เทือกเขาการาโกรัม
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การาโกรัม (อักษรโรมัน: Karakoram) เป็นเทอกเขาในภูมิภาคกัศมีร์ กินพื้นที่ในเขตแดนของปากีสถาน, จีน, อินเดีย และมีส่วนปลายตะวันตกเฉียงเหนือยาวไปถึงอัฟกานิสถานกับทาจิกิสถาน พื้นที่ส่วนใหญ่ของการาโกรัมอยู่ในกิลกิตบัลติสถานของปากีสถาน ยอดเขาสูงสุดของการาโกรัม ซึ่งถือเป็นสูงสุดอันดับสอง คือ K2 อยูในกิลกิตบัลติสถานเช่นกัน การาโกรัมเริ่มต้นที่ระเบียงวาฆัน (อัฟกานิสถาน) ทางตะวันตก ทอดยาวผ่านกิลกิตบัลติสถานและลาดาขในอินเดีย[1][2] การาโกรัมมียอเขาที่สูงเกิน 7,500 m (24,600 ft) รวมสิบแปดยอด ในจำนวนนี้มีสี่ยอดที่สูงเกิน 8,000 m (26,000 ft) ได้แก่[3] K2, กาเชอร์บรุมวัน, บรอดพีค และ กาเชอร์บรุมทูว
การาโกรัม | |
---|---|
จุดสูงสุด | |
ยอด | K2 |
ความสูง เหนือระดับน้ำทะเล | 8,611 เมตร (28,251 ฟุต) |
พิกัด | 35°52′57″N 76°30′48″E |
ข้อมูลทางภูมิศาสตร์ | |
ประเทศ | อัฟกานิสถาน, จีน, อินเดีย, ปากีสถาน และ ทาจิกิสถาน |
พิกัดเทือกเขา | 36°N 76°E |
การาโกรัม | |||||||
ภาษาจีน | 喀喇昆仑山脉 | ||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ฮั่นยฺหวี่พินอิน | Kā lǎ kūnlún shānmài | ||||||
ความหมายตามตัวอักษร | "เทือกเขา การา-กุนหลุน" | ||||||
|
เทือกเขามีความยาวรวม 500 km (311 mi) และถือเป็นพื้นที่ที่มีธารน้ำแข็งมากที่สุดในโลกที่ไม่ได้อยู่ในเขตขั้วโลก ธารน้ำแข็งเซียะเฉินที่ 76 กิโลเมตร (47 ไมล์) และธารน้ำแข็งบิอาโฟที่ 63 กิโลเมตร (39 ไมล์) ถือเป็นธารน้ำแข็งใหญ่สุดอันดับสองและสามในโลกนอกเชตขั้วโลก[4]
เขตรักษาพันธุ์แห่งชาติตัชกูรฆัน และ ที่ชุ่มน้ำปามีร์ ซึ่งอยู่ในการาโกรัมในจีนล้วนได้รับการเสนอเป็นรายชื่อแหล่งมรดกโลกเบื้องต้นโดยยูเนสโก[5]
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.