Remove ads
การแข่งขันฟุตบอล จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โกปาอาเมริกา 2021 (โปรตุเกส: Copa América de 2021) เป็นการแข่งขันฟุตบอลโกปาอาเมริกา ครั้งที่ 47 ซึ่งเป็นการแข่งขันฟุตบอลชายระดับทีมชาติชิงแชมป์ทวีปอเมริกาใต้ จัดขึ้นโดยสมาพันธ์ฟุตบอลอเมริกาใต้ (คอนเมบอล) ในปีนี้จะจัดขึ้นที่ประเทศบราซิล ระหว่างวันที่ 13 มิถุนายน ถึง 10 กรกฎาคม ค.ศ. 2021 จากเดิมที่จะจัดขึ้นในประเทศโคลอมเบีย และอาร์เจนตินา เดิมทีการแข่งขันจะเริ่มต้นระหว่างวันที่ 12 มิถุนายน ถึง 12 กรกฎาคม ค.ศ. 2020 ภายใต้ชื่อ โกปาอาเมริกา 2020 แต่ภายหลังจากการระบาดทั่วของไวรัสโควิด-19 ในวันที่ 17 มีนาคม ค.ศ. 2020 คอนเมบอล จึงตัดสินใจเลื่อนการแข่งขันออกไปหนึ่งปี เช่นเดียวกับ ยูฟ่า ที่ได้เลื่อนการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2020 ออกไปเช่นกัน[2]
คอนเมบอล โกปาอาเมริกา บราซิล 2021 | |
---|---|
รายละเอียดการแข่งขัน | |
ประเทศเจ้าภาพ | บราซิล |
วันที่ | 13 มิถุนายน – 10 กรกฎาคม[1] |
ทีม | 10 (จาก 1 สมาพันธ์) |
สถานที่ | 5 (ใน 4 เมืองเจ้าภาพ) |
อันดับเมื่อสิ้นสุดการแข่งขัน | |
ชนะเลิศ | อาร์เจนตินา (สมัยที่ 15) |
รองชนะเลิศ | บราซิล |
อันดับที่ 3 | โคลอมเบีย |
อันดับที่ 4 | เปรู |
สถิติการแข่งขัน | |
จำนวนนัดที่แข่งขัน | 28 |
จำนวนประตู | 65 (2.32 ประตูต่อนัด) |
ผู้ชม | 7,800 (279 คนต่อนัด) |
ผู้ทำประตูสูงสุด | ลิโอเนล เมสซิ ลุยส์ ดิอัซ (คนละ 4 ประตู) |
ผู้เล่นยอดเยี่ยม | ลิโอเนล เมสซิ |
ผู้รักษาประตูยอดเยี่ยม | เอมิเลียโน มาร์ติเนซ |
รางวัลแฟร์เพลย์ | บราซิล |
เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม ค.ศ. 2021 ประเทศโคลอมเบียถูกถอดออกจากการเป็นเจ้าภาพร่วม ท่ามกลางการประท้วงต่อประธานาธิบดี อิบัน ดูเก มาร์เกซ ที่กำลังดำเนินอยู่ ก่อนที่ในอีกสิบวันถัดมา อาร์เจนตินาก็ได้ถูกถอดออกเนื่องจากปัญหาการระบาดทั่วของโควิด-19 วันรุ่งขึ้น คอนเมบอลยืนยันว่าบราซิลเป็นเจ้าภาพการแข่งขัน
บราซิล ทีมเจ้าภาพ คือทีมแชมป์เก่าจากการแข่งขันครั้งล่าสุดในปี ค.ศ. 2019 ซึ่งเป็นสมัยที่ 9 ของพวกเขา, และบราซิลก็ได้ผ่านเข้ารอบชิงชนะเลิศอีกครั้งในปีนี้แต่ได้พ่ายแพ้ต่อ อาร์เจนตินา 1–0 จากการทำประตูของอังเฆล ดิ มาริอา ทำให้พวกเขาคว้าแชมป์โกปาอาเมริกาเป็นสมัยที่ 15 โดยสูงสุดเทียบเท่ากับอุรุกวัยและเป็นครั้งแรกในรอบ 28 ปี
