เชินเจิ้น

นครในมณฑลกวางตุ้ง ประเทศจีน จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เชินเจิ้นmap

เชินเจิ้น ตามสำเนียงมาตรฐาน, ซำจั่น ตามสำเนียงกวั่งตง, ชิมจุ่ง ตามสำเนียงแต้จิ๋ว (จีน: 深圳; พินอิน: Shēnzhèn; พินอินกวางตุ้ง: sam1 zan3) เป็นเมืองหลักที่อยู่ทางตะวันออกของชะวากทะเลแม่น้ำจูในมณฑลกวางตุ้งตอนใต้ สาธารณรัฐประชาชนจีน มีอาณาเขตทางใต้ติดกับฮ่องกง ตะวันออกเฉียงเหนือติดกับฮุ่ยโจว ตะวันตกเฉียงเหนือติดกับตงกว่าน และทางตะวันตกและตะวันตกเฉียงใต้ติดกับกว่างโจว จงชาน และจูไห่ ซึ่งเป็นอีกฝั่งของชะวากทะเล โดยใช้เขตแดนทางทะเลเป็นตัวแบ่งอาณาเขต ด้วยจำนวนประชากร 17.5 ล้านคนใน ค.ศ. 2020 ทำให้เชินเจิ้นเป็นเมืองที่มีประชากรมากเป็นอันดับสาม (วัดตามจำนวนประชากรในเขตเมือง) ของประเทศจีน รองจากเซี่ยงไฮ้และปักกิ่ง[6] ท่าเรือเซินเจิ้นยังเป็นท่าเรือคอนเทนเนอร์ที่พลุกพล่านมากเป็นอันดับ 4 ของโลก[7]

ข้อมูลเบื้องต้น เชินเจิ้น 深圳市, ประเทศ ...
เชินเจิ้น

深圳市
Thumb
Thumb
Thumb
Thumb
Thumb
สถานที่ต่าง ๆ ในนครเชินเจิ้น
Thumb
Thumb
ที่ตั้งของนครเชินเจิ้นในมณฑลกวางตุ้ง
Thumb
เชินเจิ้น
เชินเจิ้น
ที่ตั้งของใจกลางเมืองเชินเจิ้นในมณฑลกวางตุ้ง
Thumb
เชินเจิ้น
เชินเจิ้น
เชินเจิ้น (ประเทศจีน)
พิกัด (จัตุรัสพลเมือง (市民广场)): 22°32′29″N 114°03′35″E
ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน
มณฑลมณฑลกวางตุ้ง
จำนวนเขตการปกครองระดับอำเภอ9
ตั้งถิ่นฐาน331
ก่อตั้งหมู่บ้าน1953
ก่อตั้งนคร23 มกราคม 1979
ก่อตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษ1 พฤษภาคม 1980
ที่ตั้งที่ทำการเขตฝูเถียน
การปกครอง
  ประเภทนครระดับกิ่งมณฑล
  เลขานุการคณะกรรมการพรรคฯหวาง เหว่ย์จง (王伟中)
  นายกเทศมนตรีเฉิน หรูกุ้ย (陈如桂)
พื้นที่
  ทั้งจังหวัด2,050 ตร.กม. (790 ตร.ไมล์)
  เขตเมือง1,748 ตร.กม. (675 ตร.ไมล์)
ความสูง0–943.7 เมตร (0–3,145.7 ฟุต)
ประชากร
 (2017)[1]
  ทั้งจังหวัด12,528,300 คน
  ความหนาแน่น6,100 คน/ตร.กม. (16,000 คน/ตร.ไมล์)
  เขตเมือง (2018)[2]12,905,000 คน
  ความหนาแน่นเขตเมือง7,400 คน/ตร.กม. (19,000 คน/ตร.ไมล์)
  รวมปริมณฑล[3]23,300,000 คน
  ชาติพันธุ์หลักชาวฮั่น
เขตเวลาUTC+8 (เวลามาตรฐานจีน)
รหัสไปรษณีย์518000
รหัสพื้นที่755
รหัส ISO 3166CN-GD-03
ผลิตภัณฑ์มวลรวม (ราคาตลาด)2019[4]
 - ทั้งหมด2.6 ล้านล้านเหรินหมินปี้
 - ต่อหัว208,000 เหรินหมินปี้
 - ความเติบโตเพิ่มขึ้น 7.7%
คำนำหน้าป้ายทะเบียนรถ粤B
ดอกไม้ประจำนครเฟื่องฟ้า
ต้นไม้ประจำนครลิ้นจี่ และป่าชายเลน[5]
เว็บไซต์sz.gov.cn
ปิด

เชินเจิ้นมีอาณาเขตการบริหารของเทศมณฑลเปาอันซึ่งก่อตั้งขึ้นในสมัยจักรวรรดิจีน ภายหลังสงครามฝิ่น ทางตอนใต้ของเทศมณฑลเปาอันถูกรัฐบาลอังกฤษยึดครอง และกลายเป็นส่วนหนึ่งของฮ่องกงของบริเตน ในขณะที่หมู่บ้านเชินเจิ้นมีอาณาเขตอยู่ติดกับชายแดน เชินเจิ้นมีสถานะกลายเป็นเมืองใน ค.ศ. 1979 ในช่วงต้นทศวรรษ 1980 การปฏิรูปเศรษฐกิจโดยเติ้ง เสี่ยวผิง ส่งผลให้เมืองนี้กลายเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษแห่งแรกของจีน และเนื่องสภาพทำเลที่ตั้งอยู่ใกล้กับฮ่องกง เมืองนี้จึงดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ และผู้อพยพที่แสวงหาโอกาสในกรตั้งฐิ่นถานและประกอบธุรกิจ ในช่วงสามทศวรรษที่ผ่านมา เศรษฐกิจและประชากรของเมืองเติบโตอย่างรวดเร็ว และนับตั้งแต่นั้นมาก็กลายเป็นศูนย์กลางด้านเทคโนโลยี การค้าระหว่างประเทศ และการเงินของจีน

