รถจักรไอน้ำญี่ปุ่นแปซิฟิก
รถจักรไอน้ำญี่ปุ่นที่ใช้โดยการรถไฟแห่งประเทศไทยและจอร์แดน รุ่นนี้มี 45 คัน จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รถจักรไอน้ำของการรถไฟแห่งประเทศไทย ชั้น ญี่ปุ่นแปซิฟิก (SRT Class Japanese Pacific) หรือ รถจักรไอน้ำญี่ปุ่นแปซิฟิก (อังกฤษ: Japanese Pacific steam locomotive) มักถูกเรียกสั้น ๆ ว่า รถจักรไอน้ำแปซิฟิก สร้างโดยสมาคมอุตสาหกรรมรถไฟแห่งประเทศญี่ปุ่น การรถไฟแห่งประเทศไทยสั่งซื้อ และนำเข้าใช้งานในประเทศไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2485 - พ.ศ. 2496 มีใช้งานในประเทศไทย จำนวน 40 คัน และ ทางรถไฟสายเฮดญาซจอร์แดน ประเทศจอร์แดน จำนวน 5 คัน
รถจักรไอน้ำญี่ปุ่นแปซิฟิก | |||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
![]() รถจักรไอน้ำญี่ปุ่นแปซิฟิก หมายเลข 850 ซึ่งจอดรอในโรงรถจักรธนบุรี | |||||||||||||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||||||||||||
|
โดยชื่อรุ่นมีที่มาจากการนำชื่อสมาคมประเทศผู้ผลิต คือ สมาคมอุตสาหกรรมรถไฟแห่งประเทศญี่ปุ่น มารวมกับรูปแบบการจัดวางล้อรถไฟแบบ 4-6-2 หรือ แบบแปซิฟิก (อังกฤษ: Pacific)
ปัจจุบันการรถไฟแห่งประเทศไทยมีเก็บประจำการรถจักรรุ่นนี้ไว้ 2 คัน คือหมายเลข 824 และ 850 ใช้วิ่งในวันสำคัญต่างๆ
ประวัติ
สรุป
มุมมอง
สงครามโลกครั้งที่สอง

กรมรถไฟดำเนินการจัดซื้อรถจักรไอน้ำรุ่นใหม่ชนิดแปซิฟิกโดยมีจุดประสงค์หลักเพื่อใช้ในการลากจูงขบวนรถโดยสารรวมถึงเพื่อทดแทนรถจักรไอน้ำรุ่นเก่าเนื่องจากเกิดปัญหาเรื่องขาดแคลนอะไหล่ เช่น รถจักรไอน้ำฮาโนแมก, รถจักรไอน้ำเท็นวีลเลอร์ อี-คลาส ฯลฯ รถจักรไอน้ำแปซิฟิกถูกสร้างขึ้นโดยสมาคมอุตสาหกรรมรถไฟแห่งประเทศญี่ปุ่นระหว่าง พ.ศ. 2485 ถึง 2486 โดยมีบริษัทในสมาคมที่ดำเนินการสร้างรถจักรไอน้ำประกอบด้วย
- ฮิตาชิ ดำเนินการผลิตรถจักรจำนวน 5 คัน ประกอบด้วยหมายเลข 283-287
- นิปปอน ชาร์เรียว ดำเนินการผลิตรถจักรจำนวน 5 คัน ประกอบด้วยหมายเลข 288-292
รถจักรไอน้ำแปซิฟิกมีความคล้ายกับรถจักรไอน้ำเจเอ็นอาร์ คลาสซี 57 ชนิดแปซิฟิกที่ใช้โดยการรถไฟแห่งรัฐบาลญี่ปุ่น

เนื่องจากประเทศไทยอยู่ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ทำให้กรมรถไฟต้องใช้วิธีการนำเข้าตัวรถจักร รถลำเลียง หม้อน้ำ ล้อและอะไหล่อื่นมาประกอบที่โรงงานมักกะสันเพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงในการนำเข้ารถจักรสำเร็จรูปในระหว่างสงครามอาจถูกกองเรือดำน้ำของฝ่ายสัมพันธมิตรยิงเรือตกทะเลระหว่างการขนส่งได้
หลังสงครามโลกครั้งที่สอง

ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง กรมรถไฟได้ประสบความเสียหายในบริภัณฑ์รถไฟและสิ่งปลูกสร้างเป็นอย่างมาก ทำให้เมื่อสงครามยุติลง กรมรถไฟขาดแคลนรถจักรและล้อเลื่อนที่จะมาใช้การรับใช้ประชาชนตามสถานะเดิมต่อไป กรมรถไฟจึงได้ตั้งโครงการบูรณะกิจการรถไฟใน พ.ศ. 2492 และได้จัดซื้อรถจักรไอน้ำจากผู้สร้างต่าง ๆ รวมถึงทดแทนรถจักรไอน้ำรุ่นเก่าที่หยุดสายการผลิตไปตั้งแต่สิ้นสงครามโลกครั้งที่สอง เช่น รถจักรไอน้ำเท็นวีลเลอร์ อี-คลาส, รถจักรไอน้ำบอลด์วินมิกาโด, รถจักรไอน้ำบอลด์วินแปซิฟิก ฯลฯ โดยกรมรถไฟได้พิจารณานำเข้ารถจักรสำเร็จรูปแบบมิกาโดและแปซิฟิกจากประเทศญี่ปุ่นเหมือนกับรถจักรไอน้ำรุ่นเดียวกันที่เคยซื้อเมื่อครั้งสงครามโลกครั้งที่สองแต่ได้มีการปรับปรุงบางสิ่งให้เหมาะสมขึ้น เช่น ใช้น้ำมันเตาเป็นเชื้อเพลิงแทนฟืน เป็นต้น รถจักรไอน้ำแปซิฟิกที่ถูกนำเข้าในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สองถูกสร้างและนำเข้าใน พ.ศ. 2493 โดยบริษัทที่สร้างรถจักรประกอบด้วย
- นิปปอน ชาร์เรียว ดำเนินการผลิตรถจักรจำนวน 20 คัน ประกอบด้วยหมายเลข 821–834, 837–841, 850
- คาวาซากิเฮฟวีอินดรัสทรีส์ ดำเนินการผลิตรถจักรจำนวน 10 คัน ประกอบด้วยหมายเลข 835–836, 842–849
กรมรถไฟได้จัดประเภทรถจักรไอน้ำแปซิฟิกที่ถูกนำเข้ามาใหม่ทั้ง 30 คันว่าเป็น "ญี่ปุ่นแปซิฟิครุ่นใหม่" แยกจากรถจักรไอน้ำแปซิฟิก 10 คันก่อนที่ถูกนำเข้าระหว่างสงครามโลกครั้งที่สองว่าเป็น "ญี่ปุ่นแปซิฟิครุ่นเก่า" ทั้งนี้ รถจักรไอน้ำรุ่นนี้ยังถือเป็นรถจักรไอน้ำรุ่นสุดท้ายก่อนที่การรถไฟแห่งประเทศไทยมีนโยบายที่จะนำเอารถจักรดีเซลมาใช้งานแทนรถจักรไอน้ำ

นิปปอน ชาร์เรียวยังได้ทำการสร้างรถจักรไอน้ำแปซิฟิกใน พ.ศ. 2496 เพื่อเป็นรถจักรสำรองอีก 5 คัน และได้เสนอขายให้การรถไฟแห่งประเทศไทยโดยใช้หมายเลข 851−855 แต่การรถไฟฯ ไม่รับซื้อรถจักรไอน้ำเพิ่ม จึงขายรถจักรทั้ง 5 คันให้ประเทศจอร์แดนเพื่อใช้ในทางรถไฟสายเฮดญาซจอร์แดน ใน พ.ศ. 2502 โดยใช้หมายเลข 81–85 และรองรับรางขนาด 1.050 เมตร
ปลดระวางและรื้อฟื้น

การรถไฟแห่งประเทศไทยมีความประสงค์จะระงับการใช้ฟืนเป็นเชื้อเพลิงเพื่อเป็นการสงวนป่าไม้ซึ่งเป็นทรัพยากรธรรมชาติ จึงได้มีการทยอยยกเลิกการใช้รถจักรไอน้ำและมีการจัดซื้อรถจักรดีเซลและรถดีเซลรางมาทดแทนตั้งแต่ พ.ศ. 2504 ถึง 2518 จนเหลือเพียงทางรถไฟสายใต้ตั้งแต่สถานีชุมพรลงไปที่ยังใช้รถจักรไอน้ำจนถึง พ.ศ. 2525 การรถไฟฯ ได้เลิกใช้รถจักรไอน้ำรวมถึงรถจักรไอน้ำแปซิฟิกในการทำขบวนรถโดยสารและรถสินค้าทั้งหมด ต่อมาใน พ.ศ. 2528 การรถไฟฯ มีแนวคิดที่จะฟื้นฟูบูรณะรถจักรไอน้ำขึ้นมาอีกครั้ง โดยเลือกรถจักรไอน้ำแปซิฟิกหมายเลข 824 และ 850 ที่เคยประจำการอยู่ที่แขวงหาดใหญ่และทุ่งสง[1] และถูกย้ายมาจอดที่โรงรถจักรธนบุรีตั้งแต่วันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2517 พร้อมกับรถจักรไอน้ำมิกาโดและรถจักรไอน้ำโมกุล ซี 56 อีกรุ่นละ 2 คัน โดยโรงรถจักรธนบุรีได้ระดมช่างฝีมือและอะไหล่ที่เก็บไว้ที่โรงรถจักรทุ่งสงและโรงรถจักรอุตรดิตถ์เพื่อซ่อมบูรณะรถจักรไอน้ำทั้ง 6 เป็นระยะเวลา 4 เดือน รถจักร 953 และ 824 ได้ถูกใช้ทำขบวนพิเศษในเส้นทางกรุงเทพ – กาญจนบุรี – ท่ากิเลน นำทางขบวนเสด็จสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จะเสด็จไปยังปราสาทเมืองสิงห์ จังหวัดกาญจนบุรี ในวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2530 โดยรถจักรทั้งสองลากจูงขบวนเสด็จจากสถานีรถไฟหลวงจิตรลดาไปถึงสถานีกาญจนบุรี ก่อนจะเปลี่ยนรถจักรเป็นรถจักรไอน้ำ ซี 56 หมายเลข 713 พหุกับ 715 ทำขบวนเสด็จต่อจากสถานีกาญจนบุรีไปยังสถานีท่ากิเลนต่อไป
การบูรณะ[1]
รถจักรไอน้ำทั้ง 6 คันมีการบำรุงรักษากันมาตลอดจนถึงต้น พ.ศ. 2554 บริษัท มิสซ์ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด ซึ่งได้รับการอนุมัติจากการรถไฟแห่งประเทศไทยดำเนินการตรวจสอบ พบว่ารถจักรไอน้ำแปซิฟิกหมายเลข 824 และ 850 มีสภาพหม้อน้ำโดยเฉพาะเปลือกที่จุดเหนือเตาที่เชื้อเพลิงเผาผลานความร้อนสูงเนื้อเหล็กปกติหนา 14 มม. เหลือเพียง 5 มม. และเหล็กยึดรั้งหม้อน้ำขาด ผุกร่อนจำนวนมาก อุปกรณ์ส่วนเคลื่อนไหวรั่ว แหวนแป้นสูบกำลังหัก เป็นต้น จากการตรวจสอบสรุปได้ว่าไม่สามารถเดินรถจักรไอน้ำโดยเฉพาะรถจักรไอน้ำญี่ปุ่นแปซิฟิก หมายเลข 824 และ 850 และรวมถึงรถจักรไอน้ำมิกาโด หมายเลข 953 ได้ การรถไฟแห่งประเทศไทยจึงได้อนุมัติการบูรณะรถจักรไอน้ำแปซิฟิก หมายเลข 824 และ 850 ในราคาประมาณ 25 ล้านบาท โดยมีบริษัท มิสซ์ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด เป็นผู้ดูแลงานดำเนินรับจ้างซ่อมร่วมกับโรงรถจักรธนบุรี นอกจากหม้อนน้ำแล้วสิ่งที่ถูกปรับเปลี่ยนไปคือ ทางช่างได้ดัดแปลงระบบห้ามล้อใหม่จากระบบลมดูดเป็นระบบลมอัด เพื่อความปลอดภัยและจัดสรรรถพ่วงในการทำขบวนได้ง่ายขึ้น เนื่องจากรถพ่วงส่วนมากของการรถไฟฯ ใช้เป็นระบบลมอัด นอกจากนั้นยังติดตั้งเครื่องปั่นไฟ เพื่อใช้ในการเร่งปฏิกิริยาการทำความร้อนในเตาเผาด้วย
รถจักรไอน้ำทั้ง 2 บูรณะเสร็จเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2555 แล้วเริ่มการทดสอบรถจักรไอน้ำเส้นทาง ธนบุรี - วัดงิ้วราย - ธนบุรี เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2555 ถึงวันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2555 หลังจากวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 นั้นเริ่มการทดสอบขบวนพิเศษทดลองรถจักรไอน้ำที่ 901/902 กรุงเทพ - อยุธยา - กรุงเทพ โดยใช้ตู้โดยสาร 8 ตู้แล้วเสร็จ จึงออกให้บริการประชาชนในวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2555 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน
ขบวนพิเศษ
สรุป
มุมมอง
กรุงเทพ - อยุธยา / ฉะเชิงเทรา - นครปฐม
