ประเทศโกตดิวัวร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ประเทศโกตดิวัวร์map

โกตดิวัวร์ (ฝรั่งเศส: Côte d'Ivoire) หรือที่รู้จักกันในชื่อ ไอวอรีโคสต์ (อังกฤษ: Ivory Coast) มีชื่อทางการว่า สาธารณรัฐโกตดิวัวร์ (ฝรั่งเศส: République de Côte d'Ivoire) เป็นประเทศในแอฟริกาตะวันตก มีเมืองหลวงคือยามูซูโกร ซึ่งอยู่ใจกลางของประเทศ ในขณะที่เมืองที่ใหญ่ที่สุดและศูนย์กลางทางเศรษฐกิจคืออาบีจาน มีพรมแดนติดกับกินีทางตะวันตกเฉียงเหนือ ไลบีเรียทางทิศตะวันตก มาลีทางตะวันตกเฉียงเหนือ บูร์กินาฟาโซทางตะวันออกเฉียงเหนือ กานาทางตะวันออก และอ่าวกินีทางใต้ ด้วยจำนวนประชากร 30.9 ล้านคนใน ค.ศ. 2023 โกตดิวัวร์จึงเป็นประเทศที่มีประชากรมากเป็นอันดับสามในแอฟริกาตะวันตก ภาษาราชการคือภาษาฝรั่งเศส และภาษาพื้นเมือง โดยรวมแล้วมีภาษาต่าง ๆ ที่พูดกันประมาณ 78 ภาษาในโกตดิวัวร์ ประเทศนี้เป็นประเทศที่มีความหลากหลายทางศาสนา ประเทศมีผู้นับถือศาสนาต่าง ๆ เช่น ศาสนาอิสลาม คริสต์ และศาสนาพื้นเมือง เช่น ลัทธิวิญญาณนิยม[7]

8°N 5°W

ข้อมูลเบื้องต้น สาธารณรัฐโกตดิวัวร์ République de Côte d'Ivoire (ฝรั่งเศส), เมืองหลวง ...
สาธารณรัฐโกตดิวัวร์

République de Côte d'Ivoire (ฝรั่งเศส)
Thumb
ตราแผ่นดิน
คำขวัญ: 'เอกภาพ – ระเบียบวินัย – แรงงาน'
(ฝรั่งเศส: ‘Union – Discipline – Travail’)
Thumb
เมืองหลวงยามูซูโกร (โดยนิตินัย)
อาบีจาน (โดยพฤตินัย)
6°51′N 5°18′W
เมืองใหญ่สุดอาบีจาน
ภาษาราชการฝรั่งเศส
ภาษาพื้นเมือง
  • Bété
  • ดยูลา
  • บาอัวเล
  • อับรอน
  • อาญิน
  • Cebaara Senufo
  • อื่น ๆ
กลุ่มชาติพันธุ์
(ค.ศ. 2018)
  • 41.1% อากัน
  • 27.5% Dyula, Maninka
  • 17.6% Voltaiques / Gur
  • 11.0% Kru
  • 2.8% อื่น ๆa
ศาสนา
(ค.ศ. 2020)[1]
การปกครองรัฐเดี่ยว ระบบประธานาธิบดี สาธารณรัฐรัฐธรรมนูญภายใต้ระบบรัฐสภา
 ประธานาธิบดี
Alassane Ouattara
 รองประธานาธิบดี
Tiémoko Meyliet Koné
 นายกรัฐมนตรี
Robert Beugré Mambé
สภานิติบัญญัติรัฐสภาโกตดิวัวร์
วุฒิสภา
รัฐสภา
ประวัติ
 ก่อตั้งสาธารณรัฐ
4 ธันวาคม ค.ศ. 1958
 เป็นเอกราชจากฝรั่งเศส
7 สิงหาคม ค.ศ. 1960
พื้นที่
 รวม
322,463 ตารางกิโลเมตร (124,504 ตารางไมล์) (อันดับที่ 68)
1.4[2]
ประชากร
 ค.ศ. 2020 ประมาณ
26,378,274[3] (อันดับที่ 53)
63.9 ต่อตารางกิโลเมตร (165.5 ต่อตารางไมล์) (อันดับที่ 139)
จีดีพี (อำนาจซื้อ) ค.ศ. 2020 (ประมาณ)
 รวม
144.497 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[4] (อันดับที่ 79)
5,360 ดอลลาร์สหรัฐ[4]
จีดีพี (ราคาตลาด) ค.ศ. 2020 (ประมาณ)
 รวม
61.502 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[4]
2,281 ดอลลาร์สหรัฐ[4]
จีนี (ค.ศ. 2015)Steady 41.5[5]
ปานกลาง
เอชดีไอ (ค.ศ. 2019)เพิ่มขึ้น 0.538[6]
ต่ำ · อันดับที่ 162
สกุลเงินWest African CFA franc (XOF)
เขตเวลาUTC (เวลามาตรฐานกรีนิช)
รูปแบบวันที่วว/ดด/ปปปป
ขับรถด้านขวา
รหัสโทรศัพท์+225
รหัส ISO 3166CI
โดเมนบนสุด.ci
  1. รวมชาวเลบานอนประมาณ 130,000 คนและชาวฝรั่งเศส 14,000 คน
ปิด

