โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการเขลางค์นคร เดิมชื่อ โรงเรียนเขลางค์นคร ตั้งอยู่ที่ตำบลบ่อแฮ้ว อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง เป็นมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ แบบสหศึกษา เปิดสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น-มัธยมศึกษาตอนปลาย ถือกำเนิดจากความต้องการการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาสายสามัญในเขตเมืองลำปาง
ข้อมูลเบื้องต้น โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการเขลางค์นคร TRIAM UDOM SUKSA PATTANAKARN KHELANGNAKORN SCHOOL, ที่ตั้ง ...
ปิด
โรงเรียนเขลางค์นคร ได้รับอนุญาตให้เปลี่ยนชื่อจากโรงเรียนเขลางค์นคร เป็น “โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการเขลางค์นคร” และได้รับพระบรมราชานุญาตให้ใช้ “พระเกี้ยว” เป็นตราสัญลักษณ์ของโรงเรียน เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 และเป็นโรงเรียนในเครือเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ในลำดับที่ 14 [2]
ยุคเขลางค์นคร
- ในปีพุทธศักราช 2514 – 2516 ชาวลำปางและนักเรียนตื่นตัวทางการศึกษาอย่างมากมีการขอให้ทางราชการจัดตั้งโรงเรียนระดับเตรียมอุดมศึกษาขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ที่จะให้เป็นโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ภาคเหนือ รองรับนักเรียนและเป็นสถานศึกษาที่มีคุณภาพระดับจังหวัดอีกโรงเรียนหนึ่ง เพิ่มจากที่มีอยู่คือ โรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัยและโรงเรียนลำปางกัลยาณี ซึ่งเป็นโรงเรียนมัธยมสายสามัญขนาดใหญ่ประจำจังหวัดลำปาง ทั้งสองโรงเรียนเปิดสอนทั้งระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย ไม่สามารถรับนักเรียนในจังหวัดลำปางเข้าเรียนได้หมดตามความต้องการของนักเรียนและผู้ปกครอง ต้องเดินทางไปหาที่เรียนในต่างอำเภอและต่างจังหวัดสร้างความเดือดร้อนให้แก่ผู้ปกครองยิ่งนักความประสงค์อย่างแรงกล้าที่จะจัดตั้งโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา โดยเฉพาะมัธยมศึกษาตอนปลายจึงเกิดขึ้น
- จังหวัดลำปางจึงได้นำเสนอความคิดนี้ไปยังกระทรวงศึกษาธิการ และทางจังหวัดลำปางก็ได้แต่งตั้งกรรมการขึ้นมาชุดหนึ่ง จัดเตรียมหาที่ดินที่จะใช้เป็นที่ก่อตั้งโรงเรียน ในที่สุดก็ได้ ณ หมู่บ้านน้ำโท้ง ตำบลบ่อแฮ้ว อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง ซึ่งเป็นป่าเตรียมสงวนของกรมป่าไม้ จำนวน 522 ไร่ 3 งาน 93 ตารางวา ห่างจากศาลากลางจังหวัด 9 กิโลเมตร
- วันที่ 7 ตุลาคม 2519 ได้แบ่งที่ดินเพื่อสร้างศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนภาคเหนือ คงเหลือเป็นพื้นที่ของโรงเรียน จำนวน 278 ไร่ 1 งาน 96 ตารางวา
