Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สโมสรฟุตบอลพิษณุโลก เป็นสโมสรฟุตบอลอาชีพในประเทศไทย โดยเป็นทีมจากจังหวัดพิษณุโลก ปัจจุบันเข้าร่วมการแข่งขันในไทยลีก 3 โซนภาคเหนือ
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
ชื่อเต็ม | สโมสรฟุตบอลพิษณุโลก |
---|---|
ฉายา | ขุนพลนเรศวร |
ก่อตั้ง | 2004 ( ทีมฟุตบอลจังหวัดพิษณุโลก ) 2007 ( สโมสรฟุตบอลพิษณุโลก หรือ พิษณุโลก เอฟซี) 2011 ( พิษณุโลก ทีเอสวาย เอฟซี ) 2015 ( สโมสรฟุตบอลพิษณุโลก เอฟซี 2015) 2019 ( สโมสรฟุตบอลพิษณุโลก เอฟซี) |
สนาม | สนามกีฬาองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก, อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก |
เจ้าของ | บริษัท สโมสรฟุตบอลพิษณุโลก จำกัด |
ประธาน | ศิริพงษ์ ฐาราชวงศ์ศึก |
ผู้ฝึกสอน | จงสฤษดิ์ วุฒิช่วย |
ลีก | ไทยลีก 3 |
2566–67 | ไทยลีก 3 โซนภาคเหนือ, อันดับที่ 3 |
ในอดีตที่ผ่านมามีทีมฟุตบอลมากมายที่ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันเข้าร่วมการแข่งขันในนามตัวแทนของจังหวัดพิษณุโลก เช่นการแข่งขันยามาฮ่าไทยแลนด์คัพ และการแข่งขันกีฬาแห่งชาติ เป็นต้น จนกระทั่งในปี 2547-2548 ทีมฟุตบอลจังหวัดพิษณุโลกได้เข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลโปรวิลเชี่ยลลีก ดิวิชั่น 2 โดยมี พล.ท.พิพัฒน์ เด็ดแก้ว เป็นผู้ก่อตั้งและควบคุมทีมในขณะนั้น โดยในครั้งนั้น ทีมฟุตบอลจังหวัดพิษณุโลกสามารถทำผลงานได้ดี โดยได้ตำแหน่งรองชนะเลิศการแข่งขันฟุตบอลโปรวิลเชี่ยลลีก ดิวิชั่น 2 รอบคัดเลือกโซนภาคเหนือ หลังจากที่ในนัดชิงชนะเลิศต้องพ่ายให้กับทีมฟุตบอลจังหวัดเชียงใหม่ไป 0-1 ที่จังหวัดพิจิตรเป็นเจ้าภาพ แต่ยังได้สิทธิเข้าไปเล่นในรอบสุดท้ายการแข่งขันฟุตบอลโปรวิลเชี่ยลลีก ดิวิชั่น 2 ระดับประเทศ ที่จังหวัดสกลนคร และสามารถทำผลงานได้อย่างยอดเยี่ยมโดยสามารถคว้าตำแหน่งชนะเลิศมาครองได้ โดยการเบียดชนะเจ้าภาพอย่างทีมฟุตบอลจังหวัดสกลนครมาได้ 1-0 ซึ่งส่งผลให้ทีมฟุตบอลจังหวัดพิษณุโลกได้โควตาขึ้นมาเล่นในการแข่งขันฟุตบอลโปรวิลเชี่ยลลีก ดิวิชั่น 1 ในปีถัดมา