อนึ่ง ก่อนที่จะมีขบวนพิเศษรถจักรไอน้ำขบวนที่ 903/904 (กรุงเทพ - ฉะเชิงเทรา - กรุงเทพ) และขบวนพิเศษรถจักรไอน้ำขบวนที่ 907/908 (กรุงเทพ - นครปฐม - กรุงเทพ) ในปี พ.ศ. 2553 การรถไฟฯ ได้โครงการพาพ่อนั่งรถจักรไอน้ำ 3 จังหวัด 4-5-6 ธันวาคม ลากจูงโดยรถจักรไอน้ำญี่ปุ่นแปซิฟิค หมายเลข 824 และ 850 โดยใช้เลขขบวน "901" โดยวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2553 วิ่งในเส้นทาง กรุงเทพ - ฉะเชิงเทรา - กรุงเทพ วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2553 วิ่งในเส้นทาง กรุงเทพ - อยุธยา - กรุงเทพ และวันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2553 วิ่งในเส้นทาง กรุงเทพ - นครปฐม - กรุงเทพ หลังจากนั้นมาก็เริ่มเดินรถเส้นทาง กรุงเทพ - ฉะเชิงเทรา - กรุงเทพ เป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2556 และเริ่มเดินรถในเส้นทาง กรุงเทพ - นครปฐม - กรุงเทพ ในวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2557 ตั้งแต่นั้น
รถจักรไอน้ำญี่ปุ่นแปซิฟิค หมายเลข 824 และ 850 เคยได้เดินขบวนรถนอกวันสำคัญทางราชการมาแล้ว 2 ครั้ง ครั้งนั้นเป็นขบวนพิเศษรถจักรไอน้ำ กรุงเทพ - กาญจนบุรี - สะพานข้ามแม่น้ำแคว - วังโพ เมื่อราวๆปี พ.ศ. 2540 - พ.ศ. 2543 โดยรถจักรไอน้ำญี่ปุ่นแปซิฟิค หมายเลข 850 ทำขบวนทดสอบในปี พ.ศ. 2540 - พ.ศ. 2541 รถจักรไอน้ำญี่ปุ่นมิกาโด หมายเลข 953 ทำขบวนทดสอบในปี พ.ศ. 2542 และ รถจักรไอน้ำญี่ปุ่นแปซิฟิค หมายเลข 824 ทำขบวนทดสอบในปี พ.ศ. 2543 และขบวนพิเศษรถจักรไอน้ำที่ 907/908 กรุงเทพ - นครปฐม - กรุงเทพ เนื่องในวันลอยกระทง เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557
จนกระทั่งการระบาดทั่วของโควิด-19 ในประเทศไทย เมื่อปี พ.ศ. 2563 - 2564 ขบวนพิเศษนำเที่ยวรถจักรไอน้ำได้หยุดเดินรถชั่วคราวตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2563 แล้วก็กลับมาเดินรถอีกครั้งในวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 เรื่อยๆมา จนกระทั่งหยุดเดินรถอีกครั้งในวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2564, 12 สิงหาคม 2564 และ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2564 แล้วก็กลับมาเดินรถอีกครั้งเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2564 แต่ครั้งนี้กลับมาในเส้นทาง กรุงเทพ - อยุธยา - กรุงเทพ หลังที่ไม่ได้เดินรถในเส้นทางนี้ไปเมื่อปี พ.ศ. 2556 (ส่วนขบวนพิเศษรถจักรไอน้ำของสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี ได้งดเดินรถไป 2 ปี นับตั้งแต่เดินรถครั้งแรกในวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2562 และกลับมาเดินรถอีกครั้งในวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2565 จนถึงปัจจุบัน
รายชื่อหมายเลขรถจักร[2][3]
สรุป
มุมมอง
ประเทศไทย
หมายเลขรถจักร | ผู้ผลิต | ปีที่เข้าประจำการ | หมายเลขที่ผลิต | ภาพ | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|---|
283 | ฮิตาชิ | 2485–2486 | 1444 | ประกอบเมื่อ พ.ศ. 2486[3] | |
284 | 1445 | ![]() | |||
285 | 1446 | ||||
286 | 1447 | ||||
287 | 1448 | ![]() | |||
