Loading AI tools
สปีชีส์ของเสือ จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เสือโคร่งสุมาตรา (อังกฤษ: Sumatran tiger) ้เป็นประชากรเสือโคร่งชวาในเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย[2][3] ถือเป็นประชากรเสือชนิดเดียวที่เหลือรอดในหมู่เกาะซุนดา ส่วนเสือโคร่งบาหลีและเสือโคร่งชวานั้นสูญพันธุ์แล้ว[4]
เสือโคร่งสุมาตรา | |
---|---|
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Mammalia |
อันดับ: | Carnivora |
วงศ์: | Felidae |
สกุล: | Panthera |
สปีชีส์: | P. tigris |
สปีชีส์ย่อย: | P. t. sumatrae |
Trinomial name | |
Panthera tigris sumatrae (Pocock, 1929) | |
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์ของเสือโคร่งสุมาตรา | |
ชื่อพ้อง | |
|
การวิเคราะห์ลำดับจากดีเอ็นเอของไมโทคอนเดรียที่สมบูรณ์ของเสือโคร่ง 34 ตัว สนับสนุนสมมติฐานที่ว่าเสือโคร่งสุมาตรามีความแตกต่างในการจำแนะชนิดย่อยออกจากเสือโคร่งบนทวีปเอเชียแผ่นดินใหญ่[5] ใน ค.ศ. 2017 คณะทำงานผู้เชี่ยวชาญจำแนกสัตว์ประเภทแมวได้แก้ไขอนุกรมวิธานโดยระบุให้ประชากรเสือโคร่งที่มีชีวิตและสูญพันธุ์ทั้งหมดในประเทศอินโดนีเซียเป็น P. t. sondaica[2]
Felis tigris sondaicus เป็นชื่อวิทยาศาสตร์ที่เสนอโดย Coenraad Jacob Temminck สำหรับตัวอย่างเสือโคร่งจากเกาะชวาใน ค.ศ. 1844[6]
Panthera tigris sumatrae ได้รับการเสนอจากเรจินัลด์ อินเนส โพค็อกใน ค.ศ. 1929 ซึ่งระบุผิวหนังและหัวกะโหลกของตัวอย่างเสือโคร่งจากเกาะสุมาตรา[7] กะโหลกกับลวดลายของตัวอย่างชนิดเสือโคร่งจากเกาะชวาและสุมาตราไม่มีความแตกต่างอย่างเห็นได้ชัด[8][9] ดังนั้น P. t. sondaica จึงเป็นชื่อตามกฎของประชากรเสือโคร่งทั้งที่มีชีวิตและสูญพันธุ์ในประเทศอินโดนีเซีย[2]
เสือโคร่งสุมาตราที่มีกะโหลกและลวดลายต่างจากตัวอย่างชนิดเสือโคร่งเบงกอลและเสือโคร่งชวา มันมีสีผิวเข้มกว่าและมีลายกว้างกว่าเสือโคร่งชวา[7] ลายมักหายไปในบริเวณใกล้ส่วนท้าย และบนหลัง waist และขาหลังมีเส้นที่เล็ก จุดดำมืดบริเวณระหว่างลายทั่วไป[10][8] ลายบนเสือโคร่งชนิดนี้พบถี่กว่าชนิดย่อยอื่น ๆ[11]
เสือโคร่งสุมาตราเป้นหนึ่งในเสือโคร่งขนาดเล็ก โดยเพศผู้วัดความยาวระหว่างหัวถึงตัวที่ 2.2 ถึง 2.55 เมตร (87 ถึง 100 นิ้ว) กับกะโหลกที่ใหญ่สุดที่ 295 ถึง 335 มิลลิเมตร (11.6 ถึง 13.2 นิ้ว) และหนัก 100 ถึง 140 กิโลกรัม (220 ถึง 310 ปอนด์) ส่วนเพศเมียหนัก 75 ถึง 110 กิโลกรัม (165 ถึง 243 ปอนด์) และมีความยาว 2.15 ถึง 2.30 เมตร (85 ถึง 91 นิ้ว) กับกะโหลกใหญ่สุดที่ 263 ถึง 294 มิลลิเมตร (10.4 ถึง 11.6 นิ้ว)[10]
เสือโคร่งสุมาตรา มีถิ่นกระจายพันธุ์อยู่เฉพาะเกาะสุมาตรา ในประเทศอินโดนีเซียเท่านั้น อาศัยอยู่ในป่าดิบชื้นของเกาะสุมาตรา ล่าสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเป็นอาหาร เช่น หมูป่า, เก้ง, กวาง, สมเสร็จ หรือแม้กระทั่งลิงอุรังอุตัง รวมถึงมนุษย์ด้วย[12]
ปัจจุบัน เสือโคร่งสุมาตรานับได้ว่าเป็นเสือโคร่งเพียงสายพันธุ์เดียวที่สามารถพบได้ในประเทศอินโดนีเซีย เนื่องจาก เสือโคร่งชวา (P. t. sondaica) และ เสือโคร่งบาหลี (P. t. balica) ที่เคยเป็นสายพันธุ์ที่เล็กที่สุดมาก่อน ได้สูญพันธุ์ไปก่อนหน้านี้นานแล้ว
สถานะของเสือโคร่งสุมาตราในธรรมชาติก็นับว่าใกล้สูญพันธุ์อย่างวิกฤตแล้ว โดยคาดว่ามีจำนวนราว 400-450 ตัว เท่านั้น[13]โดยสถานที่ ๆ พบมากที่สุด คือ อุทยานแห่งชาติเครินซีเซบลัท ที่อยู่ทางตะวันตกของเกาะ มีประมาณ 160 ตัว นับว่าเป็นครึ่งหนึ่งของประชากรเสือโคร่งสุมาตราทั้งหมด โดยสาเหตุสำคัญที่ทำให้เสือโคร่งสุมาตราใกล้สูญพันธุ์ คือ การล่าเพื่อเอาอวัยวะต่าง ๆ ไปทำเป็นยาตามความเชื่อ โดยพรานผู้ล่าจะล่าโดยการใช้กับดักเป็นบ่วงรัดเท้า ซึ่งจะทำให้เกิดบาดแผลฉกรรจ์ อาจบาดลึกเข้าไปถึงกระดูก และตัดข้อเท้าของเสือโคร่งสุมาตราให้ขาดได้เลย [14]
สวนสัตว์ในประเทศต่าง ๆ ที่มีเสือโคร่งสุมาตราในครอบครองก็ได้แก่ สวนสัตว์ซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย และสวนเสือตระการ ที่อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี ประเทศไทย[15] แต่เสือโคร่งสุมาตราในสวนสัตว์ มีเพียงน้อยรายที่จะอยู่รอดตั้งแต่เล็กจนโตเต็มวัยได้ [16]
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.