ปี 2549 ทีมฟุตบอลจังหวัดพิษณุโลกได้เข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลไทยแลนด์โปรวิลเชี่ยลลีก ดิวิชั่น1 ซึ่งถือว่าเป็นลีกสูงสุดที่มีการกีฬาแห่งประเทศไทยเป็นผู้จัดการแข่งขัน โดยในปีนี้เองดูเหมือนจะเป็นการชิมลางการรวมลีกการแข่งขันของ 2 ลีกที่มาจาก การกีฬาแห่งประเทศไทย กับ สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ซึ่งการแข่งขันฟุตบอลไทยแลนด์โปรวินเชี่ยลลีก ดิวิชั่น1 ประจำปี 2549 ได้ดึงแชมป์และรองแชมป์ของปีก่อนหน้านี้ อย่างทีมฟุตบอลจังหวัดชลบุรีกับทีมฟุตบอลจังหวัดสุพรรณบุรีขึ้นไปเล่นในระดับไทยแลนด์ลีกสูงสุด และส่งทีมอย่าง ทีโอทีกับการท่าเรือฯ ในชุดที่ถือว่าเป็นชุดบีเข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลไทยแลนด์โปรวินเชี่ยลลีก ดิวิชั่น1 อีกด้วย โดยในปีนั้นได้มีกฎให้ทุกทีมที่เข้าร่วมแข่งขันจะต้องมีตราสัญลักษณ์ประจำสโมสร ดังนั้น ทีมฟุตบอลจังหวัดพิษณุโลก จึงได้มีตราสัญลักษณ์ประจำสโมสรเป็นครั้งแรก และใช้สนามกีฬากลางจังหวัดพิษณุโลกเป็นสนามเหย้า โดยในฤดูกาลนั้นทีมฟุตบอลจังหวัดพิษณุโลกทำผลงานจบลงด้วยอันดับที่ 6 ของตารางการแข่งขัน
ปี 2550 ทีมฟุตบอลจังหวัดพิษณุโลกได้จดทะเบียนเป็นบริษัทนิติบุคคลในนาม สโมสรฟุตบอลพิษณุโลก หรือ พิษณุโลก เอฟซี (PHITSANULOK FOOTBALL CLUB) โดยมี พล.ท.พิพัฒน์ เด็ดแก้ว เป็นประธานสโมสร ซึ่งในปีนั้นได้มีการรวมลีกการแข่งขันอย่างเป็นทางการของการกีฬาแห่งประเทศไทยกับสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยเป็นครั้งแรก โดย พิษณุโลก เอฟซี ได้เข้าร่วมในการแข่งขันฟุตบอลไทยแลนด์ลีก ดิวิชั่น 1 ประจำปี 2550 สายบี โดยมี ไทยแลนด์พรีเมียร์ลีกเป็นลีกสูงสุด แต่ก่อนจะเปิดฤดูกาลสโมสรเกือบได้รับโอกาสเข้าไปแข่งขันเพลย์ออฟเพื่อหาอีก 1 ทีมขึ้นไปเล่นในไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก แต่ข้อสรุปกลับให้เป็นทีมจังหวัดนครปฐม (นครปฐม ฮันเตอร์ เอฟซี) ทีมอันดับ 3 จากปีก่อน ขึ้นไปเล่นแทนในท้ายที่สุด
ในช่วงครึ่งฤดูกาลแรก พิษณุโลก เอฟซี สามารถทำผลงานได้อย่างยอดเยี่ยม โดยมีโอกาสที่จะเบียดแย่งตำแหน่งแชมป์กลุ่มกับทีมฟุตบอลจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แต่ก็ต้องไปพ่ายที่บ้านของจุฬาลงกรณ์ 3-0 จึงมีโอกาสเพียงแค่ทำอันดับสูงสุดเป็นสถิติอยู่ที่อันดับ 2 เท่านั้น แต่ในเลกที่ 2 นี่เองที่สโมสรเริ่มประสบปัญหาในด้านการเงินจึงส่งผลให้ผลงานของสโมสรเริ่มตกต่ำลงมาตามลำดับจนต้องอยู่ในสถานการณ์ของการหนีตกชั้นอย่างไม่น่าเชื่อ ซึ่งในปีนั้นจะมีทีมที่ต้องตกชั้นถึงสายละ 5 ทีมด้วยกัน แต่สุดท้ายภายใต้การบริหารของ พล.