Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เราเกิดในรัชกาลที่ ๙ เดอะซีรีส์ เป็นละครพิเศษเพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ผลิตโดย บริษัท เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด ออกอากาศทางช่องวัน 31 ในช่วงไว้อาลัยการสวรรคตของพระองค์
เราเกิดในรัชกาลที่ ๙ เดอะซีรีส์ | |
---|---|
ประเภท | ละครชุด (ซีรีส์) |
สร้างโดย | บริษัท เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด |
กำกับโดย | นิพนธ์ ผิวเณร ผอูน จันทรศิริ สันต์ ศรีแก้วหล่อ จิรศักดิ์ โย้จิ้ว กิตติ เชี่ยววงศ์กุล พงษ์ศักดิ์ ฉิมเจริญ เสกสรรค์ สิงอุไร วรวิทย์ ขัตติยโยธิน บรรเจิด พุทธโศภิษฐ์ วรฐ คงคาลัย ธนวัจน์ ปัญญารินทร์ จาริวัฒน์ อุปการไชยพัฒน์ การันย์ คุ้มอนุวงศ์ พันธุ์ธัมม์ ทองสังข์ |
จำนวนตอน | 4 ตอน |
การผลิต | |
ผู้อำนวยการสร้าง | ถกลเกียรติ วีรวรรณ นิพนธ์ ผิวเณร |
ความยาวตอน | 1 ชั่วโมง 20 นาที |
ออกอากาศ | |
เครือข่าย | ช่องวัน 31 ไลน์ทีวี |
ออกอากาศ | 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 – 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 |
ละครชุดนี้ได้ถูกนำทำเป็นละครโทรทัศน์ เพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ได้จัดทำละครพิเศษ “เราเกิดในรัชกาลที่ ๙ เดอะซีรีส์” ซึ่งจะออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ช่องวัน 31 ในเดือนพฤศจิกายน ปี พ.ศ. 2559[1] โดยเป็นการถ่ายทอดพระราชดำรัสที่ทรงวางแนวทางการดำเนินชีวิต ไว้ให้กับเหล่า พสกนิกรชาวไทย รวมถึงเล่าเหตุการณ์ย้อนกลับไปในวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559 วันที่คนไทยทั้งประเทศต้องโศกเศร้ากับการสูญเสียครั้งใหญ่ในชีวิต จนถึงวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2559 ที่เหล่าพสกนิกรชาวไทยต่างพร้อมใจกันโดยเฉพาะเพื่อร่วมร้องเพลงสรรเสริญพระบารมี ณ ท้องสนามหลวง กรุงเทพมหานคร
ละครชุด เราเกิดในรัชกาลที่ ๙ เดอะซีรีส์ ผลิตโดย บริษัท เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด ออกอากาศทางช่องวัน 31 ในวันจันทร์-พฤหัสบดี เวลา 20:30 - 21:50 น. ตั้งแต่วันที่ 14 พฤศจิกายน - 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559[2] และอัปโหลดให้รับชมย้อนหลังผ่านทาง ยูทูบ ช่อง one31 และ ไลน์ทีวี และทางสถานีได้นำซีรีส์เรื่องนี้กลับมาออกอากาศอีกครั้ง ทุกคืนวันอาทิตย์ เวลา 20:50 - 22:00 น. ทางช่องวัน 31 โดยออกอากาศซ้ำตั้งแต่วันที่ 20 พฤศจิกายน- 11 ธันวาคม พ.ศ. 2559 และสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ได้นำซีรีส์เรื่องนี้มาออกอากาศซ้ำต่อเนื่อง วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2559 - 8 ธันวาคม พ.ศ. 2559 เวลา 20:30 น. และในช่วงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2560 ช่องวัน 31 ได้นำละครซีรีส์ชุดพิเศษเรื่องนี้กลับมารีรันใหม่อีกครั้ง เพื่อแสดงความอาลัยในช่วงพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ โดยร่วมมือกับคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดทำเสียงบรรยายภาพ หรือ Audio Description (AD) สำหรับผู้พิการทางสายตา เพื่อสามารถรับชมได้อย่างทั่วถึงและเท่าเทียบกันมากขึ้น
ปี | พ.ศ. 2559 |
---|---|
ชื่อตอน | เด็กแว้น |
สถานีออกอากาศ | ช่องวัน 31 |
ผู้สร้าง | บริษัท เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด |
บทโทรทัศน์ | กิตติ เชี่ยววงศ์กุล, ทีมเขียนบทซิทคอมช่องวัน |
ผู้กำกับการแสดง | กิตติ เชี่ยววงศ์กุล, จิรศักดิ์ โย้จิ้ว, พงษ์ศักดิ์ ฉิมเจริญ, เสกสรรค์ สิงอุไร |
เก่ง บางคูวัด (เก่ง) | ภาคิน คำวิลัยศักดิ์ |
อิง | เรวิญานันท์ ทาเกิด |
แฟนของอิง | กฤษกร กนกธร |
เด็กแว๊น | ณัฏฐพงษ์ ชาติพงษ์ |
แฟนเด็กแว๊น | บุษกร ตันติภนา |
พระ | รอง เค้ามูลคดี |
คนใส่บาตรพระ | ปิยะมาศ โมนยะกุล |
พ่อของอิง | สถาพร นาควิไลโรจน์ |
แม่ของอิง | มยุริญ ผ่องผุดพันธ์ |
ผู้กองมานะ | ปฏิภาณ ปฐวีกานต์ |
หมวดรัน | บุตรศรัณย์ ทองชิว |
หมวดหมู | รณวีร์ เสรีรัตน์ |
จ่ายอด | ไจแอนท์ เชิญยิ้ม |
อาวุธ | สุเทพ สีใส |
จี๊ด | สายทอง ไทยยิ่ง |
เพื่อนของเก่ง | วง The Dust |
แมน (รุ่นน้องของเก่ง) | ภรภัทร ศรีขจรเดชา |
เก่ง เด็กเกเรที่ไม่ยอมเรียนหนังสือต่อหลังจบ ม.6 แต่กลับใช้เวลาในแต่ละวันไปกับการแต่งรถ และแข่งมอเตอร์ไซค์ เก่งแอบหลงรัก อิง เพื่อนสาวที่รู้จักกันมาตั้งแต่เด็ก อิงเป็นคนยึดมั่นในคำสอนของในหลวง รัชกาลที่ ๙ และมีพระองค์ท่านเป็นแรงบันดาลใจในการเป็นนักคิด นักพัฒนา ทำให้เก่งคนที่ไม่เอาถ่านคิดได้และไปสมัครเรียนต่อ แต่วันหนึ่งกลับมีเหตุการณ์ที่ทำให้อิงต้องติดคุก
ปี | พ.ศ. 2559 |
---|---|
ชื่อตอน | ครูจันทนา |
สถานีออกอากาศ | ช่องวัน 31 |
ผู้สร้าง | บริษัท เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด |
บทโทรทัศน์ | กิตติ เชี่ยววงศ์กุล, ทีมเขียนบทซิทคอมช่องวัน |
ผู้กำกับการแสดง | กิตติ เชี่ยววงศ์กุล, จิรศักดิ์ โย้จิ้ว, พงษ์ศักดิ์ ฉิมเจริญ, เสกสรรค์ สิงอุไร |
ครูจันทนา | กมลชนก เขมะโยธิน |
พิมพ์ | หนึ่งธิดา โสภณ |
ครูเกษม | ศักดิ์สิทธิ์ แท่งทอง |
ต่าย | วิชญาณี เปียกลิ่น |