288 | นิปปอน ชาร์เรียว | 1035 | ![]() |
ประกอบเมื่อ พ.ศ. 2487[3] | |
289 | 1036 | ||||
290 | 1037 | ||||
291 | 1038 | ![]() |
ประกอบเมื่อ พ.ศ. 2488[3] | ||
292 | 1039 | ประกอบเมื่อ พ.ศ. 2489[3] | |||
821 | 2493 | 1522 | ![]() |
||
822 | 1523 | ![]() |
|||
823 | 1524 | ปัจจุบันเหลือโคมไฟอยู่บนชิ้นส่วนของห้องขับที่สวนวชิรเบญจทัศ ในเขตจตุจักร, กรุงเทพมหานคร | |||
824 | 1525 | ![]() |
เดิมเป็นฟืนก่อนแล้วมาใช้น้ำมันเตาภายหลัง
ปัจจุบันใช้เป็นระบบลมอัดในการทำขบวนรถ โดยทีมช่าง ณ โรงรถจักรธนบุรี[4][5][1][3] | ||
825 | 1526 | ||||
826 | 1527 | ||||
827 | 1528 | ||||
828 | 1529 | ![]() |
|||
829 | 1530 | ![]() |
|||
830 | 1531 | ||||
831 | 1538 | ||||
832 | 1539 | ||||
833 | 1540 | ||||
834 | 1541 | ||||
835 | คาวาซากิ | 3194 | ภายหลังนำเนมเพลตที่อยู่ด้านขวาของกระบังควันรถจักรไปติดตั้งบนด้านขวาของกระบังควันรถจักรของรถจักรไอน้ำแปซิฟิก หมายเลข 850[3] | ||
836 | 3195 | ||||
837 | นิปปอน ชาร์เรียว | 1542 | |||
838 | 1543 | ||||
839 | 1544 | ||||
840 | 1545 | ![]() |
|||
841 | 1546 | ![]() |
ปัจจุบันเหลือโคมไฟอยู่บนชิ้นส่วนของห้องขับที่สวนวชิรเบญจทัศ ในเขตจตุจักร, กรุงเทพมหานคร | ||
842 | คาวาซากิ | 3196 | |||
843 | 3197 | ||||
844 | 3200 | ||||
845 | 3198 | ![]() |
|||
846 | 3199 | ||||
847 | 3201 | ||||
848 | 3202 | ใช้น้ำมันเตาตั้งเเต่เริ่มเเรกประจำการ | |||
849 | 3203 | ใช้น้ำมันเตาตั้งเเต่เริ่มเเรกประจำการ | |||
850 | นิปปอน ชาร์เรียว | 1547 | ![]() |
ใช้น้ำมันเตาตั้งแต่เริ่มแรกประจำการ
ปัจจุบันใช้เป็นระบบลมอัดในการทำขบวนรถ โดยทีมช่าง ณ โรงรถจักรธนบุรี ที่ขวามือของกระบังควันมีเนมเพลตของคาวาซากิเฮฟวี่อินดรัสทรีส์ที่ติดอยู่กระบังควันมาจากหมายเลข 835[4][5][1][3] |
ประเทศจอร์แดน
หมายเลขรถจักร | ผู้ผลิต | ปีที่สร้าง | ปีที่เข้าประจำการ | หมายเลขที่ผลิต | ภาพ | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|---|---|
81 | นิปปอน ชาร์เรียว | 2496 | 2501–2502 | 1609 | ![]() |
|
82 | 1610 | ![]() |
||||
83 | 1611 | ตัดบัญชีประมาณก่อน พ.ศ. 2526[2] | ||||
84 | 1612 | ![]() |
||||
85 | 1613 | ![]() |
แกลลอรี่
- แบบของรถจักรไอน้ำญี่ปุ่นแปซิฟิค รุ่นหมายเลข 821 - 850 (ล่าง) หมายเหตุ: ในรุ่นต้นฉบับในโรงงานยังเป็นขอพ่วงแบบ ABC อยู่
- รถจักรไอน้ำญี่ปุ่นแปซิฟิค หมายเลข 824 ขณะทำการซ่อมบำรุงที่โรงรถจักรธนบุรี เขตบางกอกน้อย, กรุงเทพมหานคร
- รถจักรไอน้ำญี่ปุ่นแปซิฟิค หมายเลข 829 ขณะทำขบวนรถสินค้า ที่สถานีรถไฟอุดรธานี, จังหวัดอุดรธานี ในปี พ.ศ. 2516
- รถจักรไอน้ำญี่ปุ่นแปซิฟิค หมายเลข 824 เมื่อคราวไปเยือนทางรถไฟสายมรณะ, จังหวัดกาญจนบุรี
- รถจักรไอน้ำญี่ปุ่นแปซิฟิค หมายเลข 288 ทำการสับเปลี่ยนที่ข้างโรงรถจักรหาดใหญ่, จังหวัดสงขลา