ท.พิพัฒน์ เด็ดแก้ว ที่พยายามประคับประคองสโมสรให้อยู่รอด จึงทำให้สโมสรสามารถคว้าอันดับที่ 5 ของสายบี รอดพ้นการตกชั้นที่ต้องลุ้นกันจนถึงนัดสุดท้ายอย่างหวุดหวิด ด้วยการเอาชนะ ฉะเชิงเทรา เอฟซี ไปด้วยสกอร์ 7-0 โดยในนัดนั้นสโมสรใช้สนามกีฬาพระองค์ดำในบริเวณมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามส่วนทะเลแก้วเป็นสนามเหย้า
ปี 2551 พิษณุโลก เอฟซี ได้มีการเปลี่ยนตราสัญลักษณ์ประจำสโมสร แต่สถานการณ์ของสโมสรก็ยังไม่ดีขึ้นโดยยังมีปัญหาทางด้านการเงินติดตามมาจากปีก่อน ทำให้ต้องเสียผู้เล่นฝีเท้าดีหลายคนออกจากทีมไปและส่งผลให้สโมสรทำผลงานได้อย่างตกต่ำ โดยอยู่ที่อันดับที่ 16 ซึ่งเป็นอันดับสุดท้ายของตารางต้องตกชั้นลงไปเล่นในดิวิชั่น 2 ในปีถัดไป สำหรับสนามเหย้าที่ใช้การแข่งขันในเลกแรกของฤดูกาลนั้นยังเป็น สนามกีฬาพระองค์ดำ ในบริเวณมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามส่วนทะเลแก้ว ภายหลังในเลกที่ 2 จึงได้ย้ายกลับมาใช้ สนามกีฬาจังหวัดพิษณุโลก เป็นสนามเหย้า
ปี 2552 พิษณุโลก เอฟซี ยังมีโอกาสที่จะหนีรอดการตกชั้นเพื่อที่จะหาทีมไปเล่นแทนสโมสรฟุตบอลธนาคารกรุงเทพที่ต้องยุบสโมสรไป ด้วยการต้องไปแข่งขันเพลย์ออฟกับอีก 3 ทีม คือ สโมสรฟุตบอลราชวิถี, สโมสรฟุตบอลฮอนด้า และสมาคมกีฬาจังหวัดนครสวรรค์ แต่ท้ายที่สุดสโมสรก็ต้องผิดหวังเมื่อต้องพ่ายให้กับสมาคมกีฬาจังหวัดนครสวรรค์ไป 1-2 ที่สนามกีฬากลางจังหวัดพิจิตร ซึ่งทำให้สโมสรต้องตกชั้นลงมาเล่นใน ดิวิชั่น 2 ลีกภูมิภาค โซนภาคเหนือ อย่างแน่นอน สำหรับผลงานในปีนี้ พิษณุโลก เอฟซี ทำผลงานได้ไม่ดีนักจนทำให้ พล.ท.พิพัฒน์ เด็ดแก้ว ต้องวางมือให้กลุ่มผู้บริหารชุดใหม่เข้ามาทำทีมแทน โดยสุดท้ายสโมสรจบฤดูกาลที่อันดับ 6 ของตารางลีกภูมิภาค โซนภาคเหนือ
ปี 2553 พิษณุโลก เอฟซี ยังทำผลงานในลีกภูมิภาคได้ไม่ดีนักจากการขาดความพร้อมในหลายๆ ด้าน ทั้งด้านการบริหารจัดการและความมุ่งมั่นของตัวผู้เล่น ส่งผลให้สโมสรทำผลงานได้แย่กว่าปีก่อน โดยจบฤดูกาลที่อันดับ 7 ของตารางลีกภูมิภาค โซนภาคเหนือ