ทีมชาติสมาชิกสิบทีมของคอนเมบอลจะเข้าร่วมการแข่งขัน โดยเริ่มต้นที่รอบแบ่งกลุ่มที่จะถูกแบ่งออกเป็นโซนเหนือและโซนใต้ตามภูมิศาสตร์[3]
ในเดือนมิถุนายน 2019 คอนเมบอลประกาศอย่างเป็นทางการว่า ออสเตรเลียและกาตาร์ตอบรับคำเชิญในการเข้าร่วมการแข่งขัน ซึ่งเป็นทีมชนะเลิศจากเอเชียนคัพสองครั้งที่แล้ว[4] โดยเป็นการลงเล่นครั้งแรกในโกปาอาเมริกาของทีมชาติออสเตรเลีย ในขณะที่กาตาร์เข้าร่วมการแข่งขันเป็นครั้งที่สองต่อจากปีที่แล้ว ก่อนที่ในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2021 สหพันธ์ฟุตบอลออสเตรเลียและสมาคมฟุตบอลกาตาร์ได้ประกาศถอนตัวจากการแข่งขัน เนื่องจากการแข่งขันฟุตบอลโลก 2022 รอบคัดเลือก รอบที่ 2 ในนัดที่เหลือ ได้ถูกเลื่อนมาแข่งขันในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2021 เช่นกัน[5][6] ทำให้โกปาอาเมริกาครั้งนี้เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ ค.ศ. 1991 ที่ไม่มีชาติรับเชิญร่วมแข่งขัน
|
|
|
ในวันที่ 1 มิถุนายน ค.ศ. 2021 รัฐบาลบราซิลและสมาพันธ์ฟุตบอลบราซิลได้ประกาศว่าการแข่งขันจะเกิดขึ้นในเมืองบราซีเลีย, โกยาเนีย, กูยาบา และรีโอเดจาเนโร[7] ณ สนามกีฬามารากานัง, สนามกีฬาแห่งชาติมาแน การิงชา, อาเรนาปังตานัล และสนามกีฬาโอลิมปิกเปดรู ลูโดวีกู เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน สมาพันธ์ฟุตบอลบราซิลได้ตัดสินใจใช้สนามกีฬาโอลิมปิกนิลตง ซังตุส ซึ่งเป็นสนามที่สองในรีโอเดจาเนโร[8] รัฐบาลจะจัดสรรทรัพยากรในงบประมาณของรัฐบาลกลางเพื่อให้การสนับสนุนที่จำเป็นสำหรับการขนส่งและความปลอดภัยของการแข่งขัน[9] โดยนัดแรกและพิธีเปิดจะเกิดขึ้น ณ สนามมาแน การิงชา ในวันอาทิตย์ที่ 13 มิถุนายน ค.ศ. 2021[8] และรอบชิงชนะเลิศจะเกิดขึ้นในวันที่ 10 กรกฎาคม ค.ศ. 2021 ณ สนามมารากานัง[10]
ถึงแม้ว่ารอบแบ่งกลุ่มจะได้รับการแบ่งออกเป็นโซนเหนือและโซนใต้ตามทำเลที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ตามประกาศของคอนเมบอลในวันที่ 9 เมษายน ค.ศ. 2019 อยู่แล้ว[11] แต่การจับสลากรอบแบ่งกลุ่มก็ยังคงเกิดขึ้นในวันที่ 3 ธันวาคม ค.ศ. 2019 ตามเวลาในประเทศโคลอมเบีย (UTC−5) ในการ์ตาเฮนา ประเทศโคลอมเบีย[12] เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2564 บราซิลได้รับการจัดสรรให้อยู่ในตำแหน่ง B1 แทนที่ของโคลอมเบียหลังจากได้รับการเป็นเจ้าภาพ หลังจากแก้ไขปฏิทินการแข่งขัน[13]
