สโมสรฟุตบอลระนอง ยูไนเต็ด เป็นสโมสรฟุตบอลอาชีพในประเทศไทย ตั้งอยู่ที่จังหวัดระนอง ปัจจุบันแข่งขันในระดับไทยลีก 3 โซนภาคใต้
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
ชื่อเต็ม | สโมสรฟุตบอลระนอง ยูไนเต็ด | ||
---|---|---|---|
ฉายา | ฉลามอันดามัน | ||
ก่อตั้ง | พ.ศ. 2553 (ระนอง เอฟซี) พ.ศ. 2557 (ระนอง ยูไนเต็ด) พ.ศ. 2560 (แกรนด์ อันดามัน ระนอง ยูไนเต็ด) พ.ศ. 2567 (ระนอง ยูไนเต็ด) | ||
สนาม | สนามกีฬากลางจังหวัดระนอง | ||
ความจุ | 7,212 ที่นั่ง | ||
เจ้าของ | บริษัท ระนอง ยูไนเต็ด จำกัด | ||
ประธาน | วรานนท์ เกลื่อนสิน | ||
ผู้จัดการ | อรัญญา พิบูลย์ | ||
ผู้ฝึกสอน | ชวภณ กมลสินธุ์ | ||
ลีก | ไทยลีก 3 | ||
2566–67 | ไทยลีก 3 โซนภาคใต้, อันดับที่ 11 | ||
|
ประวัติสโมสร
"ฉลามอันดามัน" ระนอง เอฟซี เริ่มเดินเครื่องเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2552 หลังจากที่ได้มีการประชุมร่วมกันของทุกฝ่ายภายในจังหวัด และตัดสินใจว่าจะต้องส่งทีมเข้าร่วมแข่งขันฟุตบอลลีกภูมิภาค หลังจากซีซั่นก่อนมีปัจจัยหลายอย่างทำให้ทีมพลาดการร่วมฟาดแข้ง โดยเฉพาะเรื่องของงบประมาณ แต่มาฤดูกาลนี้ทุกอย่างได้คลี่คลายลงไป ทางองค์การบริหารส่วนจังหวัด และสมาคมกีฬาจังหวัดระนอง เข้ามาให้การสนับสนุน ทำให้ทุกอย่างสามารถขับเคลื่อนเดินไปข้างหน้าได้สะดวก ชื่อของ "ฉลามอันดามัน" ระนอง เอฟซี จึงติดทำเนียบทีมน้องใหม่ของโซนกลุ่มภาคใต้ในฟุตบอลลีกภูมิภาคดิวิชั่น 2 ทันที
ทั้งนี้การเข้ามาช่วยเหลือสนับสนุนทีมของ นายนภา นทีทอง นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดระนอง ได้มีการจัดสรรเทงบมาให้กว่า 1.8 ล้านบาท และ นายคมกฤต ฉัตรมาลีรัตน์ นายกสมาคมกีฬาจังหวัดระนองอีก 1 ล้านบาท ทำให้ทีม "ฉลามอันดามัน" ระนอง เอฟซี มีงบเพียงพอที่จะชิมลางลีกภูมิภาคปี 2010 ได้อย่างไม่มีปัญหา
ในฤดูกาล 2563 สโมสรได้เลื่อนชั้นขึ้นมาแข่งขันในไทยลีก 2 หลังจากอาร์มี่ ยูไนเต็ดถอนตัว[1]
ผู้เล่น
ผู้เล่นชุดปัจจุบัน
หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ
|
|
ผลงานของสโมสรในแต่ละฤดูกาล
ฤดูกาล | ลีก | เอฟเอ คัพ | ลีกคัพ | ลีก 3 คัพ | ผู้ทำประตูสูงสุด | จำนวนประตู | ||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ลีก | แข่ง | ชนะ | เสมอ | แพ้ | ได้ | เสีย | แต้ม | อันดับ | ||||||
2563–64 | ไทยลีก 2 | 34 | 16 | 5 | 13 | 45 | 37 | 53 | อันดับที่ 8 | ไม่ได้เข้าร่วม | งดจัดการแข่งขัน | – | เซลวัน อัลญะเบริ | 8 |
2564–65 | ไทยลีก 2 | 34 | 10 | 11 | 13 | 35 | 45 | 41 | อันดับที่ 12 | ไม่ได้เข้าร่วม | ไม่ได้เข้าร่วม | – | ย็อน กี-ซ็อง | 6 |
2565–66 | ไทยลีก 2 | 34 | 6 | 9 | 19 | 28 | 64 | 27 | อันดับที่ 17 | ไม่ได้เข้าร่วม | ไม่ได้เข้าร่วม | – | จูเลียส ชูควูมา โอโนนิวู | 9 |
2566–67 | ไทยลีก 3 โซนภาคใต้ | 22 | 3 | 6 | 13 | 14 | 46 | 15 | อันดับที่ 11 | ไม่ได้เข้าร่วม | รอบคัดเลือกรอบสอง | ไม่ได้เข้าร่วม | ยูโตะ โยชิจิมะ เมษนันท์ ยะลา |
3 |
2567–68 | ไทยลีก 3 โซนภาคใต้ |
ชนะเลิศ | รองชนะเลิศ | อันดับสาม | เลื่อนชั้น | ตกชั้น |
ผู้ฝึกสอน
รายชื่อผู้ฝึกสอน (2561 – ปัจจุบัน)
ชื่อ | สัญชาติ | ระยะเวลา | ความสำเร็จ |
---|---|---|---|
ดาเมียน เบลลอง[2] | ธันวาคม 2561 – เมษายน 2564 | รอบก่อนรองชนะเลิศ โตโยต้า ลีกคัพ 2562 อันดับที่ 4 (ระดับประเทศ) ไทยลีก 3 ฤดูกาล 2562 | |
รอยเตอร์ โมไรร่า | เมษายน – กรกฎาคม 2564 | ||
ณัฐวุฒิ รัตนาภรณ์ | กรกฎาคม 2564 – มกราคม 2565 | ||
ทิพยันต์ จันทร์แก้ว | มกราคม – มีนาคม 2565 | ||
ฟาซัล อุสมา | มีนาคม – สิงหาคม 2565 | ||
เลียวเนส ดุส ซังตุส | สิงหาคม – กันยายน 2565 | ||
มาร์กุช ฌูนีโยร์ | ตุลาคม 2565 – มกราคม 2566 | ||
ณัฐวุฒิ รัตนาภรณ์ | มกราคม – มีนาคม 2566 | ||
ฟาซัล อุสมา | มีนาคม – พฤษภาคม 2566 | ||
ทิพยันต์ จันทร์แก้ว | สิงหาคม – ตุลาคม 2566 | ||
ปริญญา จารุเหติ | ธันวาคม 2566 – มิถุนายน 2567 | ||
ชัยวัฒน์ เงาอำพันไพฑูรย์ | มิถุนายน – พฤศจิกายน 2567 | ||
ชวภณ กมลสินธุ์ | ธันวาคม 2567 – | ||
สถิติต่าง ๆ ของสโมสร
- ในฤดูกาล 2562 สโมสรสามารถผ่านเข้าถึงรอบก่อนรองชนะเลิศของ โตโยต้า ลีกคัพ 2562[3]
สโมสรพันธมิตร
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
Wikiwand in your browser!
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.