เรืองไกร ลีกิจวัฒนะ
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เรืองไกร ลีกิจวัฒนะ (เกิด 26 สิงหาคม พ.ศ. 2504) เป็นนักการเมืองชาวไทย เป็นสมาชิกพรรคพลังประชารัฐ อดีตสมาชิกวุฒิสภา ด้วยการสรรหา ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
เรืองไกร ลีกิจวัฒนะ | |
---|---|
เรืองไกร ใน พ.ศ. 2562 | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 26 สิงหาคม พ.ศ. 2504 อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์ ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | เพื่อไทย (255?–2561) ไทยรักษาชาติ (2561–2562) พลังประชารัฐ (2564–2565, 2565–ปัจจุบัน) |
คู่สมรส | อโนทัย ลีกิจวัฒนะ |
บุตร | 2 คน |
เรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ที่อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นบุตรของนายสุขุม และนางจารุวรรณ ลีกิจวัฒนะ จบการศึกษามัธยมจากโรงเรียนบุรีรัมย์พิทยาคม ปริญญาตรีบริหารธุรกิจ(บัญชี) มหาวิทยาลัยรามคำแหง ปริญญาโทบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ชีวิตครอบครัวสมรสกับนางอโนทัย ลีกิจวัฒนะ มีบุตร 2 คน
เรืองไกรเป็นที่รู้จักเป็นครั้งแรกของสังคมด้วยการปรากฏเป็นข่าวในต้นปี พ.ศ. 2549 ว่า กรมสรรพากรได้คืนเช็คให้แก่นายเรืองไกร แต่นายเรืองไกรไม่ได้ไปขึ้นเงิน เพราะเป็นกรณีเปรียบเทียบกับกรณีที่กรณีตระกูลชินวัตรและดามาพงศ์ขายหุ้นกลุ่มบริษัทชินคอร์ปได้ ซึ่งนายเรืองไกร ซื้อหุ้นบริษัท ทางด่วนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ต่อจากบิดาในราคา 10 บาท จากราคาตลาด 21 บาท ต้องเสียภาษี แต่กรณีของตระกูลชินวัตรและดามาพงศ์กลับไม่ต้องเสียภาษี และนายเรืองไกรยังได้ยื่นฟ้องร้องเรื่องการที่กรมสรรพากรกระทำการนี้ด้วยสองมาตรฐานอีกด้วย
จากกรณีนี้ทางฝ่ายพรรคไทยรักไทยและกลุ่มผู้สนับสนุน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ได้กล่าวหาว่า นายเรืองไกรมีความสนิทสนมกับคุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา อดีตผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน ซึ่งฝ่ายที่สนับสนุน พ.ต.ท.ทักษิณ ถือว่าเป็นบุคคลที่อยู่ตรงข้ามกับฝ่ายตน
หลังจากนั้น นายเรืองไกรได้สมัครลงเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภากรุงเทพมหานคร ในวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2549 โดยได้หมายเลข 222 แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง
นายเรืองไกรได้รับคัดเลือกให้เป็นสมาชิกวุฒิสภาในแบบสรรหา เมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2551 ซึ่งนายเรืองไกรจัดอยู่ในกลุ่ม 40 สว.
หลังจากนั้น ชื่อของนายเรืองไกรปรากฏเป็นข่าวอีกในเดือนพฤษภาคม ว่าได้ยื่นฟ้องร้อง นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ว่าการจัดรายการโทรทัศน์ชิมไป บ่นไป ทางช่อง 3 เป็นการผิดรัฐธรรมนูญมาตรา 267 ในเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อน หรือไม่ ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญก็ได้ตัดสินให้นายสมัครพ้นจากตำแหน่ง
แต่ในกลางเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 นายเรืองไกรที่เคยมีท่าทีว่าเป็นผู้ตรวจสอบ พ.ต.ท.ทักษิณ และพรรคพวกมาโดยตลอด กลับไปร่วมเสวนากับทางกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) หลายต่อหลายครั้ง โดยเริ่มจากการเสวนาของกลุ่มกรุงเทพ 50 ที่โรงแรมมิราเคิลแกรนด์ จนถูกตั้งข้อสงสัยถึงเรื่องจุดยืน[1][2] นายเรืองไกรเป็นสมาชิกพรรคเพื่อไทย [3] และในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 41[4]ภายหลังรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 คณะรักษาความสงบแห่งชาติออกคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 42/2557 เรียกเขาให้ไปรายงานตัว ณ ห้องจามจุรี สโมสรทหารบก เทเวศร์[5]เขาถูกทหารควบคุมตัวอีกครั้งในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2558 และออกจากมณฑลทหารบกที่ 11 ในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2558[6]ในวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2560 ศาลมีคำสั่งรับฟ้องคดีหมายเลขดำ อ.812/2559 ที่นายวัชระ เพชรทอง อดีต ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ เป็นโจทก์ ยื่นฟ้องเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ สมาชิกพรรคเพื่อไทย และอดีต ส.ว. กับธาริต เพ็งดิษฐ์ อดีตอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) เป็นจำเลยที่ 1-2 ในความผิดฐานแจ้งความเท็จ ให้พนักงานจดแจ้งข้อความอันเป็นเท็จ และหมิ่นประมาท
ในปี พ.ศ. 2561 เขาสมัครเป็นสมาชิกพรรคไทยรักษาชาติ และต่อมาหลังการเลือกตั้ง พ.ศ. 2562 เขาได้รับการแต่งตั้งเป็น เลขานุการคณะกรรมาธิการ ในปี พ.ศ. 2564 เขาสมัครเป็นสมาชิกพรรคพลังประชารัฐ[7] ต่อมา มกราคม พ.ศ. 2565 เขาได้ลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคพลังประชารัฐสืบเนื่องมาจากพรรคถอนออกจากร่วมรัฐบาล [8] และ กลับเข้ามาสมัครเป็นสมาชิกใหม่อีกรอบเมื่อ ธันวาคม พ.ศ. 2565[9]
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.