เชินเจิ้นเป็นที่ตั้งของตลาดหลักทรัพย์เชินเจิ้น หนึ่งในตลาดหลักทรัพย์ที่ใหญ่ที่สุดของโลกตามมูลค่าหลักทรัพย์ราคาตลาด และเขตการค้าเสรีมณฑลกวางตุ้ง เชินเจิ้นได้รับการจัดอันดับให้เป็นเมืองอัลฟ่า (เมืองชั้นหนึ่งของโลก) โดยเครือข่ายการวิจัยโลกาภิวัตน์และเมืองโลก จากการเติบโตอย่างรวดเร็วทางเศรษฐกิจของเมือง ทำให้อัตราผลิตภัณฑ์มวลรวม (จีดีพี) ของเมืองนี้ใกล้เคียงกับเมืองเศรษฐกิจอื่น ๆ อย่างกว่างโจวหรือแม้กระทั่งฮ่องกง เชินเจิ้นยังมีศูนย์กลางทางการเงินที่มีการแข่งขันสูงที่สุดแห่งหนึ่ง และใหญ่เป็นอันดับ 8 ของโลก มีสำนักงานใหญ่ของบริษัทชั้นนำตามการจัดอันดับโดยฟอร์จูน โกลบอล 500 มากเป็นอันดับ 7 ของโลก รวมทั้งมีจำนวนมหาเศรษฐีอาศัยอยู่มากเป็นอันดับ 5 ของโลก และมีจำนวนตึกระฟ้ามากเป็นอันดับ 2 ของโลก เชินเจิ้นยังมีจำนวนผลงานการวิจัยทางวิทยาศาสตร์มากที่สุดเป็นอันดับ 19 ในโลก และเป็นที่ตั้งของสถาบันอุดมศึกษาหลายแห่งที่ได้รับการยอมรับระดับนานาชาติรวมถึง มหาวิทยาลัยเชินเจิ้น, มหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีภาคใต้ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีเชินเจิ้น สถานีรถไฟเชินเจิ้นทำหน้าที่เป็นสถานีหลักในมณฑลกวางตุ้ง และเป็นปลายทางสุดท้ายบนเส้นทางจีนแผ่นดินใหญ่ของรถไฟสายเกาลูน-กวางตุ้ง

เมืองนี้ยังเป็นศูนย์กลางเทคโนโลยีชั้นนำระดับโลก บางครั้งถูกเรียกว่าเป็นซิลิคอนแวลลีย์ของจีน[8][9] ด้วยวัฒนธรรมในการเป็นผู้นำทางนวัตกรรมและการแข่งขันของเมือง ส่งผลให้เมืองนี้เป็นที่ตั้งของทั้งผู้ผลิตรายย่อยและบริษัทซอฟต์แวร์จำนวนมาก บริษัทเหล่านี้หลายแห่งได้พัฒนาจนกลายเป็นบริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่ของโลก เช่น หัวเว่ย, เทนเซ็นต์ และ ดีเจไอ ในฐานะที่เป็นหนึ่งในเมืองนานาชาติที่สำคัญ เชินเจิ้นจึงถูกใช้เป็นสถานที่จัดงานระดับชาติ และระดับนานาชาติมากมายทุกปี เช่น กีฬามหาวิทยาลัยโลกฤดูร้อน 2011 และ มหกรรมแสดงสินค้าไฮเทค ประชากรส่วนใหญ่ในเชินเจิ้นล้วนเป็นผู้อพยพมาจากภูมิภาคอื่นทั่วประเทศจีน และโครงสร้างอายุประชากรของเมืองนี้ก็น้อยกว่าสถานที่อื่น ๆ ในจีน

ภูมินามวิทยา

การกล่าวถึงชื่อเมืองเชินเจิ้นครั้งแรกมีประวัติย้อนไปถึง ค.ศ. 1410 ในสมัยราชวงศ์หมิง[10] เชื่อกันว่าชื่อ "Zhen" (จีน: 圳; หมายถึง: สว่าง. 'คูน้ำ', ' ท่อระบายน้ำ') เป็นชื่อที่ชาวบ้านในยุคนั้นใช้เรียกท่อระบายน้ำ (บ้างก็เรียกคูน้ำ) ในนาข้าว จึงสันนิษฐานได้ว่า ชื่อเมืองเชินเจิ้น (จีน: 深; lit. แปลว่า 'ลึก') มีที่มาจากชื่อที่ใช้เรียกท่อระบายน้ำลึกในภูมิภาคนี้[11][12]

ประวัติศาสตร์

สมัยก่อนประวัติศาสตร์ถึงสมัยราชวงศ์หมิง

พบหลักฐานการตั้งถิ่นฐานที่เก่าแก่ที่สุดของมนุษย์ในบริเวณนี้ตั้งแต่สมัยยุคหินใหม่[13] มนุษย์ได้อาศัยอยู่ในพื้นที่นี้ตลอด 6,700 ปีที่ผ่านมา มณฑลประวัติศาสตร์บริเวณนี้ก่อตั้งขึ้นเมื่อ 1,700 ปีก่อน เมืองประวัติศาสตร์อย่างหนานโถวและต้าเผิง ถูกสร้างขึ้นบนพื้นที่ปัจจุบันของเชินเจิ้นเมื่อ 600 ปีที่แล้ว[14] ประวัติศาสตร์ของดินแดนนี้ยังมีความเกี่ยวพันกับชาวฮากกา ซึ่งเข้ามาตั้งรกรากบริเวณนี้เมื่อประมาณ 300 ปีที่แล้ว