- แต่ในระหว่างการดำเนินการอยู่นั้น นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นจำนวนมากยังไม่มีที่เรียน ผู้ปกครองเดือดร้อนและนักเรียนก็ได้ร้องขอให้มีการรับนักเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นเพิ่มเติมอีก ดังนั้นจังหวัดลำปางโดยผู้ว่าราชการจังหวัดและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง จึงมีความเห็นพ้องต้องกันให้เปิดโรงเรียนมัธยมศึกษาแห่งใหม่นี้ เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาที่รับนักเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยใช้ชื่อว่า “โรงเรียนเขลางค์นคร” จึงทำให้โรงเรียนไม่ได้เป็นโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาตามที่ดำริไว้ ซึ่งในการเปิดโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาจะต้องเปิดรับเฉพาะชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายเท่านั้น
- ด้วยความเมตตาของ หลวงพ่อเกษม เขมโก ได้ฉันทานุมัติการสร้างเหรียญของท่านให้ประชาชนได้เช่าบูชา โดยเรียกเหรียญรุ่นนี้ว่า“เหรียญหลวงพ่อเกษม” รุ่นเตรียมอุดมศึกษา เพื่อหาเงินเตรียมก่อสร้างอาคารเรียน ซึ่งจากการเช่าบูชาเหรียญได้เงินทั้งสิ้น 1,074,500.90 บาท เงินจำนวนนี้กันไว้สร้างอาคารเรียนหลังแรก ชื่อ “พ.เกษมอุปถัมภ์” เป็นเงิน 820,000 บาท เงินส่วนที่เหลือใช้เป็นค่าปรับพื้นที่ และสมทบทุนสร้างศาลาประดิษฐาน พระพุทธนิรโรคันตรายชัยวัฒน์จตุรทิศ ในบริเวณหน้าศาลากลางจังหวัดลำปาง (ศาลากลางหลังเก่าในปัจจุบัน)
- วันที่ 14 มีนาคม 2517 กระทรวงศึกษาธิการก็ได้ส่งตัวแทนมาร่วมประชุมวางแผนกับคณะกรรมการ ของจังหวัดลำปาง และได้ข้อสรุปเสนอกระทรวงศึกษาธิการขอให้เปิดโรงเรียนแห่งใหม่นี้ ให้ทันเปิดรับนักเรียนรุ่นแรกในปีการศึกษา 2517
- วันที่ 2 พฤษภาคม 2517 กระทรวงศึกษาธิการประกาศตั้งโรงเรียนแห่งใหม่นี้ โดยใช้ชื่อว่า “โรงเรียนเขลางค์นคร” เปิดรับนักเรียนทั้งชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลาย
- ในปีการศึกษา 2517 กรมสามัญศึกษาได้แต่งตั้ง นางบุญรัตน์ โรจนศักดิ์ อาจารย์ใหญ่โรงเรียนพะเยาพิทยาคม จังหวัดเชียงราย (ปัจจุบันเป็นจังหวัดพะเยา) มารักษาการในตำแหน่งอาจารย์ใหญ่ และวันที่ 1 เมษายน ได้แต่งตั้งให้ นางบุญรัตน์ โรจนศักดิ์ ดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่โรงเรียนเขลางค์นคร
- เมื่อนางบุญรัตน์ โรจนศักดิ์ มาดำรงตำแหน่งแล้ว ได้ทำการบุกเบิกพื้นที่ตัดถนนเข้าสู่โรงเรียน โดยได้รับความร่วมมือจากศูนย์ปฏิบัติการ รพช.ภาคเหนือ ลำปาง, กองพันทหารราบที่ 2 กรมผสมที่ 7 ค่ายสุรศักดิ์มนตรีลำปาง, สถานีอากาศอเมริกัน อำเภอเกาะคา และชาวบ้านหมู่บ้านน้ำโท้ง ตำบลบ่อแฮ้ว
- โรงเรียนเขลางค์นคร ได้เริ่มเปิดสอนในปีการศึกษา 2517 โดยฝากเรียนที่โรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัยและในวันที่ 30 พฤษภาคม 2518 โรงเรียนเขลางค์นครก็สามารถย้ายจากโรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัย มาอยู่ในที่บุกเบิกและเปิดเรียนในวันที่ 1 มิถุนายน 2518
ยุคเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการเขลางค์นคร
- ในปีการศึกษา 2557 โรงเรียนเขลางค์นคร ได้รับการประสานงานให้เข้าร่วมเป็นโรงเรียนในเครือโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ เพื่อให้มีโรงเรียนในเครือเพิ่มจาก 13 โรงเรียนเป็น 14 โรงเรียน โดยได้รับการแนะนำจาก ผู้อำนวยการสมพงษ์ พลสูงเนิน อดีตผู้อำนวยการโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ รัชดา, นายกสมาคมผู้ปกครองและครู โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ รัชดา และเป็นคณะกรรมการพิจารณาการเข้าร่วมเป็นโรงเรียนในเครือเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการได้เลือกโรงเรียนจากทุกภาคของประเทศไทยแล้ว เห็นว่า โรงเรียนเขลางค์นคร มีความเหมาะสมที่สุด ทั้งทางด้านภูมิประเทศและเป็นศูนย์กลางคมนาคม
- เพื่อเป็นการพัฒนาคุณภาพทางการศึกษาและด้านต่าง ๆ นายภูริต คันธชุมภู ผู้อำนวยการโรงเรียนเขลางค์นคร และตัวแทนคณะครู จึงเข้าร่วมประชุมโรงเรียนในเครือโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ รัชดา ร่วมรับฟังแนวทางการดำเนินงานด้านการบริหารจัดการโรงเรียน ที่เน้นการพัฒนาผู้เรียนทางด้านวิชาการและคุณธรรม โรงเรียนในเครือเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ มีการบริหารจัดการเหมือนกันทุกโรงเรียนตาม วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์ กลยุทธ์ รวมทั้งโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ รัชดา
- ดังนั้น นายภูริต คันธชุมภู ผู้อำนวยการโรงเรียนเขลางค์นคร, นายสมพร วะเท นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลบ่อแฮ้ว ในฐานะประธานคณะกรรมการสถานศึกษาโรงเรียนเขลางค์นคร, นายมนัส อินตานนท์ นายกสมาคมผู้ปกครอง-ครูโรงเรียนเขลางค์นคร ได้พิจารณาและเห็นความเหมาะสม จึงได้นำเสนอต่อผู้ที่เกี่ยวข้องและได้รับความเห็นชอบจาก การประชุมของคณะกรรมการสถานศึกษาโรงเรียนเขลางค์นคร, สมาคมผู้ปกครอง-ครูโรงเรียนเขลางค์นคร, สมาคมศิษย์เก่าโรงเรียนเขลางค์นคร, ผู้ปกครอง, คณะครู, นักเรียนและคณะกรรมการสภานักเรียน ในการเข้าร่วมเป็นโรงเรียนในเครือเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ
- 10 กรกฎาคม 2557 คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ เห็นชอบให้ โรงเรียนเขลางค์นคร เข้าร่วมเป็นโรงเรียนในเครือเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ และยินยอมให้เปลี่ยนมาใช้ชื่อ “โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการเขลางค์นคร” ใช้อักษรย่อประจำโรงเรียนว่า "ต.อ.พ.ข.น"
- 29 กรกฎาคม 2557 คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 35 ประกาศให้ โรงเรียนเขลางค์นคร เปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการเขลางค์นคร[3][4]
ข้อมูลเพิ่มเติม รายนามผู้บริหารโรงเรียนเขลางค์นคร, ลำดับ ...