- รถจักรไอน้ำญี่ปุ่นแปซิฟิค หมายเลข 850 ขณะทำขบวนนำเที่ยวทางรถไฟสายมรณะ ผ่านสะพานถ้ำกระแซ, จังหวัดกาญจนบุรี เมื่อปี พ.ศ. 2541
- รถจักรไอน้ำญี่ปุ่นแปซิฟิค หมายเลข 824 ทำขบวน 903 ผ่านจุดตัดถนนอโศก-ดินแดง วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2561
- รถจักรไอน้ำญี่ปุ่นแปซิฟิค หมายเลข 85 (855 เดิม) ดำเนินการโดยการรถไฟฮิญาซ, ราชอาณาจักรฮิญาซ, ประเทศจอร์แดน (หมายเหตุ: ชุดรถจักรหมายเลข 81-85 ใช้ขนาดความกว้างของรางรถไฟ คือ 1.05 เมตร)
- เนมเพลตของ 824
- รถจักรไอน้ำญี่ปุ่นแปซิฟิค หมายเลข 824 จอดอยู่ในชานชลาที่ 1 สถานีรถไฟนครปฐม เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2565
- รถจักรไอน้ำญี่ปุ่นแปซิฟิค หมายเลข 824 จอดอยู่ในชานชลาที่ 5 สถานีรถไฟกรุงเทพ เมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2565
- รถจักรไอน้ำญี่ปุ่นแปซิฟิค หมายเลข 850 จอดอยู่ในชานชลาที่ 5 สถานีรถไฟกรุงเทพ เมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2565
- เนมเพลตที่ติดอยู่กระบังควันของรถจักรไอน้ำญี่ปุ่นแปซิฟิค หมายเลข 835 ที่ติดอยู่บนรถจักรไอน้ำญี่ปุ่นแปซิฟิค หมายเลข 850
- รถจักรไอน้ำญี่ปุ่นแปซิฟิค หมายเลข 850 จอดอยู่ในชานชลาที่ 5 สถานีรถไฟกรุงเทพ เมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2565
- รถจักรไอน้ำญี่ปุ่นแปซิฟิค หมายเลข 850 จอดอยู่ในชานชลาที่ 5 สถานีรถไฟกรุงเทพ เมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2565
- รถจักรไอน้ำญี่ปุ่นแปซิฟิค หมายเลข 850 จอดอยู่ในชานชลาที่ 2 สถานีรถไฟนครปฐม เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2565
- รถจักรไอน้ำญี่ปุ่นแปซิฟิค หมายเลข 850 จอดอยู่ในชานชลาที่ 2 สถานีรถไฟนครปฐม เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2565
- รถจักรไอน้ำญี่ปุ่นแปซิฟิค หมายเลข 850 จอดอยู่ในชานชลาที่ 2 สถานีรถไฟนครปฐม เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2565
- รถจักรไอน้ำโมกุล C56 หมายเลข 713 (C56 15) (C5615) จอดคู่กับกับ รถจักรไอน้ำญี่ปุ่นแปซิฟิค หมายเลข 850 ณ โรงรถจักรธนบุรี เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2557
- รถจักรไอน้ำญี่ปุ่นแปซิฟิค หมายเลข 824 จอดอยู่ในชานชลาที่ 5 สถานีรถไฟกรุงเทพ เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2565
- รถจักรไอน้ำญี่ปุ่นแปซิฟิค หมายเลข 850 จอดอยู่ในชานชลาที่ 5 สถานีรถไฟกรุงเทพ เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2565
- รถจักรไอน้ำญี่ปุ่นแปซิฟิค หมายเลข 824 จอดอยู่ในชานชลาที่ 2 สถานีรถไฟฉะเชิงเทรา เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2565
- รถจักรไอน้ำญี่ปุ่นแปซิฟิค หมายเลข 850 จอดอยู่ในชานชลาที่ 2 สถานีรถไฟฉะเชิงเทรา เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2565