จิ๋นซีฮ่องเต้รวมแผ่นดินจีนเป็นปึกแผ่นภายใต้ราชวงศ์ฉินเมื่อ 214 ปีก่อนคริสตกาล พื้นที่ทั้งหมดถูกส่งไปยังเขตอำนาจของกองบัญชาการหนานไห่ที่จัดตั้งขึ้นโดยผู้มีอำนาจปกครอง ซึ่งเป็นหนึ่งในสามกองบัญชาการที่จัดตั้งขึ้นในหลิงหนาน และถูกหลอมรวมเข้ากับวัฒนธรรมจงหยวน ในปีคริสตศักราช 331 ผู้ปกครองของราชวงศ์จิ้นตะวันออกได้แยกดินแดนหนานไห่ออก และก่อตั้งกองบัญชาการตงก่วนขึ้นใหม่ (东官郡) ศูนย์กลางการปกครองของทั้งผู้บัญชาการ และเทศมณฑลเปาอันซึ่งเป็นหนึ่งในหกเทศมณฑลนั้น ตั้งอยู่รอบเมืองหนานโถวซึ่งได้รับการพัฒนาจนทันสมัย ในปี 590 ราชวงศ์สุยได้รวมดินแดนในภูมิภาคกลับเข้าไปสู่หนานไห่ ต่อมาใน ค.ศ. 757 ราชวงศ์ถังได้เปลี่ยนชื่อดินแดนนี้เป็นเทศมณฑลตงกว่าน และย้ายที่ทำการไปยังพื้นที่เมืองตงกว่านในปัจจุบัน แม้จะยังคงมีกองทหารรักษาการณ์อยู่ก็ตาม

ในสมัยราชวงศ์ซ่ง หนานโถวและพื้นที่โดยรอบกลายเป็นศูนย์กลางการค้าที่สำคัญ โดยมีเกลือและเครื่องเทศเป็นสินค้าหลักที่มีการแลกเปลี่ยนในบริเวณทะเลจีนใต้[15] พื้นที่ดังกล่าวกลายเป็นที่รู้จักในด้านการผลิตไข่มุกในสมัยราชวงศ์หยวน ในช่วงต้นของราชวงศ์หมิง กะลาสีเรือชาวจีนจำนวนมากนิยมเดินทางไปยังวัดหม่าซูในเมืองฉีวาน (เขตหนานซานในปัจจุบัน) ยุทธการที่ตุนเหมินซึ่งเป็นการต่อสู้ระหว่างราชวงศ์หมิงและกองทัพโปรตุเกสเกิดขึ้นบริเวณตอนใต้ของหนานโถว และจบลงด้วยชัยชนะของราชวงศ์หมิง[16]

ราชวงศ์ชิงถึงคริสต์ทศวรรษ 1940

Thumb
การเปิดสถานีรถไฟเซินเจิ้น ตุลาคม ค.ศ. 1911

เพื่อป้องกันการก่อกบฏโดยผู้จงรักภักดีของราชวงศ์หมิงภายใต้การนำของ โคซิงกา (กั๋วซิ่งเย๋) ผู้ปกครองของราชวงศ์ชิงซึ่งได้รับการสถาปนาไม่นานมานี้ จึงได้ย้ายถิ่นฐานของประชา่กรบริเวณชายฝั่งทะเลภายในประเทศ และจัดระเบียบการปกครองของมณฑลต่าง ๆ บริเวณชายฝั่งขึ้นใหม่ ส่งผลให้เทศมณฑลเปาอันเดิมสูญเสียดินแดนถึงสองในสามให้แก่ตงกว่านและถูกควบรวมเป็นส่วนหนึ่งของตงกว่านในปี 1669 หลังจากที่ราชวงศ์ชิงพ่ายต่อสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์ในสงครามฝิ่นครั้งที่หนึ่ง และครั้งที่สอง เกาะฮ่องกงและคาบสมุทรเกาลูนก็ถูกยกให้กับอังกฤษตามสนธิสัญญานานกิงและอนุสัญญาปักกิ่ง เมื่อวันที่ 21 เมษายน ค.ศ. 1898 รัฐบาลภายใต้ราชวงศ์ชิงได้ลงนามใน "บทความพิเศษสำหรับการจัดแสดงชายแดนฮ่องกง" ร่วมกับสหราชอาณาจักร และเช่าดินแดนใหม่ไปยังสหราชอาณาจักรเป็นเวลา 99 ปี ดินแดนซินอานถูกกองทหารอังกฤษยึดครองในช่วงสั้น ๆ ภายใต้การบัญชาของเฮนรี อาเทอร์ เบลก ผู้ว่าการฮ่องกง เป็นเวลาครึ่งปีในปี ค.ศ. 1899 พื้นที่มณฑลกว่า 1,055.61 ตารางกิโลเมตร (407.57 ตารางไมล์) จากทั้งหมด 3,076 ตารางกิโลเมตร (1,188 ตารางไมล์) ซึ่งอยู่ภายใต้การครอบครองของราชวงศ์ซินก่อนทำสนธิสัญญาได้ถูกยกให้แก่อังกฤษ