ครู | พุทธชาด พงศ์สุชาติ |
เจ | อรุณพงศ์ ชัยวินิตย์ |
ลูกศิษย์ครูจันทนา | จารุวัฒน์ เชี่ยวอร่าม |
ลูกศิษย์ครูจันทนา | อริญากร บวรวิศรุติ |
ลูกศิษย์ครูจันทนา | รวิสรารัตน์ พิบูลภานุวัธน |
อ๊อฟ | อู๊ด เป็นต่อ |
นักเรียนชาย 1 | วรกฤต วรกุล |
นักเรียนหญิง 1 | พิชยา ทิพพาละ |
นักเรียนหญิง 2 | อลิสา ขุนแขวง |
นักเรียนหญิง 3 | พลอยปุณณ์ เดชโชติพิสิฐ |
นักเรียนหญิง 4 | ภัชธร ธนวัฒน์ |
แม็ค | ชานน สันตินธรกุล |
บุญชู | ญาณกวี บุษราคัมวดี |
จากพระราชดำรัสของในหลวง รัชกาลที่ ๙ ที่เคยตรัสถึงครูทุกคนว่า ให้ครูปฏิบัติหน้าที่ครูให้ดีที่สุดเพื่อลูกศิษย์ทุกคน ทำให้ครูจันทนายึดหลักนี้ไว้ในใจเสมอ เพราะความเข้มงวดอยากให้ลูกศิษย์ทุกคนได้ดี ทำให้ พิมพ์ ลูกสาวของครูจันทนา เกิดความน้อยใจ เพราะตั้งแต่เด็กจนโตพิมพ์มักถูกแม่บังคับเคี่ยวเข็ญ หรือหากทำผิดเธอก็มักจะถูกแม่ทำโทษมากกว่านักเรียนคนอื่น ๆ เสมอในฐานะที่เป็นลูกครู พิมพ์จึงคิดเสมอว่าแม่รักลูกศิษย์มากกว่าลูกตัวเอง จนเธอตัดสินใจหนีออกจากบ้าน แต่แล้ววันหนึ่งพิมพ์กลับได้เรียนรู้ว่าสิ่งที่แม่ทำนั้นเป็นสิ่งที่ถูกต้องที่สุดแล้ว
ปี | พ.ศ. 2559 |
---|---|
ชื่อตอน | บ้านของพ่อ |
สถานีออกอากาศ | ช่องวัน 31 |
ผู้สร้าง | บริษัท เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด |
บทโทรทัศน์ | กิตติ เชี่ยววงศ์กุล, ทีมเขียนบทซิทคอมช่องวัน |
ผู้กำกับการแสดง | กิตติ เชี่ยววงศ์กุล, จิรศักดิ์ โย้จิ้ว, พงษ์ศักดิ์ ฉิมเจริญ, เสกสรรค์ สิงอุไร |
ต้น | กวี ตันจรารักษ์ |
เต้ | วรเวช ดานุวงศ์ |
คุณโบว์ | นิโคล เทริโอ |
ป้าอุ่น | โฉมฉาย ฉัตรวิไล |
คุณชาญ | เจี๊ยบ เชิญยิ้ม |
ซินแส | ถั่วแระ เชิญยิ้ม |
พ่อของต้นกับเต้ | พลวัฒน์ มนูประเสริฐ |
เรื่องราวของ ต้น กับ เต้ สองพี่น้องที่มีแนวความคิดต่างกันคนละขั้ว ทั้งคู่มักทะเลาะกันเสมอตั้งแต่เด็กจนโต แต่ทุกครั้งก็จะมีพ่อที่คอยเข้ามาห้ามปรามและสั่งสอน โดยยึดหลักคำสอนของในหลวงว่าให้รักกัน จนกระทั่งวันหนึ่งเมื่อพ่อเสียชีวิต ต้นมีความคิดที่จะขายบ้านของพ่อ แต่เต้กลับไม่ยอมเพราะคิดว่าบ้านหลังนี้คือความทรงจำถึงพ่อ สองพี่น้องทะเลาะกันรุนแรง แต่ในวันหนึ่งมีเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันเกิดขึ้น ทำให้ต้นและเต้หันหน้ามาคุยกันและเข้าใจกันในที่สุด
ปี | พ.ศ. 2559 |
---|---|
ชื่อตอน | 14 ตุลา |
สถานีออกอากาศ | ช่องวัน 31 |
ผู้สร้าง | บริษัท เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด |
บทโทรทัศน์ | กิตติ เชี่ยววงศ์กุล, ทีมเขียนบทซิทคอมช่องวัน |
