Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงเรียนลำปางกัลยาณี เป็นโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 35 ตั้งอยู่ในตำบลสวนดอก อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
โรงเรียนลำปางกัลยาณี Lampang Kanlayanee School | |
---|---|
ข้อมูล | |
ชื่ออื่น | ล.ก. / LKS |
ประเภท | โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ |
คำขวัญ | อชฺเชว กิจฺจมาตปฺปํ (จงเร่งทำความเพียรเสียแต่วันนี้) |
สถาปนา | พ.ศ. 2458 |
เขตการศึกษา | สำนักงานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐาน |
รหัส | 52012008 |
ผู้อำนวยการ | นายวิโรจ หลักมั่น |
ระดับปีที่จัดการศึกษา | มัธยมศึกษาปีที่ 1—6 สหศึกษา |
จำนวนนักเรียน | 3,368 คน |
สี | น้ำเงิน ขาว |
เพลง | มาร์ชลำปางกัลยาณี |
เว็บไซต์ | http://www.lks.ac.th |
โรงเรียนลำปางกัลยาณี เริ่มก่อตั้งครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2458 โดย พล.ต.ต.เจ้าราชวงศ์ (แก้วปราบเมรุ ณ ลำปาง) เป็นผู้อุทิศที่ดินให้ 1 ไร่เศษ ทางฝั่งขวาของแม่น้ำวัง ถนนปงสนุก อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง ต่อมาพ่อเลี้ยง หม่อง หง่วยสิ่น สุวรรณอัตถ์ ได้ก่อสร้างอาคารเรียนให้ 1 หลัง เป็นอาคารไม้ชั้นเดียว มี 3 ห้องเรียน แต่ไม่มีครูสอน โรงเรียนจึงถูกทอดทิ้งไว้ให้ร้างอยู่ถึง 2 ปี
ในปี พ.ศ. 2460 คุณครูแคลระ รัตนศาสตร์สมบูรณ์ ได้มาเที่ยวที่จังหวัดลำปาง พระยาสุเรนทร์ ราชเสนีย์ เจ้าเมืองลำปางได้ขอร้องให้ คุณครูแคลระ ทำการเปิดสอน ด้วยความอนุเคราะห์ของคุณครูแคละ โรงเรียนรัฐบาลหญิงแห่งแรกของจังหวัดลำปาง จึงเกิดขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2460 จัดสอนแบบสหศึกษา มีนักเรียนชาย 57 คน นักเรียนหญิง 3 คน มีครูเพียงคนเดียว การสอนต้องใช้วิธีจัดให้เด็กโตช่วยสอนเด็กเล็ก ด้วยความวิริยะ อุตสาหะ ด้วยความตั้งใจจริงของคุณครูแคลระ รัตนศาสตร์สมบูรณ์ ท่านได้ทุ่มเทกำลังกาย กำลังทรัพย์ ทำงานพัฒนาโรงเรียนแต่ลำพังเป็นเวลาถึง 5 ปี โดยไม่เห็นแก่ความเหน็ดเหนื่อย จนปี พ.ศ. 2465 จึงได้ครูที่สำเร็จจากจังหวัดพระนครมาช่วยสอน และแบ่งเบาภาระจากท่านไปบ้าง นับได้ว่าท่านเป็น ปูชนียบุคคลที่ควรแก่การยกย่อง
พ.ศ. 2478 มีนักเรียนเพิ่มขึ้นถึง 300 คน และเปิดขยายชั้นเรียนถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ทำให้เกิดปัญหาในเรื่องสถานที่คับแคบ สนามและที่พักผ่อนไม่พอกับจำนวนนักเรียน คุณครูแคลระ รัตนศาสตร์สมบูรณ์ จึงได้จัดซื้อที่ดินจำนวน 16 ไร่ 20 ตารางวา ที่ถนนพหลโยธิน อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง (สถานที่ โรงเรียน ลำปางกัลยาณีในปัจจุบัน) ด้วยทุนทรัพย์ส่วนตัวของท่านเป็นจำนวนเงิน 600 บาท ปัจจุบันมีเนื้อที่ 23 ไร่เศษ[1]
ลำดับ | รายนาม | ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง |
---|---|---|
1 | นางแคลระ รัตนศาสตร์สมบูรณ์ | พ.ศ. 2460 - 2478 |
2 | นางสุ่น อัจฉกุล | พ.ศ. 2479 - 2480 |
3 | นางตาบ แรงขำ | พ.ศ. 2481 - 2485 |
4 | นางบุญฉวี พรหมปกรณ์ | พ.ศ. 2485 - 2487 |
5 | นางสมบูรณ์ ธรรมคลองอาตม์ | พ.ศ. 2487 - 2493 |
6 | นางประทุมมาลย์ รัชตะปิติ | พ.ศ. 2493 - 2497 |
7 | นางศรีบุศย์ กรรณสูต | พ.ศ. 2497 - 2506 |
8 | คุณหญิงวลัย ลีลานุช | พ.ศ. 2506 - 2528 |
9 | นางบุญรัตน์ โรจนศักดิ์ | พ.ศ. 2528 - 2533 |
10 | นางสาวบุญนาค เดี่ยววิไล | พ.ศ. 2533 - 2539 |
11 | นายวีระยุทธ จงสถาพรพงศ์ | พ.ศ. 2539 - 2544 |
12 | นายบริบูรณ์ สุทธสุภา | พ.ศ. 2544 - 2547 |
13 | ดร.จุรีย์ สร้อยเพชร | พ.ศ. 2547 - 2555 |
14 | นายธรนินทร์ เฆมศิริ | พ.ศ. 2555 - 2558 |
15 | นายแสวง บุญมากาศ | พ.ศ. 2558 – 2561 |
16 | นายนิรันดร หมื่นสุข | พ.ศ. 2561 – 2565 |
17 | นายวิโรจ หลักมั่น | พ.ศ. 2565 - ปัจจุบัน |
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.