- รถจักรไอน้ำญี่ปุ่นแปซิฟิค หมายเลข 850 จอดแสดงในงาน Hua Lamphong in Your Eye ขณะจอดเทียบอยู่ในชานชลาที่ 5 สถานีรถไฟกรุงเทพ
- รถจักรไอน้ำญี่ปุ่นแปซิฟิค หมายเลข 824 จอดแสดงในงาน Hua Lamphong in Your Eye ขณะจอดเทียบอยู่ในชานชลาที่ 4 สถานีรถไฟกรุงเทพ
- รถจักรไอน้ำญี่ปุ่นแปซิฟิค หมายเลข 824 จอดคู่กับ รถจักรไอน้ำญี่ปุ่นแปซิฟิค หมายเลข 850 จอดแสดงในงาน Hua Lamphong in Your Eye ขณะจอดเทียบอยู่ในชานชลาที่ 4 และ 5 สถานีรถไฟกรุงเทพ
- รถจักรไอน้ำญี่ปุ่นแปซิฟิค หมายเลข 85 เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550
- รถจักรไอน้ำญี่ปุ่นแปซิฟิค หมายเลข 84 จอดที่หุบเขาวาดิรัม ประเทศจอร์แดน เมื่อวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2560
- รถจักรไอน้ำญี่ปุ่นแปซิฟิค หมายเลข 82 จอดอยู่ที่โรงรถจักรในกรุงอัมมาน เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550
- รถจักรไอน้ำญี่ปุ่นแปซิฟิค หมายเลข 85 ทำขบวนนำเที่ยวฮิญาซ เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550
- รถจักรไอน้ำญี่ปุ่นแปซิฟิค หมายเลข 85 ทำขบวนนำเที่ยวฮิญาซ เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550
- มุมมองรถจักรไอน้ำญี่ปุ่นแปซิฟิค หมายเลข 85 ทำขบวนนำเที่ยวฮิญาซ เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550
- รถจักรไอน้ำญี่ปุ่นแปซิฟิค หมายเลข 85 ทำขบวนนำเที่ยวฮิญาซ ขณะกำลังข้ามสะพาน เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550
- รถจักรไอน้ำญี่ปุ่นแปซิฟิค หมายเลข 82 ขณะทำขบวนรถโดยสารทางด้านทิศใต้ของสถานีรถไฟอัมมาน เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2543
- รถจักรไอน้ำญี่ปุ่นแปซิฟิค หมายเลข 82 ขณะทำขบวนรถโดยสารทางด้านทิศใต้ของสถานีรถไฟอัมมาน เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2543
- รถจักรไอน้ำญี่ปุ่นแปซิฟิค หมายเลข 82 ขณะทำขบวนรถโดยสารทางด้านทิศใต้ของสถานีรถไฟอัมมาน เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2543
- รถจักรไอน้ำญี่ปุ่นแปซิฟิค หมายเลข 82 ขณะทำขบวนรถโดยสารออกจากกรุงอัมมาน เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2543
- รถจักรไอน้ำญี่ปุ่นแปซิฟิค หมายเลข 82 จอดรับส่งผู้โดยสารที่สถานีรถไฟมาฟราค เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2543
- รถจักรไอน้ำญี่ปุ่นแปซิฟิค หมายเลข 82 ขณะทำขบวนรถโดยสารทางด้านทิศใต้ของสถานีรถไฟมาฟราค ขณะกำลังเข้ากรุงอัมมาน เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2543
- รถจักรไอน้ำญี่ปุ่นแปซิฟิค หมายเลข 82 ขณะทำขบวนรถโดยสารทางด้านทิศใต้ของสถานีรถไฟมาฟราค ขณะกำลังเข้ากรุงอัมมาน เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2543
เชิงอรรถและอ้างอิง
Wikiwand - on
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.