รายนามผู้บริหารโรงเรียนเขลางค์นคร |
ลำดับ |
รายนามผู้อำนวยการ |
วาระการดำรงตำแหน่ง |
1. |
นายเจือ หมายเจริญ |
พ.ศ. 2517 (รักษาการ) |
2. |
นางบุญรัตน์ โรจนศักดิ์ |
พ.ศ. 2518 - พ.ศ. 2524 |
3. |
นางสาวสายสมร เจริญจันทร์แดง |
พ.ศ. 2524 - พ.ศ. 2534 |
4. |
นายสุรชาติ ช่วงฉ่ำ |
พ.ศ. 2534 - พ.ศ. 2535 |
5. |
นายวีรยุทธ จงสถาพรพงศ์ |
พ.ศ. 2535 - พ.ศ. 2536 |
6. |
นายประดิษฐ์ จันทร์แสนตอ |
พ.ศ. 2536 - พ.ศ. 2540 |
7. |
นายอาณัติ เถียรประภากุล |
พ.ศ. 2540 - พ.ศ. 2542 |
8. |
นางจุรีย์ สร้อยเพ็ชร |
พ.ศ. 2542 - พ.ศ. 2547 |
9. |
นางเบญจวรรณ ไกรวุฒินันท์ |
พ.ศ. 2547 - พ.ศ. 2549 |
10. |
นายบุญเรือง ถาคำฟู |
พ.ศ. 2549 - พ.ศ. 2553 |
11. |
นายทวีเดช สัตย์ต่อชาติ |
พ.ศ. 2554 - พ.ศ. 2554 |
12. |
นายเกตุ เปี้ยอุตร |
พ.ศ. 2554 - พ.ศ. 2556 |
13. |
นายภูริต คันธชุมภู |
พ.ศ. 2556 - พ.ศ. 2557 |
รายนามผู้บริหารโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการเขลางค์นคร |
ลำดับ |
รายนามผู้อำนวยการ |
วาระการดำรงตำแหน่ง |
1. |
นายภูริต คันธชุมภู |
พ.ศ. 2557 – พ.ศ. 2561 |
2. |
นายบุญทวี วิทยาคุณ |
พ.ศ. 2561 – พ.ศ. 2563 |
3. |
นายสุทิน คงสนุ่น |
พ.ศ. 2563 – พ.ศ. 2566 |
4. |
นายสุมล สัญญเดช |
พ.ศ. 2566 – ปัจจุบัน |
ปิด
- ศาลาจริยธรรม ประดิษฐานพระพุทธเขลางค์และรูปหล่อเหมือนองค์หลวงพ่อเกษม เขมโก เป็นอาคารที่ใช้เป็นที่ประกอบพีธีทางศาสนา เมื่อมีกิจกรรมต่าง ๆ ของทางโรงเรียน
- อาคาร 1 - พ.เกษมอุปถัมถ์ เป็นอาคารเรียนหลังแรกของโรงเรียน มีทั้งหมด 8 ห้อง ประกอบด้วย
- ห้องธนาคารโรงเรียน
- ห้องเรียนปกติ (101-103, 110)
- ห้องประชุมใหม่ (รอชื่ออย่างเป็นทางการ)
- อาคาร 2 - ธรรมรักษา เป็นอาคารหมวดวิชาศิลปศึกษาและภาษาไทย มีทั้งหมด 12 ห้อง ประกอบด้วย
- ห้องพักครูศิลปะ (201)
- ห้องนาฏศิลป์ (202)
- ห้องปฏิบัติการศิลปะ (203)
- ห้องเรียนปกติ (204-210)
- ศูนย์ภาษาไทย (211)
- ห้องพักครูภาษาไทย (212)
- อาคาร 3 - พุทธรักษา เป็นอาคารหมวดวิชาสังคมศึกษา มีทั้งหมด 13 ห้อง ประกอบด้วย
- ห้องอาเซียน (301)
- ห้องเรียนปกติ (302-310)
- ห้องศูนย์สังคมศึกษา (311)
- ห้องพักครูสังคมศึกษา (312)
- ศูนย์วัฒนธรรม (313)
- อาคาร 4 - ก๋าสะลอง เป็นอาคารหมวดวิชาวิทยาศาสตร์ (มัธยมศึกษาตอนปลาย) มีทั้งหมด 11 ห้อง ประกอบด้วย
- ห้องศูนย์วิทยาศาสตร์ (401)
- ห้องพักครูวิทยาศาสตร์ 3 ห้อง (402, 403/2, 409)
- ห้องปฏิบัติการฟิสิกส์ 2 ห้อง (403, 404)
- ห้องปฏิบัติการเคมี 2 ห้อง (405, 406)
- ห้องปฏิบัติการชีววิทยา 2 ห้อง (407, 408)
- ห้องเตรียมสาร (405/2)
- อาคาร 5 - ซอมพอ เป็นอาคารหมวดวิชาดนตรีและวิทยาศาสตร์ (มัธยมศึกษาตอนต้น) มีทั้งหมด 8 ห้อง ประกอบด้วย
- ห้องดนตรีไทย (501)
