิฝรั่งเศส (1804–1815) |
สาธารณรัฐ บาตาเวีย (1795–1806) | |||
ราชอาณาจักร ฮอลแลนด์ (1806–1810) | ||||
สหราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ (1815-1830) | ||||
ราชอาณาจักรเบลเยียม (ตั้งแต่ 1830) |
แกรนด์ดัชชี ลักเซมเบิร์ก (รัฐร่วมประมุข) |
ราชอาณาจักร เนเธอร์แลนด์ (ตั้งแต่ 1830) | ||
แกรนด์ดัชชี ลักเซมเบิร์ก (ตั้งแต่ 1890) |
หลักฐานอ้างอิงแรกที่ทราบเกี่ยวกับดินแดนของลักเซมเบิร์กปัจจุบันบันทึกโดยจูเลียส ซีซาร์ใน "Commentarii de Bello Gallico" (ไทย: บันทึกความเห็นเกี่ยวกับสงครามกอลลิค)[2] นักประวัติศาสตร์สมัยใหม่อธิบายที่มาของคำว่า "ลักเซมเบิร์ก" ว่ามาจากคำว่า "Letze" ที่แปลว่าป้อมปราการ[3] ที่อาจจะพาดพิงไปถึงซากหอยามของโรมัน หรือถึงที่ตั้งถิ่นฐานอย่างหยาบๆ ของชนสมัยยุคกลางตอนต้น
ในปี ค.ศ. 963 เคานต์ซีกฟรีดแห่งลักเซมเบิร์กแห่งราชวงศ์อาร์แดนน์ทำการซื้อที่ดินจากอธิการวิแครัสแห่งแอบบีแซงต์มักซิแมง ที่ดินดังกล่าวอยู่ในบริเวณที่เชื่อกันว่าเป็นที่ตั้งของซากป้อมปราการของจักรวรรดิโรมันเดิมที่มีชื่อเป็นภาษาเจอร์มานิคว่า "Lucilinburhuc" (ที่โดยทั่วไปแปลว่าปราสาทเล็ก) ในปีต่อๆ มาซีกฟรีดก็สร้างปราสาทขึ้นใหม่บนซากปราสาทเดิม บนเนินหินที่ต่อมาเรียกว่า "Bock Fiels" ปราสาทนี้ตั้งเด่นอยู่บนถนนโรมันที่เชื่อมระหว่างเมืองแรงส์, อาร์ลอง และ เทรียร์ ซึ่งทำให้ได้รับผลประโยชน์จากการค้าขายและการเก็บภาษี ประวัติของลักเซมเบิร์กเริ่มขึ้นเมื่อปราสาทหลังนี้สร้างขึ้น แต่แม้ว่าจะได้สร้างปราสาทขึ้นแต่เคานท์ซีกฟรีดและทายาทต่อมาก็ไม่ได้ใช้เป็นที่อยู่อาศัยหลัก
ต่อมาปราสาทก็ขยายตัวขึ้นเป็นเมืองเล็กๆ มีตลาดที่ตั้งขึ้นรอบปราสาทที่สร้างขึ้นใหม่ ผู้ที่อยู่อาศัยรอบๆ ปราสาทในสมัยแรกๆ ก็คงจะเป็นข้าทาสบริวารของเคานท์ซีกฟรีดและนักบวชของสำนักสงฆ์เซนต์ไมเคิล ถิ่นฐานนี้ไม่นานก็ได้รับความคุ้มครองจากการก่อสร้างกำแพงเมือง และ คูล้อมรอบ
นอกไปจากเมืองเล็กๆ ไม่ไกลจาก "Bock Fiels" และถนนโรมันแล้ว ก็ยังมีชุมชนอีกชุมชนหนึ่งก่อตั้งตัวขึ้นในบริเวณลุ่มน้ำอัลแซตต์ (ปัจจุบันคือชุมชนกรุนด์) เมื่อมาถึงปี ค.ศ. 1083 เมืองล่างก็มีวัดสองวัด สะพานสองสะพานข้ามแม่น้ำอัลแซตต์และเพทรัสส์ ผู้ที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ก็ประกอบอาชีพต่างๆ ที่รวมทั้งการจับปลา การอบขนมปัง และ การสีข้าว ในปีเดียวกันนั้นก็ได้มีการก่อตั้งแอบบีคณะเบเนดิกติน--แอบบีอัลท์มึนสเตอร์--ขึ้นโดยเคานต์คอนราดที่ 1 แห่งลักเซมเบิร์กบนเนินหลังปราสาท
เฮนรีที่ 3 แห่งลักเซมเบิร์กเป็นเคานต์คนแรกที่ทราบที่ใช้ปราสาทลักเซมเบิร์กเป็นที่อยู่อย่างถาวร ในเอกสารจากปี ค.ศ. 1089 กล่าวถึงเฮนรีว่า "comes Henricus de Lutzeleburg" ซึ่ทำให้เฮนรีเป็นเคานท์แห่งแห่งลักเซมเบิร์กคนแรกที่ได้รับการบันทึกอย่างเป็นทางการ
