Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เส้นดูรันด์ (อังกฤษ: Durand Line; ปาทาน: د ډیورنډ کرښه; อูรดู: ڈیورنڈ لائن) หมายถึง เขตแดนระหว่างประเทศระหว่างปากีสถานกับอัฟกานิสถาน ซึ่งแบ่งแยกเชื้อชาติปาทาน (ชาวอัฟกานิสถาน) เส้นที่ทำเครื่องหมายอย่างเลวนี้ยาวประมาณ 2,640 กิโลเมตร เส้นดังกล่าวถูกจัดทำขึ้นหลังความตกลงเส้นดูรันด์ ค.ศ. 1893 ระหว่างผู้แทนอาณานิคมบริติชอินเดียและอาเมียร์แห่งอัฟกานิสถาน อับดุร์ เราะห์มาน ข่าน เพื่อกำหนดเขตอิทธิพลของแต่ละฝ่ายให้แน่นอน เส้นดูรันด์ตั้งตามชื่อเฮนรี มอร์ติเมอร์ ดูรันด์ รัฐมนตรีต่างประเทศบริติชอินเดียในเวลานั้น ความตกลงหน้าเดียวซึ่งประกอบด้วยเนื้อหาสั้น ๆ เจ็ดข้อ ลงนามโดย เอช. เอ็ม. ดูรันด์ และอับดุร์ เราะห์มาน ข่าน ตกลงว่าจะไม่แทรกแซงข้ามแนวเขตแดนระหว่างอัฟกานิสถานและดินแดนที่เป็นอาณานิคมบริติชอินเดียในเวลานั้น (ปัจจุบันคือ ปากีสถาน)[1]
เส้นดูรันด์ | |
---|---|
แผนที่แสดงเส้นดูรันด์ในเส้นสีแดง | |
ข้อมูลจำเพาะ | |
พรมแดนระหว่าง | อัฟกานิสถาน ปากีสถาน |
ความยาว | 2,670 km (1,660 mi) |
ประวัติ | |
มีผลตั้งแต่ | 12 พฤศจิกายน ค.ศ. 1893 การลงนามข้อตกลงเส้นดูรันด์ตอนจบช่วงแรกของสงครามอังกฤษ-อัฟกานิสถานครั้งที่สอง |
พรมแดนปัจจุบัน | 8 สิงหาคม ค.ศ. 1919 การให้สัตยาบันสนธิสัญญาอังกฤษ-อัฟกานิสถาน ค.ศ. 1919 เป็นการสิ้นสุดสงครามอังกฤษ-อัฟกานิสถานครั้งที่สาม |
สนธิสัญญา | สนธิสัญญากันดามัก, ข้อตกลงเส้นดูรันด์, สนธิสัญญาอังกฤษ-อัฟกานิสถาน ค.ศ. 1919 |
การสำรวจปักปันเขตแดนร่วมระหว่างอังกฤษ-อัฟกานิสถานเริ่มตั้งแต่ ค.ศ. 1894 ครอบคลุมเขตแดนยาว 800 เมตร[2][3] เส้นดูรันด์อันเป็นผลนั้น ได้จัดตั้งเขตกันชนของเกมอันยิ่งใหญ่ระหว่างผลประโยชน์ของอังกฤษและรัสเซียในภูมิภาค[4] ชายแดนที่ทำเครื่องหมายอย่างเลวนี้ตัดผ่านพื้นที่เผ่าพัซตุน แบ่งแยกเชื้อชาติพัซตุนทั้งสองฟากของชายแดนและตั้งอยู่ในสถานที่ซึ่งอธิบายว่าเป็น หนึ่งในสถานที่อันตรายที่สุดในโลก[5][6] แม้จะแสดงในแผนที่ส่วนใหญ่เป็นเขตแดนระหว่างประเทศด้านตะวันตกของปากีสถาน แต่อัฟกานิสถานไม่ยอมรับ[7][8][9][10][11]
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.