เพื่อเป็นการตอบโต้การก่อการกำเริบอู่ชางในปี 1911 ชาวซินอานได้ก่อกบฏต่อผู้ปกครองท้องถิ่นของราชวงศ์ชิง และโค่นล้มพวกเขาได้สำเร็จ[17] ในปีเดียวกันนั้นเอง รถไฟสายเกาลูน–กวางตุ้ง (KCR) ของจีนได้เปิดให้บริการต่อสาธารณะ จุดแวะพักสุดท้ายในจีนแผ่นดินใหญ่คือสถานีรถไฟเชินเจิ้นซึ่งช่วยเศรษฐกิจของเมืองเติบโตอย่างรวดเร็ว และเปรียบเสมือนการเปิดเมืองเชินเจิ้นสู่โลกภายนอก[18] ในปี ค.ศ. 1913 รัฐบาลสาธารณรัฐจีนได้เปลี่ยนชื่อเทศมณฑลซินอานเป็นเทศมณฑลเป่าอัน เพื่อป้องกันความสับสนจากเทศมณฑลอื่นที่มีชื่อเดียวกันในมณฑลเหอหนาน

ญี่ปุ่นได้ยึดครองเชินเจินและหนานโถวในสงครามโลกครั้งที่สอง และบีบบังคับให้รัฐบาลเทศมณฑลเปาอันย้ายไปยังเทศมณฑลตงกว่านที่อยู่ใกล้เคียง ใน ค.ศ. 1941 กองทัพญี่ปุ่นพยายามข้ามฝั่งเข้าสู่เกาะฮ่องกงผ่านสะพานโหลหวู่ในเชินเจิ้น แต่การจุดระเบิดโดยกองทัพอังกฤษทำให้ญี่ปุ่นไม่สามารถเข้าสู่ฮ่องกงได้[19]

ทศวรรษ 1950 ถึง 1970

Thumb
ย่านประวัติศาสตร์ในหนานโถว

ในปี 1953 สี่ปีหลังจากการสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีน รัฐบาลเทศมณฑลเปาอันตัดสินใจย้ายที่ทำการไปที่เชินเจิ้น เนื่องจากเมืองนี้อยู่ใกล้กับเกาลูน และมีขนาดเศรษฐกิจที่ใหญ่กว่าหนานโถว ตั้งแต่ปี 1950 จนถึงปลายทศวรรษ 1970 เชินเจิ้นและส่วนที่เหลือของเทศมณฑลเปาอันได้ดูแลผู้ลี้ภัยจำนวนมหาศาลที่พยายามหลบหนีไปยังฮ่องกง สืบเนื่องจากความวุ่นวายที่เกิดขึ้นในจีนแผ่นดินใหญ่ ในจำนวนทั้งหมดนี้ครอบคลุมผู้อพยพตั้งแต่ 100,000 คนถึง 560,000 คนซึ่งอาศัยอยู่ในเทศมณฑล[20]

ในเดือนมกราคม ค.ศ. 1978 คณะตรวจสอบที่ถูกส่งมาโดยคณะมนตรีรัฐกิจสาธารณรัฐประชาชนจีน มีบทบาทหลักในการสอบสวนในประเด็นการสร้างท่าเรือการค้าต่างประเทศในเทศมณฑลเปาอัน ในเดือนพฤษภาคม ทีมสืบสวนได้สรุป "รายงานการสอบสวนเศรษฐกิจฮ่องกงและมาเก๊า" และเสนอให้เปลี่ยนเทศมณฑลเปาอันและจูไห่เป็นฐานส่งออกสินค้าโภคภัณฑ์ ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1978 คณะกรรมการเขตฮุ่ยหยางรายงานต่อคณะกรรมการประจำจังหวัดเรื่อง "รายงานคำขอเปลี่ยนเทศมณฑลเป่าอันเป็นเชินเจิ้น" เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม คณะกรรมการแห่งมณฑลกวางตุ้งได้ตัดสินใจเปลี่ยนชื่อเทศมณฑลเปาอันเป็นเมืองเปาอัน และเปลี่ยนให้มีสถานะนครระดับจังหวัด และตั้งใจให้เป็นศูนย์กลางทางการค้าต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการเขตฮุ่หยางและคณะกรรมการเขตเปาอัน ออกมาปกป้องการเปลี่ยนแปลงเพื่อเปลี่ยนชื่อเทศมณฑลเปาอันเป็นเซินเจิ้น โดยอ้างว่าผู้คนในโลกนี้รู้จักชื่อเชินเจิ้นและท่าเรือของเมือง มากกว่าที่พวกเขารู้เกี่ยวกับเทศมณฑลเปาอัน

เมื่อวันที่ 23 มกราคม ค.ศ. 1979 ฝ่ายบริหารมณฑลกวางตุ้ง และเขตฮุ่ยหยางได้ประกาศข้อเสนอที่จะเปลี่ยนชื่อเทศมณฑลเปาอันเป็นเชินเจิ้น และได้รับการอนุมัติและบังคับใช้โดยสภาแห่งรัฐเมื่อวันที่ 5 มีนาคมของปีนั้น นอกจากนี้ จะมีการก่อตั้งเขต 6 เขต ได้แก่ เขตหลัวหู หนานโถว ซงกัง หลงฮวา หลงก่าง และกุยหยง ต่อมา เมื่อวันที่ 31 มกราคม คณะกรรมการกลางของพรรคคอมมิวนิสต์ได้อนุมัติแผนการจัดตั้งเขตอุตสาหกรรมเสอโข่วในเชินเจิ้นโดยมีวัตถุประสงค์ "เพื่อเป็นผู้นำการดำเนินงานในประเทศ และต่างประเทศ และบูรณาการอุตสาหกรรมและเชิงพาณิชย์ และการค้า" โดยอิงตามระบบของฮ่องกงและมาเก๊า[21] โครงการดังกล่าวอยู่ภายใต้กำกับดูแลโดย China Merchants Group Limited ใต้การนำของ หยวน เกิง โดยมีฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจขนาดใหญ่ของจีน และจะกลายเป็นเขตอุตสาหกรรมแปรรูปส่งออกแห่งแรกในจีนแผ่นดินใหญ่

