Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงเรียนสุโขทัยวิทยาคม (อังกฤษ: Sukhothai Wittayokom School; ย่อ: ส.ท./SUW) เป็นหนึ่งในสามโรงเรียนประจำจังหวัดสุโขทัย ร่วมกับโรงเรียนอุดมดรุณีและโรงเรียนสวรรค์อนันต์วิทยา ตั้งอยู่ในอำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย จัดเป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุโขทัย สหวิทยาเขตเจ้าราม สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ[1]
โรงเรียนสุโขทัยวิทยาคม Sukhothai Wittayakom School | |
---|---|
ที่ตั้ง | |
พิกัด | 17.012525813487617°N 99.7922061959184°E |
ข้อมูล | |
ประเภทโรงเรียน | โรงเรียนประจำจังหวัดของรัฐ โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ |
ก่อตั้ง | พ.ศ. 2441 (125 ปี) |
สถานะ | เปิดทำการปกติ |
หน่วยงานกำกับ | สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุโขทัย สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ |
รหัส | 64012001 |
ครู/อาจารย์ | 124 คน |
ระดับชั้น | มัธยมศึกษาปีที่ 1 - 6 |
จำนวนนักเรียน | 2,577 คน (2566) |
ระบบการศึกษา | ในระบบ |
ภาษาที่ใช้เป็นสื่อการสอน | ภาษาไทย ภาษาฝรั่งเศส |
สี | น้ำเงิน - ขาว |
เว็บไซต์ | http://www.suw.ac.th/ |
โรงเรียนสุโขทัยวิทยาคม เริ่มก่อตั้ง เมื่อปี พ.ศ. 2441 บริเวณเหนือวัดราชธานี อำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย โดยชื่อว่า โรงเรียนประจำจังหวัดสุโขทัย "สุโขทัยวิทยาคม" รับนักเรียนสหศึกษา ตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 แต่หลังจากนั้นปี เมื่อปี พ.ศ. 2448 ได้ย้ายไปเปิดใหม่บริเวณหลังตลาดธานี หรือบริเวณสนามเด็กเล่น เชิงสะพานพระร่วง
วันที่ 26 สิงหาคม 2472 ได้เปิดอาคารเรียนใหม่บริเวณใต้วัดไทยชุมพล และได้แบ่งโรงเรียนออกเป็นสองโรงเรียนคือ โรงเรียนสตรีประจำจังหวัดสุโขทัย "อุดมดรุณี"[3] ตั้งอยู่บริเวณเดิม (หลังตลาดธานี) และโรงเรียนชายประจำจังหวัดสุโขทัย "สุโขทัยวิทยาคม" ตั้งอยู่บริเวณใหม่ (ใต้วัดไทยชุมพล) รับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
พ.ศ. 2474 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการ ยุบรวมบางมณฑลและบางจังหวัด โดยจังหวัดสุโขทัย ถูกยุบเลิกและรวมกับจังหวัดสวรรคโลก ทำให้ โรงเรียนสุโขทัยวิทยาคม หมดสถานะโรงเรียนชายประจำจังหวัดสุโขทัย และมีสถานะเป็นโรงเรียนชายประจำอำเภอสุโขทัยธานีแทน[4]
พ.ศ. 2482 ทางราชการ ได้มีการเปลี่ยนแปลงชื่อจังหวัดสวรรคโลก เป็นจังหวัดสุโขทัย ทำให้ โรงเรียนสุโขทัยวิทยาคม มีสถานะเป็นโรงเรียนชายประจำจังหวัดสุโขทัยอีกครั้ง[5]
พ.ศ. 2500 ได้มีการก่อตั้งวิทยาลัยพลศึกษาจังหวัดสุโขทัย โดยทางวิทยาลัยได้ใช้อาคารสถานที่ของโรงเรียนสุโขทัยวิทยาคมเป็นสถานที่เรียนชั่วคราว
พ.ศ. 2503 เปิดสอนชั้นเตรียมอุดมศึกษา แผนกวิทยาศาสตร์ และต่อมาได้ขยายเปิดสอนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย แผนกศิลปศาสตร์
วันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2507 ได้ย้ายมาอยู่บริเวณสนามบินเก่า ตำบลบ้านกล้วย และก็ได้ตั้งอยู่บริเวณนั้นมาจนถึงปัจจุบัน ส่วนบริเวณใต้วัดไทยชุมพลยกให้โรงเรียนอุดมดรุณี ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของโรงเรียนอุดมดรณี
พ.ศ.2514 ทางโรงเรียนได้สร้างพระบรมรูปพ่อขุนรามคำแหงมหาราชไว้ที่ด้านหน้าของทางเข้าโรงเรียนซึ่งพระบรมรูปของพระองค์ได้เป็นที่เคารพสักการะของครูอาจารย์ นักเรียนและชาวจังหวัดสุโขทัยมาจนทุกวันนี้
พ.ศ. 2523 ได้ให้วิทยาลัยนาฏศิลป์สุโขทัย ใช้อาคารสถานที่ จนวิทยาลัยนาฏศิลป์สุโขทัยสร้างเสร็จ และในปีเดียวกัน วิทยาลัยพลศึกษาจังหวัดสุโขทัย ก็ได้ย้ายออกจากโรงเรียน ไปตั้งอยู่อาคารถาวรของวิทยาลัย ปัจจุบันคือ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตสุโขทัย
พ.ศ. 2525 ทางโรงเรียนได้เปิดโรงเรียนชั้นมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา ณ ตำบลยางซ้าย อำเภอเมืองสุโขทัย โดยเป็นสาขาของโรงเรียนสุโขทัยวิทยาคม และในปีเดียวกัน วิทยาลัยนาฏศิลป์สุโขทัย ก็ได้ย้ายออกจากโรงเรียนสุโขทัยวิทยาคม ไปตั้งอยู่อาคารเรียนถาวรบริเวณทิศตะวันออกของโรงเรียน
13 มกราคม พ.ศ. 2526 ได้แยกสาขาของโรงเรียนสุโขทัยวิทยาคม ตำบลยางซ้าย อำเภอเมืองสุโขทัย เป็น โรงเรียนยางซ้ายพิทยาคม โรงเรียนมัธยมศึกษา ประจำตำบลยางซ้าย[6]
18 พฤษภาคม 2527 ได้มีการก่อตั้งโรงเรียนมัธยม ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมืองสุโขทัย โดยกรมสามัญได้อนุมัติให้เป็นสาขาของโรงเรียนสุโขทัยวิทยาคม จังหวัดสุโขทัยในช่วงแรก ต่อมาวันที่ 30 พฤษภาคม 2527 ก็ได้แยกออกจากการเป็นสาขาของโรงเรียนสุโขทัยวิทยาคมและจัดตั้งเป็นโรงเรียนลิไทพิทยาคม[7]
ระดับชั้น | แผนการเรียน | ระดับชั้น | แผนการเรียน | |
---|---|---|---|---|
มัธยมศึกษาตอนต้น | -ห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์
-แผนการเรียน English Program -แผนการเรียน ภาษาจีน -แผนการเรียน วิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ -แผนการเรียน ภาษา-สังคมศึกษา |
มัธยมศึกษาตอนปลาย | -ห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์
-แผนการเรียน English Program -แผนการเรียน ภาษาอังกฤษ-คณิตศาสตร์ -แผนการเรียน ภาษาฝรั่งเศส -แผนการเรียน ภาษาจีน -แผนการเรียน ภาษาอังกฤษ - สังคมศึกษา |
นาม | ตำแหน่ง | ปีที่ดำรงตำแหน่ง |
---|---|---|
พระครูคณะวาที(เวทย์ มณีนิล) | ครูใหญ่ | พ.ศ.2447-2465 |
นายโชติ พัฒนากุล | ครูใหญ่ | พ.ศ.2465-2469 |
นายพูน ชัยอุดม | ครูใหญ่ | พ.ศ.2469-2470 |
นายโชติ พัฒนากุล | ครูใหญ่ | พ.ศ.2470-2477 |
นายฮวด ทิพย์วิเศษ | ครูใหญ่ | พ.ศ.2477-2479 |
นายงาม สีตะธานี | ครูใหญ่ | พ.ศ.2479-2479 |
นายมนัส นิจโภค | อาจารย์ใหญ่ | พ.ศ.2479-2482 |
นายศิริ สุขกิจ | อาจารย์ใหญ่ | พ.ศ.2482-2483 |
นายมนัส นิจโภค | อาจารย์ใหญ่ | พ.ศ.2483-2507 |
นายประสิทธิ์ ธนะปัญโญ | อาจารย์ใหญ่ | พ.ศ.2507-2513 |
นายล้วน วรนุช | อาจารย์ใหญ่ | พ.ศ.2513-2516 |
นายสมนึก ทิมพงศ์ | อาจารย์ใหญ่ | พ.ศ. 2516-2518 |
นายชูชีพ มีจุ้ย | ผู้อำนวยการโรงเรียน | พ.ศ.2519-2533 |
นายสงวน คงชู | ผู้อำนวยการโรงเรียน | พ.ศ.2533-2534 |
นายนริศ วงศ์โชติรัตน์ | ผู้อำนวยการโรงเรียน | พ.ศ.2534-2540 |
นายไพวัน คงกระพันธ์ | ผู้อำนวยการโรงเรียน | พ.ศ.2540-2544 |
นายเนาวรัตน์ คณะนัย | ผู้อำนวยการโรงเรียน | พ.ศ.2544-2547 |
นายสมศักดิ์ จงรู้ธรรม | ผู้อำนวยการโรงเรียน | พ.ศ.2547-2548 |
นายวิสิทธิ์ สุขเจริญ | ผู้อำนวยการโรงเรียน | พ.ศ.2548-2553 |
ดร.ธีรศักดิ์ คงเจริญ | ผู้อำนวยการโรงเรียน | พ.ศ.2553-2560 |
ดร.สมพร สุขอร่าม | ผู้อำนวยการโรงเรียน | พ.ศ.2561-2563 |
ดร.มนตรี คงเจริญ | ผู้อำนวยการโรงเรียน | พ.ศ.2564-2566 |
นายไพบูลย์ พวงเงิน | ผู้อำนวยการโรงเรียน | พ.ศ.2566-ปัจจุบัน |
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.