คำถามยอดนิยม
ไทมไลน์
แชท
มุมมอง
หม่อมหลวงปิยาภัสร์ ภิรมย์ภักดี
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Remove ads
หม่อมหลวงปิยาภัสร์ ภิรมย์ภักดี (ราชสกุลเดิม: กฤดากร; 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2505) นักธุรกิจชาวไทย ที่เป็นผู้รับบทเป็นพระสุริโยทัย ในภาพยนตร์เรื่อง สุริโยไท ซึ่งกำกับโดยหม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล
Remove ads
ประวัติ
หม่อมหลวงปิยาภัสร์ ภิรมย์ภักดี เป็นบุตรีของหม่อมราชวงศ์ยงสวาสดิ์ กฤดากร อดีตรองผู้อำนวยการสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ กับท่านผู้หญิงวิยะฎา กฤดากร ณ อยุธยา มีน้องชายหนึ่งคน คือ หม่อมหลวงชโยทิต กฤดากร
บิดาเป็นโอรสของหม่อมเจ้าเสริมสวาสดิ์ กฤดากร กับหม่อมหลวงแส กฤดากร (สกุลเดิม: สนิทวงศ์; เป็นพี่สาวต่างมารดาของหม่อมหลวงบัว กิติยากร) ส่วนมารดาเป็นนางสนองพระโอษฐ์ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ที่เสียชีวิตจากอุบัติเหตุเฮลิคอปเตอร์ผู้ตามเสด็จตกที่จังหวัดนราธิวาส เมื่อปี พ.ศ. 2540 เธอสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, โรงเรียนจิตรลดา และปริญญาตรี เอกประวัติศาสตร์ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
หม่อมหลวงปิยาภัสร์ สมรสกับ จุตินันท์ ภิรมย์ภักดี อดีตประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด บุตรของจำนงค์ กับคุณหญิงสุภัจฉรี ภิรมย์ภักดี มีบุตร 3 คน คือ
- จิตภัสร์ กฤดากร
- นันทญา ภิรมย์ภักดี
- ณัยณพ ภิรมย์ภักดี
Remove ads
การแสดง
หม่อมหลวงปิยาภัสร์ ภิรมย์ภักดี เป็นที่รู้จักโดยทั่วไปจากการรับบทเป็นสมเด็จพระสุริโยทัย ในภาพยนตร์เรื่อง สุริโยไท ของ หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล และ รับบทเป็น หม่อมเจ้าใจทิพย์ เทวพรหม ในเรื่อง ใจพิสุทธิ์
การทำงาน
- ปัจจุบันเป็นเจ้าของบริษัท LIDEE DESIGN GROUP โรงงานทำซิลก์สกรีนเสื้อยืด
- ร้านขายของโมเดิร์น คลาสสิก, ร้านขายเสื้อผ้าเครื่องประดับมือสอง “เซ้คเกิน ชันซ์”
- ช่วยดูแลร้านอาหารสไตล์แม็กซิกัน “แอ็ชแท็ค”
หลังการเสียชีวิตของท่านผู้หญิงวิยะฎาผู้เป็นมารดา เธอได้เข้าถวายงานบางส่วนในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เช่น การตามเสด็จ และถวายงานเกี่ยวกับฉลองพระองค์ และสิ่งของต่าง ๆ ที่ต้องประสงค์ รวมทั้งจะเป็นผู้หนึ่งที่เดินแบบถวาย เมื่อครั้งสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง นำแฟชั่นโชว์ผ้าไหมไทย ไปแสดงในประเทศต่าง ๆ ด้วย
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
- พ.ศ. 2546 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้า (ท.จ.) (ฝ่ายใน)[2]
รางวัล
- ได้รับคัดเลือกให้เป็น 1 ใน 8 บุคคลที่เป็นสุดยอดสไตล์แห่งปี 2003 จากนิตยสารแอล ประเทศไทย
ลำดับสาแหรก
Remove ads
อ้างอิง
Wikiwand - on
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Remove ads