ปี 2554 พิษณุโลก เอฟซี สามารถทำผลงานได้ดีด้วยสถิติไม่แพ้ใครในเลกที่ 1 และในเลกที่ 2 สโมสรได้ บริษัท ไทยเส็งยนต์การเกษตร จำกัด เข้ามาเป็นผู้สนับสนุนทางการเงินแก่สโมสร พร้อมเปลี่ยนชื่อสโมสรจาก พิษณุโลก เอฟซี เป็น พิษณุโลก ทีเอสวาย เอฟซี ตั้งแต่การแข่งขันในเลกที่ 2 เป็นต้นไป ซึ่งสโมสรสามารถทำผลงานได้ดีอย่างต่อเนื่องจนสามารถจบฤดูกาลได้ด้วยการชนะเลิศ ลีกภูมิภาค โซนภาคเหนือ (แพ้เพียงนัดเดียวจากการแข่งขันทั้งหมด 30 นัด) ได้สิทธิ์เข้าไปแข่งขันในรอบแชมป์เปี้ยนลีก ส่วนผลการแข่งขันรอบแชมป์เปี้ยนลีกนั้น สโมสรจบการแข่งขันด้วยการได้อันดับที่ 4 ของกลุ่ม A พลาดการเลื่อนชั้นขึ้นสู่ดิวิชั่น 1 อย่างน่าเสียดาย
ปี 2555 พิษณุโลก ทีเอสวาย เอฟซี มีการเปลี่ยนแปลงหลายด้านทั้งฝ่ายจัดการและผู้เล่นของสโมสร โดยมีการปรับเปลี่ยนหัวหน้าผู้ฝึกสอนเป็น นายไพบูลย์ เลิศวิมลรัตน์ ส่วนนายสิทธิพล เอี่ยมสง่า หรือโค้ชโหน่ง ให้ดำรงตำแหน่งประธานฝ่ายเทคนิค ส่วนผู้จัดการทีมยังคงเดิมคือ พ.ต.ท.ชาญชัย หาแก้ว และมีการรับนักเตะใหม่เข้ามาเสริมทีมอีกจำนวน 21 คน เพื่อทดแทนนักเตะเดิมที่ขอย้ายทีมออกไป (ส่วนใหญ่ย้ายไปอยู่กับ นครสวรรค์ เอฟซี) พร้อมสร้างนักเตะหน้าใหม่ซึ่งเป็นคนพิษณุโลกเข้าสู่ทีมชุดใหญ่อีก 3 คน คือ อานนท์ แก้วอ่วม, เอกภาพ แกล้วกสิกิจ และ สราวุฒิ อิ่มอรชร สำหรับในด้านงบประมาณในปี 2555 ทางสโมสรได้ตั้งไว้ถึง 12 ล้านบาท โดยภาครัฐได้รับการสนับสนุนจากจังหวัดพิษณุโลก, องค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก และเทศบาลนครพิษณุโลก ส่วนผู้สนับสนุนหลักภาคเอกชน ได้แก่ ไทยเส็งยนต์การเกษตร, กลุ่มแกรนด์สปอต, กลุ่มอีซูซุฮกอันตึ้ง, เอสเอ็นเอ็นลิสซิ่ง, เอไอเอ และไอเดียเฟอร์นิเจอร์ โดยในปี 2555 สโมสรวางเป้าหมายในการเข้าสู่รอบแชมป์เปี้ยนลีกเพื่อเลื่อนชั้นขึ้นไปเล่นในศึกดิวิชั่น 1 ในฤดูกาลหน้าต่อไป นอกจากนี้ ทางสโมสรยังได้เปิดตัวแมสคอตใหม่ 2 ตัว ที่จะออกมาร่วมเชียร์กับเหล่าบรรดาแฟนบอลที่ข้างสนาม คือ "ช้างศึก" เป็นแมสคอตช้างสีม่วงที่สวมเสื้อแข่งของสโมสร และ "Violo" แมสคอตขุนศึกที่พร้อมรบในทุกสนามแข่ง ซึ่งคาดว่าจะสามารถสร้างสีสันในการแข่งขันได้ไม่น้อยและจะเป็นที่รักของเหล่าแฟนบอลของสโมสรอย่างแน่นอน