ผู้กำกับการแสดง | กิตติ เชี่ยววงศ์กุล, จิรศักดิ์ โย้จิ้ว, พงษ์ศักดิ์ ฉิมเจริญ, เสกสรรค์ สิงอุไร |
นิค | สุกฤษฎิ์ วิเศษแก้ว |
พ่อของนิค | เกรียงไกร อุณหะนันท์ |
แม่ของนิค | ปรารถนา บรรจงสร้าง |
เชษฐ์ | ธีร์วศิษฐ์ เรือนสอน |
พนักงานออฟฟิศ 1 | จินตนัดดา ลัมะกานนท์ |
พนักงานออฟฟิศ 2 | ชวินโรจน์ ลิขิตเจริญพงษ์ |
พนักงานออฟฟิศ 3 | กรณ์ภัสสร ด้วยเศียรเกล้า |
พนักงานออฟฟิศ 4 | สรัลธร คล้ายอุดม |
พนักงานออฟฟิศ 5 | วราไพรินทร์ ลภัสนิธิโรจน์ |
ชายส่งหนังสือพิมพ์ | เชษฐวุฒิ วัชรคุณ |
เรื่องราวของ นิค ชายหนุ่มที่กำลังจะพาพ่อกับแม่ไปรำลึกความหลังในวันที่ทั้งคู่พบกันครั้งแรกจากเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 แต่เมื่อใกล้ถึงวันครบรอบ ประชาชนชาวไทยรวมทั้งนิค กลับได้รับข่าวการสวรรคตของในหลวง นิครู้ดีว่าพ่อรักและเทิดทูนในหลวงสุดหัวใจ เขากับแม่จึงพยายามปิดบังไม่ให้พ่อรู้เรื่องนี้ แต่สุดท้ายพ่อก็รับรู้ความจริงทุกอย่าง และถึงแม้พ่อจะเสียใจอย่างมาก แต่พ่อกลับกลายเป็นคนที่ให้กำลังใจทุกคนในครอบครัว เพราะพ่อเชื่อว่าในหลวง รัชกาลที่ ๙ พระองค์ท่านยังไม่จากไปไหน ตราบใดที่เรายังคงนึกถึงพระองค์ท่านและดำเนินชีวิตไปตามพระราชดำรัสของพระองค์ท่าน
ปี | พ.ศ. 2559 |
---|---|
ชื่อตอน | รักแท้ |
สถานีออกอากาศ | ช่องวัน 31 |
ผู้สร้าง | บริษัท เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด |
บทโทรทัศน์ | ศิริลักษณ์ ศรีสุคนธ์ |
ผู้กำกับการแสดง | สันต์ ศรีแก้วหล่อ |
นพ | ณวัฒน์ กุลรัตนรักษ์ |
มุกดา | วรนุช ภิรมย์ภักดี |
สาคร | จารุณี สุขสวัสดิ์ |
เดชา | อัครัฐ นิมิตชัย |
พยาบาลเพียงพร | พิยดา จุฑารัตนกุล |
พยาบาลสุ | อรจิรา แหลมวิไล |
พยาบาลมิน | พิมพ์มาดา บริรักษ์ศุภกร |
แพทย์เจ้าของไข้มุกดา | วาโย อัศวรุ่งเรือง |
พระ | ชลวิทย์ มีทองคำ |
คนร่วมงานพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี | ทัศน์วรรณ เสนีย์วงศ์ ณ อยุธยา |
คนร่วมงานพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี | ทรงสิทธิ์ รุ่งนพคุณศรี |
คนร่วมงานพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี | กาญจนา จินดาวัฒน์ |
คนร่วมงานพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี | ดิลก ทองวัฒนา |
คนร่วมงานพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี | ปวีณา ชารีฟสกุล |
คนร่วมงานพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี | น้อย โพธิ์งาม |
คนร่วมงานพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี | สุดา ชื่นบาน |
สาวโรงงาน | ภัณฑิลา วิน ปานสิริธนาโชติ |
สาวโรงงาน | ภาวิดา มอริจจิ |