- ห้องปฏิบัติการดนตรี (502-503)
- ห้องพักครูดนตรี (504)
- ห้องโยธวาทิต (505)
- ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ 3 ห้อง (506-508)
- อาคาร 6 - เสริมสรรพวิทย์ เป็นอาคารอำนวยการ ใช้ในการเรียนการสอนวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์และแนะแนว
- ชั้น 1 ประกอบด้วย
- ห้องคอมพิวเตอร์ (ICT2) (6110)
- ห้องกลุ่มบริหารงานวิชาการ (6109)
- ห้องกลุ่มบริหารงานงบประมาณ (6107)
- ห้องกลุ่มบริหารงานทั่วไป (6106)
- ห้องประชาสัมพันธ์ (6104)
- ห้องประชุมเขลางค์นคร (6105)
- ห้องกลุ่มบริหารงานบุคคล (6103)
- ห้องแนะแนว (6101)
- ชั้น 2 ประกอบด้วย
- ห้องผู้อำนวยการ (6201)
- ห้องสมุด
- ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ 3 ห้อง (6202-6204)
- ห้องพักครูงานคอมพิวเตอร์ (6203/2)
- ห้องคอมพิวเตอร์ (ICT1) (6205)
- ห้องประชุมทานตะวัน (6206)
- อาคาร 7 (รอชื่ออย่างเป็นทางการ) เป็นอาคารแบบ 318 ล./55-ข (4 ชั้น) ใช้ในการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์และภาษาต่างประเทศ มีทั้งหมด 18 ห้อง แบ่งเป็นชั้นละ 6 ห้อง (ยกเว้นชั้น 1)
- ชั้น 2 ประกอบด้วย
- ห้องเรียนปกติ 6 ห้อง (721-726)
- ห้องน้ำ 2 ฝั่ง โดยห้องน้ำหญิงอยู่ใกล้ห้อง 721 และห้องน้ำชายอยู่ใกล้ห้อง 726
- ชั้น 3 ประกอบด้วย
- ห้องพักครูหมวดวิชาภาษาต่างประเทศ 1 ห้อง (731)
- ห้องเรียนปกติ 4 ห้อง (732-735)
- ห้องพักครูคณิตศาสตร์ 1 ห้อง (736)
- ชั้น 4 ประกอบด้วย
- ห้องเรียนปกติ 6 ห้อง (741-746)
- หอประชุมพัฒนวิท หรือ ศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นหอประชุมที่ใช้ในการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ของทางโรงเรียน
- หอประชุมอเนกประสงค์ เป็นอาคารที่ใช้เรียนวิชาพลศึกษา ปัจจุบันได้รื้อถอนลงแล้ว
- ห้องเรียนสีเขียว เป็นอาคารที่ใช้เรียนวิชาวิทยาศาสตร์ ตั้งอยู่ตรงข้ามกับอาคารเสริมสรรพวิทย์
- ศูนย์กีฬาว่ายน้ำ กรมสามัญศึกษา เป็นอาคารว่ายน้ำขนาดมาตรฐาน ก่อสร้างขึ้นโดย กรมสามัญศึกษา
- อาคารศูนย์ลูกเสือ เป็นอาคารทรงไทยใช้เป็นสถานที่จัดกิจกรรมลูกเสือ กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนและร้านค้ามินิมาร์ท
- อุทยานการศึกษา เป็นสถานที่พักผ่อนของนักเรียน ตั้งอยู่บริเวณอาคารศูนย์ลูกเสือ
- สวนป่าพระเทพฯ เป็นสถานที่พักผ่อนของนักเรียน ตั้งอยู่บริเวณอาคารศูนย์ลูกเสือ
- อาคารชั่วคราว แบ่งได้ 4 อาคารดังนี้
- อาคารชั่วคราว 3 เป็นอาคารเรียนหมวดงานเกษตร
- อาคารชั่วคราว 5 เป็นอาคารเรียนวิชาศิลปะและนาฏศิลป์ (ปัจจุบันย้ายไปใช้อาคาร 2)
- อาคารชั่วคราว 6 เป็นอาคารเรียนหมวดงานธุรกิจ
- อาคารชั่วคราว 7 เป็นอาคารเรียนหมวดงานช่างอุตสาหกรรม
- อาคารฝึกงาน แบ่งได้ 3 อาคาร ดังนี้
