"เมาฏินี" (อาหรับ: موطني, แปลตรงตัว 'มาตุภูมิของข้า') เป็นเพลงชาติอิรักที่นำมาใช้ตั้งแต่ ค.ศ. 2004
ในอดีต เพลงนี้เป็นเพลงชาติอย่างไม่เป็นทางการของรัฐปาเลสไตน์ในช่วงกบฏอาหรับปาเลสไตน์ตอนปลายคริสต์ทศวรรษ 1930 ถึง ค.ศ. 1996 หลังประเทศนี้นำเพลงชาติมาใช้อย่างเป็นทางการ[1][2] ถึงแม้ว่าจะถูกแทนที่ด้วยเพลงชาติอย่างเป็นทางการก็ตาม ชาวปาเลสไตน์หลายคนยังคงรู้สึกภูมิใจและถือเป็นเพลงชาติอย่างไม่เป็นทางการที่สอง เพลงนี้ถือเป็นหนึ่งในเพลงชาตินิยมอาหรับ
ประวัติ
เพลงนี้มีที่มาจากกวีโด่งดังที่แต่งโดยอิบรอฮีม ฏูกอน นักกวีชาวปาเลสไตน์ประมาณ ค.ศ. 1934 และประพันธ์นำนองโดยมุฮัมมัด ฟลัยฟิล นักแต่งเพลงชาวเลบานอน ตอนแรกเพลงนี้ถือเป็นเพลงชาติปาเลสไตน์โดยพฤตินัย ก่อนที่จะแทนที่ด้วย"ฟิดาอี"อย่างเป็นทางการใน ค.ศ. 1996 อย่างไรก็ตาม ชาวปาเลสไตน์หลายคนยังคงรู้สึกถึงความเป็นอัตลักษณ์ร่วมกับ "ฟิดาอี" และให้เพลงก่อนหน้าเป็นเพลงชาติอย่างไม่เป็นทางการอันที่สอง[3]
ใน ค.ศ. 2004 เพลงนี้ได้รับการรับรองให้ใช้เป็นเพลงชาติอิรักอีกครั้ง ตามคำสั่งของพอล เบรเมอร์[4] เพื่อใช้แทนเพลงเดิมคือเพลงอัรฎุลฟุรอตัยน์ อันเป็นเพลงชาติอิรักในสมัยที่ประธานาธิบดีซัดดัม ฮุสเซนเรืองอำนาจ[5]
ภูมิหลัง
ในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1950 ถึงต้นคริสต์ทศวรรษ 1960 หลังอิรักกลายเป็นสาธารณรัฐ จึงใช้เพลงชาติ "เมาฏินี" ที่ประพันธ์โดยเลวิส แซนบากา[6] ถึงแม้ว่าจะมีชื่อเดียวกันกับเพลงชาติอิรักในปัจจุบัน ทั้งสองเพลงนี้เป็นเพลงที่แตกต่างกัน[6] โดยเพลงก่อนหน้ามีแต่เสียงบรรเลง ไม่มีเนื้อร้อง[7][6]
หลังระบอบบะอัษถูกโค่นใน ค.ศ. 2003 จึงมีการใช้ "เมาฏินี" ฉบับเก่าเป้นการชั่วคราว[6] ก่อนแทนที่ด้วย "เมาฏินี" ฉบับปัจจุบันใน ค.ศ. 2004
เนื้อร้อง
ภาษาอาหรับ[8][9] | ถ่ายเสียงด้วยอักษรโรมัน | สัทอักษรสากล | แปลไทย |
---|---|---|---|
كورال: |
I |
1 |
๑ |
ดูเพิ่ม
- "อัสซะลามุลมะละกี" อดีตเพลงชาติอิรักใน ค.ศ. 1932 ถึง 1958
- "อัรฎุลฟุรอตัยน์" อดีตเพลงชาติอิรักใน ค.ศ. 1981 ถึง 2003
- "ฮุมาตัดดิยาร" เพลงชาติซีเรีย ซึ่งประพันธ์โดยมุฮัมมัด ฟลัยฟิล
หมายเหตุ
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
Wikiwand in your browser!
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.