สาวโรงงาน | พรพรรณ ฤกษ์อัตการ |
สาวโรงงาน | ลาภิสรา อินทรสูต |
หนุ่มโรงงาน | สุธน บู่สามสาย |
หนุ่มโรงงาน | กิตติพงษ์ ปลื้มปรีดาพร |
หนุ่มโรงงาน | นะเพียร เพิ่มสมบัติ |
สาวโรงงาน | ชนัญญา แสนเดช |
สาวโรงงาน | ณัฐณิชา ชมดี |
ประชาชน 1 | ธนทัต ชัยอรรถ |
ประชาชน 2 | สินจัย เปล่งพานิช |
ประชาชน 3 | ธนภัทร กาวิละ |
มุกดา ภรรยาของ นพ เจ้าของโรงงานทอผ้า มุกดานัดกับนพว่าจะไปกราบพระบรมศพ แต่นพต้องเร่งผลิตผ้าสีดำซ้ำเครื่องจักรยังเกิดระเบิด ทำให้นพผิดนัด ด้วยความเสียใจมุกดาจึงขับรถออกมาจนเกิดอุบัติเหตุชนกับรถของพอร์ชและรัฐ มุกดาสลบและไปตื่นอีกครั้งที่บ้านเก่าหลังหนึ่ง ใน พ.ศ. 2549 ซึ่งเป็นปีที่มีพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี เจ้าของบ้านคือ สาคร สาวโสดวัยเกษียณ เคยเป็นนักข่าวสายพระราชสำนัก ตามทำข่าวถ่ายภาพในหลวง รัชกาลที่ ๙ มาตลอด เธอซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณของในหลวง รัชกาลที่ ๙ ที่ทำเพื่อประชาชน มุกดามีโอกาสได้เล่าปัญหาชีวิตคู่ของตัวเองให้สาครฟัง สาครจึงให้ดูรูปของในหลวง รัชกาลที่ ๙กับ สมเด็จพระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ ๙ ภาพที่สมเด็จพระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ ๙ ทรงยืนเคียงข้างในหลวง รัชกาลที่ ๙ ทุกที่ สนับสนุนทุกสิ่งที่ทำ มุกดาจึงได้เรียนรู้ว่าความสุขของคนที่เรารักก็คือความสุขของเรา ทำให้เธอเข้าใจนพเข้าใจตัวเอง มุกดาตื่นขึ้นมาอีกครั้งที่โรงพยาบาล โดยมีนพเฝ้าอยู่ข้างเตียง ทั้งคู่ปรับความเข้าใจกัน นพจึงพามุกดาไปร่วมร้องเพลงสรรเสริญพระบารมีในวันที่ 22 ตุลาคม 2559 ณ ท้องสนามหลวง
รัฐ หมอหนุ่มวัตถุนิยม ทำงานหนักเพราะอยากมีชีวิตที่ร่ำรวย วันหนึ่งแม่ของรัฐขอให้รัฐพาไปกราบพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ แต่รัฐไม่ใส่ใจ ส่วน ฟ้า แฟนของรัฐ ก็ชวนไปเป็นแพทย์อาสาที่สนามหลวง แต่รัฐก็ไม่ใส่ใจอีกเช่นกัน พอร์ช เพื่อนสนิท จึงชวนรัฐไปหัวหิน แต่ระหว่างทางกลับเกิดอุบัติเหตุชนกับรถของมุกดาจนสลบไป รัฐฟื้นมาอีกครั้งที่หมู่บ้านปางขุม ดอยปุย ในปี พ.ศ. 2512 มาเจอ ทิวาน สาวน้อยชาวเขาเผ่าม้ง และหว่าง รัฐได้ยินทั้งคู่พูดว่าในหลวง รัชกาลที่ ๙ จะเสด็จมาเยี่ยมชาวเขาที่นี่ รัฐเถียงว่าเป็นไปไม่ได้เพราะในหลวง รัชกาลที่ ๙ สวรรคตแล้ว ทิวาน, หว่าง และชาวบ้านโมโหไล่ตีรัฐ เพราะไม่พอใจที่รัฐพูดจาไม่เป็นมงคล จนวันหนึ่งรัฐป่วยหนักปางตาย ทุกคนจึงช่วยกันแบกรัฐไปหาหมอที่ตามเสด็จ หมอช่วยชีวิตรัฐไว้ได้ทันเวลา ในที่สุดรัฐฟื้นกลับมาสู่ยุคปัจจุบัน และตั้งมั่นจะเป็นหมออาสาช่วยเหลือผู้คน ตามแบบที่ในหลวง รัชกาลที่ ๙ ทรงปฏิบัติมาตลอดพระชนม์ชีพ
