อร่าม จงสวัสดิ์
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พันตำรวจตรี อร่าม จงสวัสดิ์ (20 ตุลาคม พ.ศ. 2481 – 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2538) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดกำแพงเพชร 3 สมัย
อร่าม จงสวัสดิ์ | |
---|---|
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 20 ตุลาคม พ.ศ. 2481 อำเภอขาณุวรลักษบุรี จังหวัดกำแพงเพชร |
เสียชีวิต | 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2538 (57 ปี) |
พรรคการเมือง | สังคมชาตินิยม (2518–2519) ประชาธิปัตย์ (2519–2529) สหประชาธิปไตย (2529–2531) รวมไทย (2531–2532) ความหวังใหม่ (2533–2538) |
คู่สมรส | อุไร ทองใบ (หย่า) รุ่งกิจ ไพบูลย์พาณิชย์กิจ จริยา จันทร์ศิริ |
ประวัติ
พันตำรวจตรีอร่าม เกิดเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2481[1] เป็นบุตรของนายเกษม จงสวัสดิ์ อดีต ส.ส. กำแพงเพชร 3 สมัย และ นางละออง จงสวัสดิ์ สำเร็จการศึกษา รัฐประศาสนสตรบัณฑิต จากโรงเรียนนายร้อยตำรวจสามพราน รุ่นที่ 18 สมรสครั้งแรกกับนางอุไร ทองใบ มีธิดา 4 คน ต่อมาหย่าร้าง และสมรสครั้งที่สอง กับ นางรุ่งกิจ ไพบูลย์พาณิชย์กิจ มีธิดา 2 คน และสมรสครั้งที่สาม กับ นางจริยา จันทร์ศิริ มีบุตร-ธิดา อีก 3 คน รวมมีบุตร-ธิดา รวม 9 คน
พันตำรวจตรีอร่าม จงสวัสดิ์ เสียชีวิตเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2538 สิริอายุรวม 57 ปี และมีพิธีพระราชทานเพลิงศพ ณ วัดเสด็จ จังหวัดกำแพงเพชร เมื่อวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2539
การทำงาน
พันตำรวจตรีอร่าม เริ่มรับราชการตำรวจ ด้วยการบรรจุยศร้อยตำรวจตรี ที่สถานีตำรวจกองปราบปรามสามยอด 2 ปี ต่อมาได้ย้ายไปประจำการที่สถานีตำรวจภูธรที่จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งได้เจริญในหน้าที่การงานมาตลอด ก่อนที่ พ.ศ. 2517 จะเลื่อนยศเป็นพันตำรวจตรี ประจำสถานีตำรวจอำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ และลาออกจากราชการ เพื่อมาทำงานทางการเมือง
งานการเมือง
พันตำรวจตรีอร่าม ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2519 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ และได้รับเลือกตั้งเรื่อยมาจนถึง พ.ศ. 2529 รวม 3 สมัย
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
พันตำรวจตรีอร่าม จงสวัสดิ์ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด 3 สมัย คือ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2519 จังหวัดกำแพงเพชร สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2522 จังหวัดกำแพงเพชร สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2529 จังหวัดกำแพงเพชร สังกัดพรรคสหประชาธิปไตย
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
- พ.ศ. 2529 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[2]
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)
อ้างอิง
Wikiwand - on
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.