- อาคารฝึกงาน 1 เป็นอาคารเรียนหมวดงานบ้าน
- อาคารฝึกงาน 2 เป็นอาคารเรียนหมวดวิชาสุขศึกษา (ปัจจุบันย้ายไปใช้อาคาร 1)
- อาคารฝึกงาน 3 เป็นอาคารเรียนหมวดงานช่างอุตสาหกรรม
เปิดสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6
ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
- ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีทั้งหมด 6 ห้องเรียน และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และ 3 มีทั้งหมด 7 ห้องเรียน แบ่งเป็น
- ห้องเรียนหลักสูตรพิเศษวิทยาศาสตร์ (Smart Science) 1 ห้อง
- ห้องเรียนหลักสูตรทั่วไป 6 ห้อง
ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
- ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 และ 6 มีทั้งหมด 5 ห้องเรียน และมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีทั้งหมด 6 ห้องเรียน แบ่งเป็น
- ห้องเรียนหลักสูตรวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ 2 ห้อง
- ห้องเรียนหลักสูตรภาษาอังกฤษ-ภาษาไทย-สังคมศึกษา 2 ห้อง (มัธยมศึกษาปีที่ 6 มี 1 ห้อง)
- ห้องเรียนหลักสูตรภาษาอังกฤษ-คณิตศาสตร์ 1 ห้อง
- ห้องเรียนหลักสูตรภาษาอังกฤษ-ภาษาจีน 1 ห้อง
โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการเขลางค์นคร ได้จัดส่งบุคลากรครูและนักเรียน เข้าร่วมและสนับสนุน กิจกรรมต่าง ๆ ของโรงเรียนและกลุ่มโรงเรียนในเครือ "เตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ " ดังนี้
- โครงการปันน้ำใจสานสายใยเครือเตรียมพัฒน์
- ได้รับความช่วยเหลือในการติว O-NET ให้แก่นักเรียน โดยคณะครูจากโรงเรียนในเครือเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ
- โครงการอบรมและพัฒนาหลักสูตรในเครือโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ตามโครงการ "เตรียมพัฒน์รักองค์กร"
- นิทรรศการ OCOP และ OSOP
- โครงการสัมมนาครูเครือเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ
- จัดส่งบุคลากรครูเข้าร่วมประชุม อบรม สัมนา กับคณะครูของโรงเรียนในเครือเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และแนวทางในจัดการเรียนการสอน
- โครงการค่ายผู้นำนักเรียนโรงเรียนในเครือโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ (ค่ายผู้นำเตรียมพัฒน์)
- จัดส่งผู้นำนักเรียนหรือคณะกรรมการนักเรียน เข้าร่วมประชุมและอบรม กับผู้นำนักเรียนหรือคณะกรรมการนักเรียนของโรงเรียนในเครืออัษฎเตรียมพัฒน์
- โครงการแลกเปลี่ยนนักเรียน
- จัดส่งนักเรียนที่มีผลการเรียนดีของโรงเรียนให้มีโอกาศไปศึกษาที่โรงเรียนในเครือเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ เป็นระยะเวลา 1 ปีการศึกษา โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย