โรงพยาบาลชลบุรี
โรงพยาบาลศูนย์ ในจังหวัดชลบุรี จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงพยาบาลชลบุรี (อังกฤษ: Chonburi Hospital) เป็นโรงพยาบาลศูนย์สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ในอำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2462 ซึ่งตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ตามความประสงค์ของอำมาตย์เอก พระยาสัจจาภิรมย์ อุดมราชภักดี ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี และนายแพทย์ ขุนอินทวราคม สาธารณสุขจังหวัดชลบุรีในขณะนั้น[2][3] เป็นโรงพยาบาลสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขแห่งแรก และแห่งเดียวที่ได้รับการรับรองมาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพขั้นก้าวหน้า (Advanced Healthcare Accreditation; AHA) จากสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน)[4][5] นอกจากนี้ยังได้รับรองจากแพทยสภาให้เป็นสถาบันฝึกอบรมแพทย์ฝึกหัด และศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก สำนักงานบริหารโครงการร่วมผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท ซึ่งเป็นสถาบันร่วมผลิตแพทย์แห่งคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[6]
โรงพยาบาลชลบุรี | |
---|---|
Chonburi Hospital | |
![]() | |
ชื่อย่อ | รพ.ชลบุรี |
ชื่อย่ออังกฤษ | CBH |
ประเภท | โรงพยาบาลศูนย์ |
ที่ตั้ง | 69 ถนนสุขุมวิท หมู่ที่ 2 ตำบลบ้านสวน อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี |
ประเทศ | ประเทศไทย |
ข้อมูลทั่วไป | |
ก่อตั้ง | พ.ศ. 2462 (อายุ 106 ปี) |
ผู้ก่อตั้ง | พระยาสัจจาภิรมย์ อุดมราชภักดี (สรวง ศรีเพ็ญ) |
สังกัด | สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข |
มาตรฐาน | โรงพยาบาลขั้นก้าวหน้า (Advanced HA) |
ผู้อำนวยการ | นพ.นำพล แดนพิพัฒน์ |
จำนวนเตียง | 866[1] |
แพทย์ | 276 คน |
บุคลากร | 1,856 คน |
เว็บไซต์ | www.cbh.moph.go.th |
เฟซบุ๊ก | โรงพยาบาลชลบุรี |
การรับรองมาตรฐาน
โรงพยาบาลชลบุรี เป็นโรงพยาบาลที่ได้รับมาตรฐานการรับรองคุณภาพสถาบันฝึกอบรม Postgraduate Medical Education จากสหพันธ์แพทยศาสตรศึกษาโลก, มาตรฐาน Joint Commission International (JCI) จากคณะกรรมการร่วมรับรองมาตรฐานสถานพยาบาล, และมาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพขั้นก้าวหน้า (Advanced Healthcare Accreditation; AHA) จากสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน)[4][5] ซึ่งเป็นโรงพยาบาลสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขแห่งเดียวใน 7 โรงพยาบาลที่ได้รับมาตรฐาน AHA คือ โรงพยาบาลศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล, โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช กรมแพทย์ทหารอากาศ, คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช, โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล, โรงพยาบาลกรุงเทพ, และโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
การดำเนินการขอการรับรองมาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพขั้นก้าวหน้า (AHA) ได้เริ่มในสมัย นพ. ชุติเดช ตาบองครักษ์ ดำรงตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาลชลบุรี จากการที่มีโรงพยาบาลที่มีศักยภาพสูงในพื้นที่ภาคตะวันออก เช่น โรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ กรมแพทย์ทหารเรือ, โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเวที ณ ศรีราชา สภากาชาดไทย และโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา[7]
ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก
ดูเพิ่ม
- โรงพยาบาลและสถาบันร่วมผลิตแพทย์แห่งคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร
- โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช กรมแพทย์ทหารอากาศ เขตสายไหม กรุงเทพมหานคร
- โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา สภากาชาดไทย อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี
- โรงพยาบาลพระปกเกล้า สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข อำเภอเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี
- โรงเรียนแพทย์และสถาบันร่วมผลิตแพทย์แห่งอื่นที่ตั้งในจังหวัดชลบุรี
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
Wikiwand - on
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.