ตัวเมืองรอบปราสาทก็ขยายตัวขึ้นเป็นลำดับ จนกลายเป็นศูนย์กลางขนาดเล็กแต่เป็นรัฐที่มีความสำคัญทางยุทธศาสตร์ต่อฝรั่งเศส เยอรมนี และกลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำ ป้อมปราการของลักเซมเบิร์กก็ได้รับการสร้างเสริมและขยายตัวเพิ่มขึ้นตามลำดับโดยผู้ครองคนต่อๆ มา ซึ่งเป็นผลทำให้กลายมาเป็นป้อมปราการที่แข็งแรงมั่นคงที่สุดแห่งหนึ่งในยุโรป ระบบการป้องกันอันแน่นหนาและตำแหน่งอันสำคัญทางยุทธศาสตร์ทำให้ลักเซมเบิร์กได้รับสมญาว่าเป็น "ยิบรอลตาร์แห่งภาคเหนือ"
ราชวงศ์ลักเซมเบิร์กมีประมุขหลายพระองค์ที่ได้รับเลือกให้เป็นหรือเป็นจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ พระมหากษัตริย์แห่งโบฮีเมีย และรวมทั้งอาร์ชบิชอปแห่งเทรียร์ และอาร์ชบิชอปแห่งไมนทซ์ ตั้งแต่สมัยยุคกลางตอนต้นมาจนถึงยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาลักเซมเบิร์กก็ถูกเรียกกันไปต่างแล้วแต่ผู้เขียน ที่รวมทั้ง Lucilinburhuc, Lutzburg, Lützelburg, Luccelemburc, Lichtburg และอื่นๆ
ลักเซมเบิร์กดำรงตัวเป็นอาณาจักรอิสระของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์มาจนถึง ค.ศ. 1354 เมื่อจักรพรรดิคาร์ลที่ 4 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ยกฐานะลักเซมเบิร์กขึ้นเป็นดัชชีให้แก่พระอนุชาเวนสเลาสที่ 1 ดยุกแห่งลักเซมเบิร์ก ดัชชีลักเซมเบิร์กได้รับการก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1353 โดยการรวมเคาน์ตีลักเซมเบิร์กเข้ากับอาณาจักรมาร์กราฟแห่งอาร์ลอง เคาน์ตีเดอร์บีย์และลาโรชอองอาร์แดนน์ และรวมทั้งดิสตริกต์ทิออนวิลล์ บิทบูร์ก และ มาร์วิลล์, เมิซ เคาน์ตีแห่งไวอังเดิงก็อาจจะนับได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งด้วยเมื่อกลายมาเป็นเมืองขึ้นของเคานต์และดยุกแห่งลักเซมเบิร์กเมื่อราวเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1264.
ต่อมาดัชชีลักเซมเบิร์กก็ตกไปเป็นของดยุกแห่งเบอร์กันดีของราชวงศ์วาลัวส์ และของอาร์ชดยุกแห่งออสเตรียแห่งราชวงศ์ฮับส์บูร์ก กลุ่มสิบเจ็ดมณฑลได้รับการก่อตั้งขึ้นเป็นสหพันธ์อันสำคัญโดยสมเด็จพระจักรพรรดิคาร์ลที่ 5 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ตาม Pragmatic Sanction of 1549
ในปี ค.ศ. 1792 การปฏิวัติฝรั่งเศสก็นำมาซึ่งความสิ้นสุดของระบบการปกครองดังกล่าว จนกระทั่งการประชุมแห่งเวียนนาในปี ค.ศ. 1815 มาแก้สถานการณ์ที่ยกฐานะของดัชชีลักเซมเบิร์กขึ้นเป็นราชรัฐลักเซมเบิร์ก และมอบให้อยู่ภายใต้การปกครองของพระเจ้าวิลเลียมที่ 1 แห่งเนเธอร์แลนด์ในการเป็นรัฐร่วมประมุขกับสหราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.