ก่อนที่จะตกเป็นอาณานิคม โกตดิวัวร์เป็นที่ตั้งของรัฐหลายแห่ง รวมถึงกยามาน, จักรวรรดิคอง และเบาเล ดินแดนนี้กลายเป็นรัฐอารักขาของฝรั่งเศสในปี พ.ศ. 2386 และได้รับการรวมเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศสใน ค.ศ. 1893 ในช่วงการอาณานิคมในแอฟริกา โกตติวัวร์ได้รับเอกราชใน ค.ศ. 1960 โดย เฟลิกซ์ ฮูฟูเอต์-บวนญี ซึ่งปกครองประเทศจนถึง ค.ศ. 1993 โกตติวัวร์ค่อนข้างมีเสถียรภาพตามมาตรฐานภูมิภาคและได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการเมืองและทางเศรษฐกิจอย่างใกล้ชิดกับเพื่อนบ้านในแอฟริกาตะวันตก ขณะเดียวกันก็รักษาความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับประเทศตะวันตกโดยเฉพาะฝรั่งเศส เสถียรภาพของประเทศลดลงเนื่องจากการรัฐประหารใน ค.ศ. 1999 และสงครามกลางเมือง 2 ครั้ง ครั้งแรกระหว่าง ค.ศ. 2002 ถึง 2007[8] และอีกครั้งในช่วง ค.ศ. 2010–2011 มีการนำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่มาใช้ในปี 2559[9]

โกตดิวัวร์เป็นสาธารณรัฐที่มีอำนาจบริหารสูงสุดเป็นของประธานาธิบดี ด้วยการผลิตกาแฟและโกโก้ โกตติวัวร์จึงกลายเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจในแอฟริกาตะวันตกในคริสต์ทศวรรษ 1960 และ 1970 จากนั้นจึงประสบกับวิกฤตเศรษฐกิจในคริสต์ทศวรรษ 1980 ซึ่งก่อให้เกิดช่วงเวลาแห่งความวุ่นวายทางการเมืองและสังคมที่ขยายไปจนถึง ค.ศ. 2011 การเติบโตทางเศรษฐกิจในระดับสูงนับตั้งแต่การกลับมาของสันติภาพและเสถียรภาพทางการเมืองใน ค.ศ. 2011 โดยตั้งแต่ ค.ศ. 2012 ถึง 2023 เศรษฐกิจขยายตัวเฉลี่ย 7.1% ต่อปีซึ่งเป็นอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่เร็วที่สุดเป็นอันดับสองในแอฟริกาและเป็นอัตราที่เร็วที่สุดเป็นอันดับสี่ในโลก[10] ใน ค.ศ. 2023 โกตดิวัวร์มีค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศต่อหัวสูงเป็นอันดับสองในแอฟริกาตะวันตกตามหลังกาบูเวร์ดี[11] ใน ค.ศ. 2020 โกตดิวัวร์เป็นผู้ส่งออกเมล็ดโกโก้รายใหญ่ที่สุดของโลกและมีรายได้สูงในภูมิภาคนี้[12] แต่เศรษฐกิจยังคงต้องพึ่งพาการเกษตรกรรมเป็นอย่างมาก โดยมีการผลิตพืชของเกษตรกรรายย่อยเป็นสำคัญ[2]

ภูมิศาสตร์

Thumb
แผนที่จำแนกภูมิอากาศแบบเคิปเปนของโกตดิวัวร์

โกตดิวัวร์เป็นประเทศในแอฟริกาตะวันตกของทะเลทรายซาฮารา มีพรมแดนติดกับประเทศไลบีเรียและประเทศกินีทางทิศตะวันตก ประเทศมาลีและประเทศบูร์กินาฟาโซทางทิศเหนือ ประเทศกานาทางทิศตะวันออก และอ่าวกินี (มหาสมุทรแอตแลนติก) ทางทิศใต้ ประเทศนี้อยู่ระหว่างละติจูด 4° และ 11°N และลองจิจูด 2° และ 9°W พื้นที่ประมาณร้อยละ 64.8 เป็นพื้นที่เกษตรกรรม ที่ดินทำกินมีจำนวนร้อยละ 9.1 ทุ่งหญ้าถาวรร้อยละ 41.5 และพืชผลถาวรร้อยละ 14.2 มลพิษทางน้ำเป็นหนึ่งในปัญหาที่ใหญ่ที่สุดที่ประเทศกำลังเผชิญอยู่

ความหลากหลายทางชีวภาพ

โกตดิวัวร์เป็นประเทศที่มีความหลากหลายทางชีวภาพมากที่สุดในแอฟริกาตะวันตก มีสัตว์มากกว่า 1,200 ชนิด ในจำนวนนี้เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม 223 ชนิด นก 702 ชนิด สัตว์เลื้อยคลาน 125 ชนิด สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก 38 ชนิด และปลา 111 ชนิด รวมถึงพันธุ์พืชกว่า 4,700 ชนิด โดยประชากรสัตว์ป่าส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในพื้นที่ขรุขระของประเทศ[13] โกตดิวัวร์มีอุทยานแห่งชาติ 9 แห่ง โดยอุทยานแห่งชาติที่ใหญ่ที่สุดคืออุทยานแห่งชาติ Assgny ซึ่งมีพื้นที่ประมาณ 17,000 เฮกตาร์หรือ 42,000 เอเคอร์[14]

โกตดิวัวร์มีอีโครีเจียนบนบก 6 แห่ง ได้แก่ ป่ากินีตะวันออก ป่าดิบเขากินี ป่าที่ราบลุ่มกินีตะวันตก ป่ากินี-ทุ่งหญ้าสะวันนาโมเสก ทุ่งหญ้าสะวันนาซูดานตะวันตก และป่าชายเลนกินี[15] มีดัชนีความสมบูรณ์ของภูมิทัศน์ป่าไม้ประจำปี 2018 ที่ 3.64 เต็ม 10 ซึ่งอยู่ในอันดับที่ 143 ของโลก จาก 172 ประเทศ[16]

หมายเหตุ

    อ้างอิง

    บรรณานุกรม

    แหล่งข้อมูลอื่น

    Wikiwand in your browser!

    Seamless Wikipedia browsing. On steroids.

    Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.

    Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.