โดยตำแหน่งของทีมภายในกลุ่มมีดังนี้:
นัดที่ | วันที่ |
---|---|
นัดที่ 1 | 13–14 มิถุนายน ค.ศ. 2021 |
นัดที่ 2 | 17–18 มิถุนายน ค.ศ. 2021 |
นัดที่ 3 | 20–21 มิถุนายน ค.ศ. 2021 |
นัดที่ 4 | 23–24 มิถุนายน ค.ศ. 2021 |
นัดที่ 5 | 27–28 มิถุนายน ค.ศ. 2021 |
แต่ละทีมต้องส่งรายชื่อผู้เล่น 28 คน (ขยายจากเดิม 23 คน) โดยสามคนต้องเป็นผู้รักษาประตู[14]
คอนเมบอลได้ประกาศรายชื่อผู้ตัดสินรวม 14 คน ผู้ช่วยผู้ตัดสิน 22 คน ผู้ช่วยผู้ตัดสินวิดีโอ 16 คน และผู้สนับสนุนผู้ตัดสินอีก 10 คน เมื่อวันที่ 21 เมษายน ค.ศ. 2021[15][16]
สมาคม | ผู้ตัดสิน | ผู้ช่วยผู้ตัดสิน | ผู้ช่วยผู้ตัดสินวิดีโอ | ผู้สนับสนุนผู้ตัดสิน | ผู้สนับสนุนผู้ช่วยผู้ตัดสิน |
---|---|---|---|---|---|
อาร์เจนตินา | เนสตอร์ ปิตานา ปาตริซิโอ ลุสโต |
เอเซกิเอล ไบรลอบส์กิ กาบริเอล ชาเด |
เมาโร บิเกลียโน ฟากุนโด เตโย |
กริสเตียน นาบาร์โร | |
โบลิเวีย | เกริ บาร์กัส | โฆเซ อันเตโล เอดวาร์ ซาอาเบดรา |
อาริเอล กิซาดา | ||
บราซิล | วิลตง ซัมไปยู ราฟาแอล เกลาส์ |
ดานีลู มานิส บรูนู ปีริส |
วักเนร์ รีไว ราฟาแอล ตราซี |
ราฟาแอล อัลวีส | |
ชิลี | โรเบร์โต โตบาร์ | กริสเตียน ชิเอมัน เกลาดิโอ ริโอส |
ฆูลิโอ บัสกุญญัน กริสเตียน กาไร |
อังเฆโล เอร์โมซิยา | |
โคลอมเบีย | วิลมาร์ โรลดัน อันเดรส โรฮัส |
อาเลกซันเดร์ กุซมัน ยอน อาเลกซันเดร์ เลออน |
ยอน โอสปินา | เซบัสเตียน เบลา | |
เอกวาดอร์ | กิเยร์โม เกร์เรโร | กริสเตียน เลสกาโน ไบรอน โรเมโร |
ออกุสโต อารากอน | ||
ปารากวัย | เอเบร์ อากิโน | เอดัวร์โด การ์โดโซ มิลเซียเดส ซัลดิบาร์ |
เดร์ลิส โลเปซ ฆวน กาบริเอล เบนิเตซ |
โฆเซ กูเอบัส | |
เปรู | บิกตอร์ อูโก การ์ริโย | โยนิ โบซิโอ ราอุล โลเปซ กรุซ |
ดิเอโก อาโร | เกบิน ออร์เตกา | |
สเปน | เฆซุส ฆิล มันซาโน | ดิเอโก บาร์เบโร เซบิยา อังเฆล เนบาโด โรดริเก |
ริการ์โด เด บูร์โกส เบงโกเอตเชอา โฆเซ ลุยส์ มูนูเอรา มอนเตโร |
||
อุรุกวัย | เอสเตบัน ออสโตยิช เลโอดัน กอนซาเลซ |
การ์โลส บาร์เรย์โร มาร์ติน โซปิ |