เมื่อต้นเดือนเมษายน ค.ศ. 1979 คณะกรรมการประจำมณฑลกวางตุ้งได้หารือและเสนอต่อคณะกรรมการกลางให้จัดตั้ง "เขตความร่วมมือทางการค้า" ในเชินเจิ้น จูไห่ และซัวเถา ในเดือนเดียวกัน การหารือโดยคณะทำงานกลางได้บทสรุปเกี่ยวกับ "กฎระเบียบในการพัฒนาการค้าต่างประเทศอย่างจริงจัง เพื่อเพิ่มรายได้จากการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ" และตกลงที่จะนำร่องเขตเศรษฐกิจพิเศษ (SEZ) แห่งแรกในเชินเจิ้น จูไห่ ซัวเถา และเซี่ยเหมิน[22] ในเดือนพฤศจิกายน เชินเจิ้นได้รับการยกระดับเป็นเมืองระดับจังหวัดในระดับภูมิภาคโดยฝ่ายบริหารมณฑลกวางตุ้ง หมู่บ้านเล็ก ๆ ในละแวกใกล้เคียงเช่น Yumin Cun ถูกรวมเป็นส่วนหนึ่งของเชินเจิ้น และเป็นจุดเริ่มต้นของการขยายตัวของประชากรอย่างรวดเร็วในทศวรรษต่อมา

1980–ปัจจุบัน

Thumb
ย่านธุรกิจกลาง ถ่ายเมื่อปี 1998

ใน ค.ศ. 1980 เชินเจิ้นมีประชากรเพียง 30,000 คน[23] ต่อมา ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1980 คณะกรรมการกลางได้รับรองให้เชินเจิ้นเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษแห่งแรกในจีน[24] ซึ่งได้รับการสนับสนุนโดยผู้นำสูงสุดของจีนในขณะนั้น และยังเป็นส่วนหนึ่งของการเปิดประเทศและปฏิรูปเศรษฐกิจโดย เติ้ง เสี่ยวผิง[25] วัตถุประสงค์คือเพื่อเป็นพื้นที่ทดลองสำหรับการปฏิบัติของระบบทุนนิยมที่ได้รับคำแนะนำจากอุดมคติของลัทธิสังคมนิยมอันเป็นลักษณะเฉพาะของจีน นำไปสู่เศรษฐกิจตลาดแบบสังคมนิยม[26][27] ต่อมา คณะกรรมาธิการสามัญประจำสภาประชาชนแห่งชาติ ได้อนุมัติ "กฎระเบียบของเขตเศรษฐกิจพิเศษกวางตุ้ง"[28]

ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1981 เชินเจิ้นได้รับการยกระดับเป็นเขตการปกครองระดับกิ่งมณฑล เดิมทีนั้น มีแผนจะอนุมัติให้เชินเจิ้นพัฒนาสกุลเงินเป็นของตนเอง ทว่าแผนดังกล่าวถูกระงับเนื่องจากรัฐบาลกลางเกรงว่าอาจมีความเสี่ยง และความขัดแย้งในหลักการที่ว่าหนึ่งประเทศไม่ควรดำเนินการโดยใช้สองสกุลเงิน

การพัฒนาเมืองของเชินเจิ้นส่วนใหญ่ในช่วงทศวรรษ 1980 มุ่งเน้นไปที่พื้นที่บริเวณจุดผ่านเมืองเก่าและเมืองตลาด[29] ตามคำกล่าวของนักวิชาการ Richard Hu ซึ่งศึกษางานวิจัยว่าด้วยการขยายตัวของเมืองในประเทศจีน เชินเจิ้นถือเป็น ตัวอย่างกระบวนทัศน์ของแนวทางการพัฒนาเมืองในช่วงทศวรรษ 1980[30] ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1990 ภายใต้อำนาจของคณะกรรมการกำกับดูแลหลักทรัพย์ของจีน ตลาดหลักทรัพย์เชินเจิ้นได้ก่อตั้งขึ้นเพื่อเป็นแพลตฟอร์มสำหรับการซื้อขายหลักทรัพย์ ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1992 คณะกรรมการประจำของ NPC ได้มอบอำนาจให้รัฐบาลเชินเจิ้นในการออกกฎหมายและระเบียบข้อบังคับในท้องถิ่น ในปี ค.ศ. 1996 และต้นปี 1997 โรงแรมเชินเจิ้นเกสท์เฮาส์ถูกใช้ที่ตั้งของสภานิติบัญญัติแห่งฮ่องกง เพื่อเตรียมการสำหรับการส่งมอบฮ่องกงในปี 1997[31]

ต่อมาใน ค.ศ. 2001 ด้วยผลจากแนวโน้มทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้นของเชินเจิ้น ทำให้มีผู้อพยพจากจีนแผ่นดินใหญ่จำนวนมากมายังเมืองนี้แทนการลักลอบเข้าฮ่องกงอย่างผิดกฎหมาย จากสถิติระบุว่ามีจำนวนผู้ลักลอบข้ามพรมแดนลดหลงเหลือ 9,000 รายในปี 2000 เปรียบเทียบกับจำนวน 16,000 รายในปี 1991 ในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน เชินเจิ้นได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสเอเปคจีน ครั้งที่ 2[32] เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม ค.ศ. 2001 ณ ศูนย์การผลิตและท่าเรือทางใต้ของเมือง ต่อมา ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2008 คณะรัฐมนตรีแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ได้อนุมัติเขตเศรษฐกิจพิเศษเชินเจิ้นเพื่อส่งเสริมระบบการจัดการการบริหาร ระบบเศรษฐกิจ พื้นที่ทางสังคม และการพัฒนานวัตกรรม และโอกาสการเปิดกว้างทางการค้าและความร่วมมือระดับภูมิภาค ตลอดจนการอนุรักษ์ทรัพยากรและความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของเมือง

ภูมิศาสตร์

เชินเจิ้นตั้งอยู่ภายในบริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำจู อาณาเขตติดกับฮ่องกงทางทิศใต้ ติดฮุ่ยโจวทางเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือ ติดตงกว่านทางเหนือและตะวันตกเฉียงเหนือ ติดหลิงติงหยางและแม่น้ำจูทางทิศตะวันตก และอ่าวเมียร์สทางทิศตะวันออก และห่างจากเมืองกวางโจวไปทางตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 100 กิโลเมตร (62 ไมล์) ณ สิ้นปี 2017 จำนวนประชากรที่อาศัยอยู่ในเชินเจิ้นอยู่ที่ 12,528,300 คน โดยมีประชากรจดทะเบียนในฐานข้อมูลทะเบียนราษฎรอยู่ที่ 4,472,200 คน โดยคาดว่าจำนวนประชากรที่แท้จริงอาจมีมากกว่า 20 ล้านคน เมืองนี้มีความยาว 81.4 กิโลเมตรวัดจากทิศตะวันออกไปยังทิศตะวันตก ในขณะที่ส่วนที่สั้นที่สุดจากทิศเหนือสู่ทิศใต้คือ 10.8 กิโลเมตร คาดว่ามีแม่น้ำมากกว่า 160 สายไหลผ่านเมืองนี้ ภายในเขตเมืองมีอ่างเก็บน้ำ 24 แห่งด้วยความจุรวม 525 ล้านตัน แม่น้ำที่มีชื่อเสียงในเชินเจิ้น ได้แก่ แม่น้ำเชินเจิ้น

อากาศ

แม้ว่าเชินเจิ้นจะตั้งอยู่ทางใต้ของทรอปิกออฟแคนเซอร์ประมาณหนึ่งองศา แต่เนื่องจากอิทธิพลของแอนไทไซโคลนไซบีเรีย จึงทำให้มีสภาพอากาศแบบกึ่งร้อนชื้นที่ได้รับอิทธิพลจากมรสุมที่อบอุ่น (ตามการแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิพเพิน) แม้ว่าเชินเจิ้นจะตั้งอยู่ใกล้กับพื้นที่เขตร้อน แต่ยังมีฤดูหนาวที่มีสภาพอากาศค่อนข้างเย็นและค่อนข้างแห้ง ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากอิทธิพลของทะเลจีนใต้ และน้ำค้างแข็งเกิดขึ้นน้อยมาก อย่างไรก็ตาม มีโอกาสเกิดหมอกบ่อยครั้งในฤดูหนาวและฤดูใบไม้ผลิ โดยมีรายงานการเกิดหมอกเล็กน้อยที่ประมาณ 106 วันต่อปี ช่วงต้นของฤดูใบไม้ผลิถือเป็นช่วงที่มีเมฆมากที่สุดของปี และปริมาณน้ำฝนจะเริ่มเพิ่มขึ้นอย่างมากในเดือนเมษายน ฤดูฝนกินเวลายาวนานจนถึงปลายเดือนกันยายนถึงต้นเดือนตุลาคม และด้วยปริมาณแสงแดดที่อาจเกิดขึ้นทุกเดือนตั้งแต่ร้อยละ 27 ในเดือนมีนาคมถึงร้อยละ 53 ในเดือนตุลาคม เมืองนี้จึงได้รับแสงแดดคิดเป็นจำนวน 1,853 ชั่วโมงต่อปี[33]

ลมมรสุมจะรุนแรงถึงจุดสูงสุดในช่วงฤดูร้อน ซึ่งเป็นช่วงที่เมืองนี้ต้องเผชิญกับสภาพอากาศที่ชื้นและร้อนจัด อย่างไรก็ตาม อุณหภูมิร้อนจัดถือว่ายังเกิดขึ้นได้ยาก โดยพบอุณหภูมิ 35 °C (95 °F)+ เพียง 2.4 วันเท่านั้น ภูมิภาคนี้มีแนวโน้มที่จะเกิดฝนตกหนักเช่นกัน ช่วงครึ่งหลังของฤดูใบไม้ร่วงอากาศจะค่อนข้างแห้ง ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยต่อปีอยู่ที่ประมาณ 1,933 มิลลิเมตงซึ่งบางส่วนเกิดจากพายุไต้ฝุ่นที่พัดมาจากทิศตะวันออกในช่วงฤดูร้อนและช่วงต้นฤดูใบไม้ร่วง อุณหภูมิต่ำสุดและสูงสุดอยู่ระหว่าง 0.2 °C (32 °F) เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1957 ถึง 38.7 °C (102 °F) เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม ค.ศ. 1980