ปี | พ.ศ. 2559 |
---|---|
ชื่อตอน | ดุจแสงทองส่อง |
สถานีออกอากาศ | ช่องวัน 31 |
ผู้สร้าง | บริษัท เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด |
บทโทรทัศน์ | ทีมเขียนบทช่องวัน |
ผู้กำกับการแสดง | ผอูน จันทรศิริ |
พอร์ช | เจษฎ์พิพัฒ ติละพรพัฒน์ |
คราม | ยุทธนา เปื้องกลาง |
สำเริง | อาณัตพล ศิริชุมแสง |
ฝ้าย | อัญชสา มงคลสมัย |
แม่ของสำเริงกับคราม | ปวันรัตน์ นาคสุริยะ |
พ่อของสำเริงกับคราม | ไกรลาศ เกรียงไกร |
ครูที่เป็นแกนนำระบบคอมมิวนิสต์ในหมู่บ้าน | กลศ อัทธเสรี |
แม่ของพอร์ช | ไปรมา รัชตะ |
แพทย์เจ้าของไข้พอร์ช | โสภิตนภา ชุ่มภาณี |
พยาบาล | พิชญา เชาวลิต |
ชาวบ้าน | ระดับดาว ศรีระวงศ์ |
ชาวบ้าน | กฤษฎา จันทร์ดี |
ชาวบ้าน | จุฑารัตน์ อนุศิลป์ |
ชาวบ้าน | ศรุชา เพชรโรจน์ |
ชาวบ้าน | พรชนก เลี่ยนกัตวา |
ชาวบ้าน | ปนัสยา กิตติกถากุล |
ชาวบ้าน | อัครวัฒน์ จุมพลวิวัฒน์ |
ชาวบ้าน | ณัฐจารี หรเวชกุล |
ชาวบ้าน | พลภัคค์ วัชรพงศ์หิรัญ |
ทหารลาดตระเวน | นัทธพงศ์ พรมสิงห์ |
ทหารคอมมิวนิสต์ | รติพันธ์ พันธ์พินิจ |
ทหารคอมมิวนิสต์ | ธนโชติ กุสุมรสนานันท์ |
ทหารคอมมิวนิสต์ | ภูมินทร์ นภาวุฒิ |
ราชการ | เดชบดินทร์ ฉายทองดี |
ราชการ | คุณากร เกิดพันธุ์ |
ประชาชน | นรภัทร วิไลพันธุ์ |
พอร์ช ชายหนุ่มที่มีชีวิตสุขสบาย พอร์ชไม่เข้าใจที่แม่เอาแต่ร้องไห้เพราะในหลวง รัชกาลที่ ๙ สวรรคต จึงชวน หมอรัฐ เพื่อนสนิทไปเที่ยวหัวหิน จนเกิดอุบัติเหตุรถชนกับมุกดา พอร์ชสลบและย้อนเวลาไปปี พ.ศ. 2523 ท่ามกลางสงครามระหว่างคอมมิวนิสต์กับทหารที่หมู่บ้านสร้างค้อ จ.สกลนคร คราม ช่วยพอร์ชไว้และพาไปอยู่ด้วย จนวันหนึ่ง สำเริง พี่ชายคราม ชวนคนในหมู่บ้านไปทำสวนในพระตำหนักภูพานราชนิเวศน์ จนความเป็นอยู่เริ่มดีขึ้น คนในหมู่บ้านจึงค่อย ๆ เปลี่ยนความคิดจากที่ยึดมั่นในระบบคอมมิวนิสต์ จนในที่สุดครามก็คิดได้ว่าคนที่ช่วยเหลือพวกเขาอย่างแท้จริงคือใคร รวมไปถึงพอร์ชที่คิดได้ว่าในขณะที่ตัวเองมีชีวิตสุขสบาย ยังมีคนอีกมากที่ลำบาก พอร์ชจึงสัญญากับตัวเองว่า ถ้ากลับไปได้เขาจะช่วยเหลือคนให้มากที่สุด โดยยึดถือคำสอนของในหลวง รัชกาลที่ ๙ เป็นแบบอย่าง
(เรียงลำดับตาม ไตเติลปิดเรื่อง ตั้งแต่ตัวอักษไทย
รุจีพร เผ่าอรุณ
และนักแสดงสมทบอื่น ๆ อีกจากจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่และประชาชนทั่วไปมากกว่า 300 ชีวิตที่มาร่วมทำการแสดงในละครชุดพิเศษเรื่องนี้
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.