Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อินทุรัตนา บริพัตร (ประสูติ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2465) มีนามเดิมว่า หม่อมเจ้าอินทุรัตนา และ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอินทุรัตนา เป็นพระธิดาในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต กับหม่อมสมพันธุ์ บริพัตร ณ อยุธยา และเป็นเจ้านายในราชวงศ์จักรีที่พระชันษาสูงที่สุดในปัจจุบัน
อินทุรัตนา บริพัตร | |
---|---|
เกิด | หม่อมเจ้าอินทุรัตนา 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2465 |
คู่สมรส | สมหวัง สารสาส (2496–ไม่ทราบ; หย่า) |
บุตร | ธรณินทร์ สารสาส สินนภา สารสาส สันติ สารสาส |
บิดามารดา | สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต หม่อมสมพันธุ์ บริพัตร ณ อยุธยา |
ลายมือชื่อ | |
อินทุรัตนาเป็นพระธิดาในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ประสูติแต่หม่อมสมพันธุ์ บริพัตร ณ อยุธยา (สกุลเดิม ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา; ธิดาพระยาวทัญญูวินิจฉัย (หม่อมหลวงชุ่ม ปาลกะวงศ์) กับคุณหญิงเลี่ยน วทัญญูวินิจฉัย) ประสูติเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2464 (แบบสากลคือ พ.ศ. 2465) ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 เมื่อประสูติดำรงพระยศที่ "หม่อมเจ้าอินทุรัตนา" มีอนุชาร่วมหม่อมมารดาสององค์ คือ หม่อมเจ้าสุขุมาภินันท์ และหม่อมเจ้าชายไม่มีพระนาม (ถึงชีพิตักษัยหลังประสูติได้ 3-4 วัน ในปลายรัชกาลที่ 6)[1] มีเชษฐาและเชษฐภคินีต่างหม่อมมารดาอีกแปดพระองค์
เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2470 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกหม่อมเจ้าอันเป็นพระโอรสธิดาในสมเด็จเจ้าฟ้าซึ่งพระชนนีทรงศักดิ์ชั้นสมเด็จ ซึ่งมารดามิได้เป็นเจ้าขึ้นดำรงพระยศเป็น "พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า"[2] หม่อมเจ้าอินทุรัตนาและหม่อมเจ้าสุขุมาภินันท์ มีพระยศขึ้นเป็น "พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า" พร้อมกัน
ต่อมาขณะพระชันษา 10 ปี พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดพระราชพิธีโสกันต์และพิธีเกศากันต์พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอินทุรัตนา พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุทธสิริโสภา และหม่อมเจ้ากาญจนฉัตร ฉัตรชัย เมื่อวันที่ 28-29 มีนาคม พ.ศ. 2474 (แบบสากลคือ พ.ศ. 2475) นับเป็นพระราชพิธีโสกันต์และพิธีเกศากันต์ครั้งสุดท้าย ก่อนการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 หลังจากนั้นก็ไม่มีพระราชพิธีโสกันต์และพิธีเกศากันต์อีกเลยจนถึงปัจจุบัน
อินทุรัตนาเคยได้รับรางวัลการประกวดรูปเขียนสำหรับนักเรียน เนื่องในงานฉลองราชสมบัติครบ 40 ปี ของสมเด็จพระราชินีนาถวิลเฮลมินาแห่งเนเธอร์แลนด์ เมื่อวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2481[3]
พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอินทุรัตนา ได้ขอพระราชทานกราบถวายบังคมทูลลาออกจากฐานันดรศักดิ์แห่งพระราชวงศ์เพื่อสมรสกับร้อยเอก สมหวัง สารสาส (บุตรของพระสารสาสน์พลขันธ์ (ลอง สุนทานนท์) กับสวัสดิ์ สารสาสน์พลขันธ์ (สกุลเดิม อัศวนนท์)) และเป็นพี่ชายของหม่อมงามจิตต์ บุรฉัตร ณ อยุธยา (หม่อมในพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเปรมบุรฉัตร))[4] เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2496[5] นับเป็นเจ้านายชั้นพระองค์เจ้าพระองค์แรกและพระองค์เดียวที่ทรงลาออกจากฐานันดรศักดิ์เพื่อสมรส[6] พิธีสมรสจัดขึ้นในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2496 ทั้งสองมีบุตร-ธิดาด้วยกันสามคน ได้แก่[7]
ต่อมาทั้งสองได้หย่ากัน โดยร้อยเอกสมหวังได้สมรสใหม่กับพนิดา สารสาส[9] (สกุลเดิม กำเนิดกาญจน์)
วันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2559 พลเรือโท พิเชฐ ตานะเศรษฐ เจ้ากรมยุทธศึกษาทหารเรือ นำคณะนายทหารชั้นผู้ใหญ่เข้าเฝ้าพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอินทุรัตนา เพื่อทูลเชิญให้เสด็จร่วมงานวันบริพัตร ในฐานะพระธิดาในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต[10]
อินทุรัตนาเป็นเจ้านายในราชวงศ์จักรีที่พระชันษาสูงที่สุดในปัจจุบัน และเป็นป้าของหม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร อดีตผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ธรรมเนียมพระยศของ พระองค์เจ้าอินทุรัตนา (พ.ศ. 2470–2496) | |
---|---|
การทูล | ฝ่าพระบาท |
การแทนตน | เกล้ากระหม่อม/เกล้ากระหม่อมฉัน |
การขานรับ | เกล้ากระหม่อม/เพคะ |
ลำดับโปเจียม | 27 |
พงศาวลีของอินทุรัตนา บริพัตร | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.