Remove ads
อาจารย์สอนพิเศษวิชาเคมีชาวไทย จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อุไรวรรณ ศิวะกุล (สกุลเดิม: ทัฬหพงศ์พันธุ์) หรือเป็นที่รู้จักในชื่อ อาจารย์อุ๊ เป็นอาจารย์สอนพิเศษวิชาเคมี ผู้ก่อตั้งโรงเรียนกวดวิชาวรรณสรณ์ (เคมี อาจารย์อุ๊) โรงเรียนกวดวิชาเคมีที่ได้รับการนิยมสูงที่สุดในประเทศไทย[1] และ อาคารวรรณสรณ์ ศูนย์รวมสถาบันกวดวิชาในเขตราชเทวี
อาจารย์อุไรวรรณได้รับการเรียกขานเป็นติวเตอร์อันดับหนึ่งในใจนักเรียนไทยมากว่า 10 ปี[2] และยังถูกเรียกขานว่าเป็น "ติวเตอร์เคมีที่มีลูกศิษย์นับล้านคน" และเป็น "คุณครูที่มีลูกศิษย์มากที่สุด"[3] และยังได้รับการไว้วางใจจากกระทรวงศึกษาธิการให้เป็นวิทยากรรับเชิญในการติววิชาเคมีในหลายโอกาส[4]
อุไรวรรณ ศิวะกุล | |
---|---|
อุไรวรรณ ศิวะกุล | |
เกิด | อุไรวรรณ ทัฬหพงศ์พันธุ์ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2498 (อายุ 69 ปี) อำเภอสุขสำราญ จังหวัดระนอง |
สัญชาติ | ไทย |
ศิษย์เก่า |
|
อาชีพ | ครู |
มีชื่อเสียงจาก | โรงเรียนกวดวิชาวรรณสรณ์ |
คู่สมรส | อนุสรณ์ ศิวะกุล |
บุตร | อกนิษฐ์พล ศิวะกุล อธิปพร ศิวะกุล |
เว็บไซต์ | อาจารย์อุไรวรรณ ศิวะกุล - โรงเรียนกวดวิชาวรรณสรณ์ |
ด้านการทำงานของอาจารย์อุ๊นั้นเดิมรับราชการครูที่โรงเรียนทับหลีสุริยวงศ์ทันทีหลังจากที่เรียนจบเมื่อ พ.ศ. 2519 และได้ลาออกจากราชการเมื่อ พ.ศ. 2521 เพื่อไปศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีและปริญญาโทตามลำดับ เมื่อศึกษาจบจึงกลับมารับราชการครูต่อที่โรงเรียนสตรีเศรษฐบุตรบำเพ็ญ กรุงเทพมหานคร ตั้งแต่ พ.ศ. 2526 ถึง พ.ศ. 2532 และย้ายไปรับราชการที่โรงเรียนสามเสนวิทยาลัย ตั้งแต่เมื่อศึกษาระดับปริญญาโท อาจารย์อุ๊ได้เริ่มทำธุรกิจกวดวิชาเป็นการหารายได้พิเศษ และได้กระทำต่อเนื่องมาเมื่อรับราชการครู เมื่อสอนอยู่ที่โรงเรียนสามเสนวิทยาลัยได้เช่าตึกแถวในละแวกนั้นเพื่อเปิดสอนพิเศษ และทำให้นักเรียนในละแวกใกล้เคียงรู้จักและสมัครเรียนมากขึ้นจากการความสำเร็จของรุ่นก่อนๆ อาจารย์อุ๊จึงลาออกจากการรับราชการครู ไปเปิดธุรกิจกวดวิชาร่วมกับสามี นายอนุสรณ์ ศิวะกุล ซึ่งลาออกจากตำแหน่งผู้ช่วยผู้อำนวยการโรงเรียนสามเสนวิทยาลัย
สมรสกับนายอนุสรณ์ ศิวะกุล หรือ อาจารย์เจี๊ยบ อดีตผู้ช่วยผู้อำนวยการโรงเรียนสามเสนวิทยาลัย ปัจจุบันเป็นประธานผู้บริหารบริษัทวรรณสรณ์และโรงเรียนกวดวิชาวรรณสรณ์ (เคมี อ.อุ๊), กรรมการผู้จัดการ บริษัท A99 มีบุตร-ธิดารวม 2 คน คือ
โรงเรียนกวดวิชาวรรณสรณ์ (ชื่อเดิม โรงเรียนกวดวิชาวรรณสรณ์ธุรกิจ) รู้จักกันในชื่อ "เคมี อาจารย์อุ๊" เป็นสถาบันกวดวิชาเคมีตั้งแต่ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นจนถึงตอนปลายตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ ทำการเรียนการสอนโดยอาจารย์อุไรวรรณ ศิวะกุล (อาจารย์อุ๊) เป็นหลัก และมีอาจารย์อธิปพร ศิวะกุล (อาจารย์อีฟ) ช่วยสอนในบางครั้ง
ในปี พ.ศ. 2525 อาจารย์อุไรวรรณได้เริ่มทำการสอนพิเศษครั้งแรกในสถาบันกวดวิชาแห่งหนึ่ง[7] จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2529 จึงได้เปิดโรงเรียนกวดวิชาของตนเองครั้งแรกในศูนย์การค้าเซ็นทรัลลาดพร้าว และทำการเรียนการสอนเป็นเวลา 3 ปี จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2532 ได้เปิดโรงเรียนกวดวิชาวรรณสรณ์เป็นอาคารเรียนแรกในห้องแถวย่านสะพานควาย กรุงเทพมหานคร (ปัจจุบันได้ปิดตัวไปแล้ว) มีการสอนแบบสด และถ่ายทอดสด ก่อนจะเพิ่มระบบการเรียนแบบดีวีดีในเวลาถัดมา[8]
ในราวปี พ.ศ. 2550 – 2551 ได้ย้ายการเรียนการสอนจากสาขาในสยามสแควร์มาที่อาคารวรรณสรณ์ และเป็นสาขาหลักสำหรับการเรียนการสอนจนถึงปัจจุบัน[9]
ในปี พ.ศ. 2556 โรงเรียนกวดวิชาวรรณสรณ์ ได้ริเริ่มระบบการเรียนด้วยคอมพิวเตอร์ (ไพรเวท) ด้วยระบบ Aurum เป็นครั้งแรก ออกแบบและจัดการโดยบริษัท C In Solutions[10]
ในปี พ.ศ. 2560 ได้เปิดตัวคอร์สใหม่คือ “Science Inter” โดยอาจารย์อธิปพร ศิวะกุล (อาจารย์อีฟ) ลูกสาวของอาจารย์อุไรวรรณ เป็นการเรียนการสอนผ่านการทดลองวิทยาศาสตร์และใช้ภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษาถึงมัธยมศึกษาตอนต้น ในปีเดียวกัน สถาบันได้เปิดให้ผู้เรียนสามารถเข้าเรียนระบบ Aurum สำหรับวิชาสังคมศึกษา โดยสถาบันกวดวิชาครูป๊อป และความถนัดแพทย์ โดยโรงเรียนกวดวิชาหมอแผน
นอกจากนี้ยังมีวิทยาศาสตร์เน้นการทดลอง เรียนเป็นภาษาอังกฤษ หรือ Science Inter ซึ่งสอนสดโดยอาจารย์อธิปพร ศิวะกุล (อาจารย์อีฟ) สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาตอนต้นอีกด้วย[11]
โรงเรียนมีระบบการเรียนแบ่งเป็น 3 รูปแบบ ได้แก่
โรงเรียนกวดวิชาวรรณสรณ์ในปัจจุบัน มีสาขาทั่วประเทศรวม 30 สาขา[12] โดยสาขาหลักตั้งอยู่ที่ ชั้น 14-15 อาคารวรรณสรณ์ ถนนพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.