อันเดรส กุญญา ดานิเอล เฟดอร์ซุก |
อันเดรส มาตอนเต | |
เวเนซุเอลา | อาเลกซิส เอร์เรรา | การ์โลส โลเปซ ฮอร์เฮ อูร์เรโก |
เฮซุส บาเลนซูเอลา ฮวน โซโต |
อัลเบร์โต ปอนเต |
การจัดสรรทีมของชาติสมาชิกคอนเมบอล ประกาศเมื่อวันที่ 9 เมษายน 2019[17] โซนทั้งสองสำหรับออสเตรเลียและกาตาร์ซึ่งได้รับเชิญจะมีการจัดสรรภายหลัง ผ่านการจับฉลาก[4]
ทีมสี่อันดับแรกของแต่ละกลุ่มจะได้ผ่านเข้าสู่รอบก่อนรองชนะเลิศ
อันดับ | ทีม | เล่น | ชนะ | เสมอ | แพ้ | ได้ | เสีย | ต่าง | คะแนน | การผ่านเข้ารอบ |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | อาร์เจนตินา | 4 | 3 | 1 | 0 | 7 | 2 | +5 | 10 | ผ่านเข้าสู่รอบแพ้คัดออก |
2 | อุรุกวัย | 4 | 2 | 1 | 1 | 4 | 2 | +2 | 7 | |
3 | ปารากวัย | 4 | 2 | 0 | 2 | 5 | 3 | +2 | 6 | |
4 | ชิลี | 4 | 1 | 2 | 1 | 3 | 4 | −1 | 5 | |
5 | โบลิเวีย | 4 | 0 | 0 | 4 | 2 | 10 | −8 | 0 |
อาร์เจนตินา | 1–1 | ชิลี |
---|---|---|
เมสซิ 33' | รายงาน | บาร์กัส 57' |
อาร์เจนตินา | 1–0 | ปารากวัย |
---|---|---|
โกเมซ 10' | รายงาน |
โบลิเวีย | 1–4 | อาร์เจนตินา |
---|---|---|
ซาอาเบดรา 60' | รายงาน | โกเมซ 6' เมสซิ 33' (ลูกโทษ), 42' ลา. มาร์ติเนซ 65' |
อันดับ | ทีม | เล่น | ชนะ | เสมอ | แพ้ | ได้ | เสีย | ต่าง | คะแนน | การผ่านเข้ารอบ |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | บราซิล (H) | 4 | 3 | 1 | 0 | 10 | 2 | +8 | 10 | ผ่านเข้าสู่รอบแพ้คัดออก |
2 | เปรู | 4 | 2 | 1 | 1 | 5 | 7 | −2 | 7 | |
3 | โคลอมเบีย | 4 | 1 | 1 | 2 | 3 | 4 | −1 | 4 | |
4 | เอกวาดอร์ | 4 | 0 | 3 | 1 | 5 | 6 | −1 | 3 | |
5 | เวเนซุเอลา | 4 | 0 | 2 | 2 | 2 | 6 | −4 | 2 |
บราซิล | 3–0 | เวเนซุเอลา |
---|---|---|
มาร์กิญญุส 23' เนย์มาร์ 64' (ลูกโทษ) บาร์บอซา 89' |
รายงาน |
เวเนซุเอลา | 2–2 | เอกวาดอร์ |
---|---|---|
กัสติโย 51' เอร์นันเดซ 90+1' |
รายงาน | ไอ. เปรเซียโด 39' ปลาตา 71' |
เวเนซุเอลา | 0–1 | เปรู |
---|---|---|
รายงาน | การ์ริโย 48' |
รอบก่อนรองชนะเลิศ | รอบรองชนะเลิศ | รอบชิงชนะเลิศ | ||||||||
3 กรกฎาคม – บราซีเลีย | ||||||||||
อาร์เจนตินา | 3 | |||||||||
6 กรกฎาคม – บราซีเลีย | ||||||||||
เอกวาดอร์ | 0 | |||||||||