เศรษฐกิจ

เชินเจิ้นมีสถานะเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษแห่งแรกซึ่งก่อตั้งโดยเติ้ง เสี่ยวผิง ผู้นำสูงสุดในขณะนั้น[34] ย้อนกลับไปในเดือนเมษายน ค.ศ. 1979 เชินเจิ้นได้รับการปฏิรูปให้เป็นเขตส่งออกพิเศษเพื่อสร้างสภาพแวดล้อมการลงทุนที่เอื้ออำนวย รวมถึงการนำเทคโนโลยีขั้นสูงมาใช้ ต่อมา ได้เปลี่ยนชื่อเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1980 เชินเจิ้นมีอัตราผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศอยู่ที่ 3.24 ล้านล้านหยวน (2.87 ล้านล้านดอลลาร์ฮ่องกง) ซึ่งแซงหน้าปริมาณของฮ่องกงที่อยู่ใกล้เคียงที่ 2.11 ล้านล้านดอลลาร์ฮ่องกง และมากกว่ากว่างโจวที่ 2.88 ล้านล้านหยวน (2.68 ล้านล้านดอลลาร์ฮ่องกง)[35][36] ส่งผลให้เชินเจิ้นเป็นเมืองที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับสามในประเทศจีน เป็นรองเพียงเซี่ยงไฮ้และปักกิ่ง นอกจากนี้ เชินเจิ้นยังมีอัตราการเติบโตของจีดีพีระหว่างปี 2016 ถึง 2017 อยู่ที่ 8.8% ซึ่งมากกว่าฮ่องกงและสิงคโปร์ที่ 3.7 และ 2.5% ตามลำดับ[37] และด้วยมูลค่าราคาตลาดซึ่งสูงถึง 2.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ณ วันที่ 30 พฤศจิกายน ค.ศ. 2018 ส่งผลให้ตลาดหลักทรัพย์เชินเจิ้นเป็นตลาดหลักทรัพย์ที่ขนาดใหญ่เป็นอันดับ 8 ของโลก

จากข้อมูลโดยดัชนีการเงินทั่วโลกประจำปี 2021 เชินเจิ้นได้รับการจัดอันดับให้เป็นศูนย์กลางทางการเงินที่มีการแข่งขันสูงที่สุด และใหญ่ที่สุดในโลกอันดับที่ 8 และอันดับที่ 6 ในภูมิภาคเอเชียและโอเชียเนีย (รองจากเซี่ยงไฮ้ ฮ่องกง สิงคโปร์ ปักกิ่ง และโตเกียว) ในปี 2020 เชินเจิ้นได้รับการจัดอันดับให้เป็นเมืองอัลฟ่า (เมืองชั้นนำอันดับ 1 ของโลก) โดยเครือข่ายการวิจัยโลกาภิวัตน์และเมืองโลก และเป็นเมืองที่มีจำนวนมหาเศรษฐีอาศัยอยู่มากเป็นอันดับ 5 ของโลก[38] และมีการคาดการณ์กันว่า อัตราจีดีพีของเมืองนี้จะมีขนาดใหญ่ที่สุด 10 อันดับแรกของโลกในปี 2035 ร่วมกับเมืองเศรษฐกิจอื่น ๆ ในประเทศจีนอย่างปักกิ่ง, เซี่ยงไฮ้, กว่างโจว นอกจากนี้ จากการศึกษาโดยมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด มีการประมาณการว่าอัตราจีดีพีเฉลี่ยต่อหัวของเมืองนี้จะสูงกว่า 57,000 ดอลลาร์สหรัฐในปี 2030 ซึ่งจะมากที่สุดในจีนแผ่นดินใหญ่ และจะมีขนาดเท่ากับโตเกียวและโซล[39]

เชินเจิ้นเป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางสายไหมทางทะเลในช่วงศตวรรษที่ 21 ซึ่งทอดยาวจากชายฝั่งจีนทางใต้ ไปจนถึงปลายสุดของประเทศอินเดียผ่านคลองสุเอซจนถึงทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ผ่านภูมิภาคเอเดรียติกตอนบนจนถึงศูนย์กลางทางตอนเหนือของอิตาลีที่เมืองตรีเยสเต โดยมีเส้นทางรถไฟเชื่อมต่อไปยังภูมิภาคยุโรปกลาง และทะเลเหนือ[40][41][42][43]

จากข้อมูล ณ เดือนสิงหาคม ค.ศ. 2023 เชินเจิ้นมีสำนักงานใหญ่ของบริษัทชั้นนำที่ติดอันดับโดย Fortune Global 500 มากเป็นอันดับ 7 ในโลก และมากเป็นอันดับสามในจีนรองจากปักกิ่ง และเซี่ยงไฮ้[44]

การท่องเที่ยว

Thumb
Fairmont Hotels and Resorts ทางฝั่งตะวันออกของเมือง

การท่องเที่ยวค่อย ๆ เติบโตในฐานะอุตสาหกรรมที่สำคัญของเชินเจิ้น เมืองนี้ได้รับการจัดอันดับอยู่ในอันดับสองตามรายชื่อ '10 เมืองที่น่าไปเยือนในปี 2019' โดย Lonely Planet ฝ่ายบริหารของเชินเจิ้นมุ่งพัฒนาความเจริญของเมืองตาม "แผนห้าปีฉบับที่ 12 เพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวของเชินเจิ้น" ได้มุ่งเน้นไปที่การเปลี่ยนเมืองให้เป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวระดับนานาชาติ โดยเน้นที่องค์ประกอบทางวิทยาศาสตร์ แฟชั่น และอุตสาหกรรมของเมือง โดยมีการรายงานว่าอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของเชินเจิ้นมีความได้เปรียบในการพัฒนาอย่างมาก เนื่องจากเมืองนี้เป็นหนึ่งในเมืองชั้นหนึ่งของจีน อีกทั้งยังมีชื่อเสียงในด้านทรัพยากรชายฝั่ง สภาพแวดล้อม สภาพภูมิอากาศ เศรษฐกิจทุนนิยม และนวัตกรรม[45]

