Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อรอนงค์ กาญจนชูศักดิ์ (เกิด 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2505) ชื่อเล่น ตุ๋ย เป็นนักการเมืองชาวไทย อดีตกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์[1] อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร ปัจจุบันสังกัดพรรคประชาธิปัตย์
บทความชีวประวัตินี้เขียนเหมือนประวัติสมัครงาน |
อรอนงค์ กาญจนชูศักดิ์ | |
---|---|
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2505 เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร |
พรรคการเมือง | ประชาธิปัตย์ (2531–2566) |
อรอนงค์ เกิดเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2505 ชื่อเล่น ตุ๋ย เป็นบุตรคนที่ 4 ของนายวินัย กาญจนชูศักดิ์ กับ นางเสาวณี กาญจนชูศักดิ์ โดยในบรรดาพี่น้องทั้ง 5 คน มีนายพินิจ กาญจนชูศักดิ์ สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร เขตสัมพันธวงศ์ เป็นพี่ชายคนโต และได้แนะนำให้อรอนงค์เข้าสู่แวดวงการเมือง ด้วยการเริ่มต้นจากการลงสมัครรับเลือกตั้งเป็น สมาชิกสภาเขตสัมพันธวงศ์ ก่อนที่จะได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภากรุงเทพมหานครในสมัยต่อมา และเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร
อรอนงค์ กาญจนชูศักดิ์ จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษา จากโรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์ ระดับปริญญาตรี นิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ และปริญญาโท ด้านรัฐประศาสนศาสตร์ กับปริญญาโท ด้านบริหารธุรกิจ จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในประเทศไทย พ.ศ. 2550 ได้รับการเลือกตั้งเป็น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร เขต 1 (เขตพระนคร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย เขตสัมพันธวงศ์ เขตบางรัก เขตสาทร เขตปทุมวัน เขตดุสิต เขตราชเทวี) โดยสวมเสื้อเบอร์ 5 สังกัด พรรคประชาธิปัตย์ ชนะไปด้วยคะแนน 101,135 คะแนน จากทั้งหมด 538 หน่วย ในหน่วยเลือกตั้งเขต 1 ร่วมกันกับ หม่อมหลวงอภิมงคล โสณกุล เบอร์ 4 ที่ได้ 105,166 คะแนน และ นางเจิมมาศ จึงเลิศศิริ เบอร์ 6 ที่ได้ 99,078 คะแนน ถือเป็นการชนะแบบยกทีม
ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 ได้มีปัญหาในการจัดตัวผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบแบ่งเขตในกรุงเทพมหานคร ซึ่งพื้นที่ของนางสาวอรอนงค์ ทับซ้อนกับหม่อมหลวงอภิมงคล โสณกุล แต่ในที่สุดพรรคประชาธิปัตย์ก็ได้มีมติส่งนางสาวอรอนงค์ ลงสมัครในพื้นที่เดิม[2] และได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร เขต 2
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 และ การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 เขาได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้งทั้ง 2 ครั้ง
อรอนงค์ประกาศลาออกจากพรรคประชาธิปัตย์ในวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2566 หลังจากนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ลาออกไปเมื่อ 2 วันก่อนหน้า[3]
ด้านประสบการณ์ทางการเมืองมีดังนี้
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.