อาร์เจนตินา (ลูกโทษ) | 1 (3) | |||||||||
3 กรกฎาคม – โกยาเนีย | ||||||||||
โคลอมเบีย | 1 (2) | |||||||||
อุรุกวัย | 0 (2) | |||||||||
10 กรกฎาคม – รีโอเดจาเนโร (มารากานัง) | ||||||||||
โคลอมเบีย (ลูกโทษ) | 0 (4) | |||||||||
อาร์เจนตินา | 1 | |||||||||
2 กรกฎาคม – รีโอเดจาเนโร (นิลตง ซังตุส) | ||||||||||
บราซิล | 0 | |||||||||
บราซิล | 1 | |||||||||
5 กรกฎาคม – รีโอเดจาเนโร (นิลตง ซังตุส) | ||||||||||
ชิลี | 0 | |||||||||
บราซิล | 1 | |||||||||
2 กรกฎาคม – โกยาเนีย | ||||||||||
เปรู | 0 | รอบชิงอันดับที่สาม | ||||||||
เปรู (ลูกโทษ) | 3 (4) | |||||||||
9 กรกฎาคม – บราซีเลีย | ||||||||||
ปารากวัย | 3 (3) | |||||||||
โคลอมเบีย | 3 | |||||||||
เปรู | 2 | |||||||||
อาร์เจนตินา | 3–0 | เอกวาดอร์ |
---|---|---|
เด โปล 40' ลา. มาร์ติเนซ 84' เมสซิ 90+3' |
รายงาน |
อาร์เจนตินา | 1–1 | โคลอมเบีย |
---|---|---|
ลา. มาร์ติเนซ 7' | รายงาน | ดิอัซ 61' |
ลูกโทษ | ||
เมสซิ เด โปล ปาเรเดส ลา. มาร์ติเนซ |
3–2 | กัวดราโด ซันเชซ มินา บอร์ฮา การ์โดนา |
มีการทำประตู 65 ประตู จากการแข่งขัน 28 นัด เฉลี่ย 2.32 ประตูต่อนัด
การทำประตู 4 ครั้ง
การทำประตู 3 ครั้ง
การทำประตู 2 ครั้ง
การทำประตู 1 ครั้ง
การทำเข้าประตูตัวเอง 1 ครั้ง
ตามแบบแผนทางสถิติในฟุตบอล, การแข่งขันที่ตัดสินในช่วงต่อเวลาจะถูกนับเป็นชัยชนะและการแพ้ด้วยการดวลลูกโทษจะนับเป็นเสมอ
อันดับ | ทีม | เล่น | ชนะ | เสมอ | แพ้ | ได้ | เสีย | ต่าง | คะแนน | ผลงานในรอบสุดท้าย |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | อาร์เจนตินา | 7 | 5 | 2 | 0 | 12 | 3 | +9 | 17 | ชนะเลิศ |
2 | บราซิล | 7 | 5 | 1 | 1 | 12 | 3 | +9 | 16 | รองชนะเลิศ |
3 | โคลอมเบีย | 7 | 2 | 3 | 2 | 7 | 7 | 0 | 9 | อันดับที่สาม |
4 | เปรู | 7 | 2 | 2 | 3 | 10 | 14 | −4 | 8 | อันดับที่สี่ |
5 | อุรุกวัย | 5 | 2 | 2 | 1 | 4 | 2 | +2 | 8 | ตกรอบใน รอบก่อนรองชนะเลิศ |
6 | ปารากวัย | 5 | 2 | 1 | 2 | 8 | 6 | +2 | 7 | |
7 | ชิลี | 5 | 1 | 2 | 2 | 3 | 5 | −2 | 5 | |
8 | เอกวาดอร์ | 5 | 0 | 3 | 2 | 5 | 9 | −4 | 3 | |
9 | เวเนซุเอลา | 4 | 0 | 2 | 2 | 2 | 6 | −4 | 2 | ตกรอบใน รอบแบ่งกลุ่ม |
10 | โบลิเวีย | 4 | 0 | 0 | 4 | 2 | 10 | −8 | 0 |