ในปี 2015 รายได้รวมจากอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวอยู่ที่ 124.48 พันล้านหยวน (17.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) เพิ่มขึ้นร้อยละ 98.1 จากปี 2010 รายได้รวมของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวอยู่ที่ร้อยละ 28 (35 พันล้านหยวนหรือ 4.968 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) มาจากนักท่องเที่ยวต่างชาติวึ่งเพิ่มขึ้น 56.2% นอกจากนี้ ในปีนั้น เชินเจิ้นยังมีจำนวนนักท่องเที่ยวกว่า 11.63 ล้านคนซึ่งเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 53 จากปี 2010 เชินเจิ้นมีสถานที่ท่องเที่ยวมากมาย ไล่ตั้งแต่สถานที่พักผ่อนและสันทนาการ เช่น สวนสนุก สวนสาธารณะไปจนถึงอาคารสถาปัตยกรรมขนาดใหญ่ สถานที่ท่องเที่ยวส่วนใหญ่เป็นส่วนหนึ่งของเมืองจีนโพ้นทะเล (OCT) ซึ่งเป็นชื่อเรียกของสวนสาธารณะที่ OCT Enterprises เป็นเจ้าของ และมีสถานะเป็นสถานที่ท่องเที่ยวระดับ AAAAA โดยหน่วยงานการท่องเที่ยวแห่งชาติของจีน[46]

เชินเจิ้นยังมีสวนสาธารณะและชายหาดยอดนิยมหลายแห่ง เช่น สวนสาธารณะประชาชน, สวนจงซาน และยังเป็นที่ตั้งของศูนย์การเงินนานาชาติผิงอัน[47] และคิงคีย์ 100[48] ซึ่งเปรียบเสมือนศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของเมืองและตึกระฟ้าที่เป็นสัญลักษณ์ในเมือง ชุนหิงสแควร์เป็นอีกหนึ่งศูนย์การค้าที่สำคัญในภูมิภาค[49]

มีโรงแรมชั้นนำมากมายตั้งอยู่ในเชินเจิ้น เช่น กลุ่มโรงแรมแมนดาริน โอเรียนเต็ล, โรงแรมคอนราด และแมริออท

ทัศนียภาพ

Thumb
ทัศนียภาพยามค่ำคืนของอาคารรัฐบาลเชินเจิ้น โดยมีศูนย์การเงินนานาชาติผิงอันตั้งอยู่ด้านขวามือ เป็นหนึ่งในจุดชมทิวทัศน์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด

ในปี 2019 เชินเจิ้นได้รับการยกย่องจากเดอะการ์เดียนให้เป็นเป็น "ผู้นำระดับโลกในการสร้างตึกระฟ้าแห่งใหม่"[50] เชินเจิ้นอยู่ในอันดับสองของโลกตามการจัดอันดับเมืองที่มีอาคารสูงกว่า 150 เมตรมากที่สุดในโลก (297 แห่ง) เป็นรองฮ่องกงเพียงเล็กน้อย[51] และจากข้อมูลใน ค.ศ. 2016 เชินเจิ้นมีจำนวนตึกระฟ้ามากกว่าจำนวนในสหรัฐและออสเตรเลียรวมกัน[52] การก่อสร้างยังเติบโตไปอย่างรวดเร็วโดยมีตึกระฟ้ามากกว่า 85 แห่งที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างทั่วเมืองในปี 2021 ซึ่งมากที่สุดในโลก[53] ตึกระฟ้าส่วนใหญ่ในเชินเจิ้นถูกสร้างโดยสถาปนิกชาวฮ่องกงหรือชาวต่างชาติ โดยใช้รูปแบบที่ทันสมัย ​​แม้ว่าจการออกแบบโดยอิงคติคำนึงประโยชน์ จะเป็นรูปแบบสถาปัตยกรรมที่โดดเด่นในตึกระฟ้าของเมืองในช่วงปลายศตวรรษที่ 20[54] ตัวอย่างที่โดดเด่นที่สุดคืออาคารกัวเหมาที่มีความสูง 160 เมตร (525 ฟุต), ชุนหิงสแควร์ด้วยความสูงกว่า 384 เมตร (1,260 ฟุต) และคิงคีย์ 100 ด้วยความสูงกว่า 100 ชั้น

เชินเจิ้นยังมีอาคารเก่าแก่หลายแห่งซึ่งยึดรูปแบบสถาปัตยกรรมจีนดั้งเดิม

วัฒนธรรม

อาหาร

Thumb
ร้านอาหารกวางตุ้งในเขตหลัวหู

อาหารกวางตุ้งพบได้แพร่หลายที่สุด เนื่องจากผู้อพยพย้ายถิ่นฐานเข้ามาในเมืองนี้มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น เชินเจิ้นจึงมีอาหารหลากหลายประเภทรวมไปถึง อาหารแต้จิ๋ว, อาหารเสฉวน, อาหารเซี่ยงไฮ้ และอาหารหูหนาน[55]

เขตเอี้ยนเถียนถือเป็นพื้นที่ที่ชึ้นชื้อในด้านอาหารทะเลมากที่สุด โดยมีอาหารทะเลวางจำหน่ายเรียงรายตามชายหาด เช่น อาหารซินเจียง และซุปงาดำ สามารถพบได้ทั่วไป เชินเจิ้นยังมีวัฒนธรรมการดื่มชาซึ่งเป็นเอกลักษณ์[56] แมคโดนัลด์สาขาแรกในจีนแผ่นดินใหญ่เปิดให้บริการในเชินเจิ้นเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม ค.ศ. 1990 โดยให้บริการอาหารจานด่วนแบบอเมริกันในเมือง[57] เชินเจิ้นเป็นที่ตั้งของร้านชาเครือ Hey Tea ซึ่งจำหน่ายชีสและชาผลไม้หลากหลายชนิด

ดูเพิ่ม

หมายเหตุ

    อ้างอิง

    แหล่งข้อมูลอื่น

    Wikiwand in your browser!

    Seamless Wikipedia browsing. On steroids.

    Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.

    Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.