ผู้รักษาประตู | กองหลัง | กองกลาง | กองหน้า |
---|---|---|---|
เมาริซิโอ อิสลา |
โรดริโก เด โปล |
ลิโอเนล เมสซิ |
ประเทศ | สถานีการออกอากาศ | อ้างอิง |
---|---|---|
อาร์เจนตินา |
|
[18][19] |
โบลิเวีย |
|
[20][21] |
บราซิล |
|
[22][23] |
ชิลี |
|
[24][25][19] |
โคลอมเบีย |
|
[26][27][19][28] |
เอกวาดอร์ |
|
[29][19] |
ปารากวัย |
|
[30][19] |
เปรู |
|
[31][19] |
อุรุกวัย |
|
[32][19] |
เวเนซุเอลา |
|
[30] |
ประเทศ | สถานีการออกอากาศ | อ้างอิง |
---|---|---|
แอลเบเนีย | DigitAlb | [30] |
ออสเตรเลีย | Optus Sport | [33] |
บอลข่าน | Arena Sport | [30] |
แคนาดา |
|
[34][35][36] |
แคริบเบียน |
|
[30] |
อเมริกากลาง | Tigo Sports | [30] |
จีน | [37][38][39] | |
คิวบา | Tele Rebelde | [40] |
คอสตาริกา |
|
[30] |
ไซปรัส | PrimeTel | [41] |
เช็กเกีย | Digi Sport | [30] |
สาธารณรัฐโดมินิกัน | CDN 37 | [30] |
ฝรั่งเศส | L'Équipe | [42] |
จอร์เจีย | Adjarasport | [30] |
เยอรมนี |
|
[43] |
กรีซ | Open TV | [44] |
เฮติ | TNH | [30] |
ฮอนดูรัส |
|
[30] |
ฮ่องกง | i-Cable | [45] |
ฮังการี | ARENA4 | [30] |
อินโดนีเซีย |
|
[46] |
อิตาลี |
|
[47][48] |
อนุทวีปอินเดีย | Sony Pictures Networks | [49] |
อิสราเอล | Charlton | [30] |
ญี่ปุ่น | AbemaTV | [50] |
คาซัคสถาน | Qazsport | [30] |
มัลดีฟส์ |
|
[30] |
MENA | beIN Sports | [51] |
เม็กซิโก |
|
[52][53] |
เนปาล | DishHome | [54] |
เนเธอร์แลนด์ | Ziggo Sport | [30] |
นิวซีแลนด์ | Spark | [55] |
กลุ่มนอร์ดิก | NENT | [56] |
ปานามา |
|
[30] |
โปแลนด์ | TVP | [57] |
โปรตุเกส | Sport TV | [30] |
รัสเซีย |
|
[58][30] |
สิงคโปร์ | StarHub | [30] |
สโลวาเกีย | Digi Sport | [30] |
เกาหลีใต้ | SPOTV | [59] |
สเปน |
|
[60][61][62] |
ศรีลังกา | Dialog TV | [30] |
แอฟริกาใต้สะฮารา | Canal+ | [63] |
ซูรินาเม | SCCN | [30] |
ทาจิกิสถาน | TV Varzish | [30] |
ไทย | พีพีทีวี | [64] |
ตุรกี | Haber Global | [30] |
ยูเครน | MEGOGO | [30] |
สหราชอาณาจักร | BBC | [65] |
สหรัฐ |
|
[66][67] |
เวียดนาม | Next Media | [68] |
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.