สำหรับผลการแข่งขันฤดูกาล 2555 สโมสรสามารถจบฤดูกาลในอันดับ 2 ของลีกภูมิภาค โซนภาคเหนือ (อันดับ 1 ได้แก่ สโมสรเชียงใหม่ เอฟซี) ได้สิทธิ์เข้าไปแข่งขันในรอบแชมป์เปี้ยนลีก ส่วนผลการแข่งขันรอบแชมป์เปี้ยนลีกนั้น สโมสรจบการแข่งขันด้วยการได้อันดับที่ 3 ของกลุ่ม A โดยมี คะแนน+เฮดทูเฮด+ประตูได้เสีย เท่ากับสโมสรระยอง ยูไนเต็ด ทำให้ต้องตัดสินด้วยจำนวนประตูที่ยิงได้ โดยสโมสรสามารถยิงประตูได้ 10 ประตู ซึ่งน้อยกว่าสโมสรระยอง ยูไนเต็ดที่ยิงได้ 13 ประตู ทำให้สโมสรระยอง ยูไนเต็ดได้สิทธิเลื่อนชั้นสู่ไทยลีก ดิวิชั่น 1 ในฤดูกาล 2556 ไปครอง
ปี 2555 พิษณุโลก ทีเอสวาย เอฟซี ภายใต้การนำของกุนซือใหญ่ เทเวศน์ กมลศิลป์ มีความพร้อมในทุกๆ ด้านมากกว่าทุกปีที่ผ่านมา ทั้งศักยภาพของทีมงาน หัวหน้าคณะผู้ฝึกสอน และนักเตะที่มีความสามารถ โดยเฉพาะกองเชียร์ของสโมสรที่ติดตามให้กำลังใจนักเตะขุนพลนเรศวรมาตลอด ซึ่งจะเป็นแรงสนับสนุนสำคัญที่จะทำให้สโมสรก้าวสู่ ไทยลีก ดิวิชั่น 1 ในปีนี้ ซึ่งในปี 2556 สโมสรใช้งบประมาณในการทำทีมประมาณ 14 ล้านบาท โดยได้รับการสนับสนุนจากทั้งภาคเอกชน และ อบจ.พิษณุโลก เป็นอย่างดี นอกจากนี้ ในปี 2556 สโมสรยังมีแผนในการพัฒนาทีมเยาวชนของสโมสรและส่งเข้าแข่งขันตามลีกต่างๆ เพื่อเฟ้นหานักเตะดาวรุ่งมาเป็นกำลังสำคัญของสโมรสรในระยะยาว และยังมีโครงการเปิดคลินิกฟุตบอลเพื่อเสริมทักษะฟุตบอลให้กับเยาวชนชาวพิษณุโลกเพิ่มเติมอีกด้วย
สำหรับผลการแข่งขันฤดูกาล 2556 สโมสรสามารถจบฤดูกาลในอันดับ 2 ของลีกภูมิภาค โซนภาคเหนือ (อันดับ 1 ได้แก่ สโมสรเชียงใหม่ เอฟซี) ได้สิทธิ์เข้าไปแข่งขันในรอบแชมป์เปี้ยนลีก ส่วนผลการแข่งขันรอบแชมป์เปี้ยนลีกนั้น สโมสรจบการแข่งขันด้วยการได้อันดับที่ 2 ของกลุ่ม A (อันดับ 1 ได้แก่ สโมสรร้อยเอ็ด เอฟซี)โดยมีคะแนนทิ้งห่างทีมอันดับ 3 และ 4 อย่างสโมสร ม.เกษตรศาสตร์ และ นรา ยูไนเต็ด ถึง 7 คะแนน พร้อมกับทำสถิติชนะรวดในบ้านถึง 5 นัด ทำให้สโมสรได้สิทธิเลื่อนชั้นสู่ ไทยลีก ดิวิชั่น 1 ในฤดูกาล 2557 ในที่สุด สำหรับการแข่งขันเพื่อชิงอันอับ 3 ของลีกภูมิภาค สโมสรสามารถเอาชนะ สโมสรอ่างทอง เอฟซี ด้วยประตูรวม 3 - 2 คว้าอันดับ 3 พร้อมกับเงินรางวัล 500,000 บาท ไปครอง
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
สโมสรพิษณุโลกใช้สนามกีฬาจังหวัดพิษณุโลกเป็นสนามเหย้า ตั้งอยู่บนถนนพิษณุโลก-วัดโบสถ์ (ถนนเอกาทศรถ) ใกล้กับโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาภาคเหนือ คุณภาพของที่นั่งอัฒจันทร์ ซึ่งมีถึง 3 ฝั่ง มีการต่อเติมเพื่อรองรับแฟนบอลได้สูงถึง 5,200 คน แยกออกเป็นฝั่งมีหลังคาซึ่งจะมีเก้าอี้ส่วนตัวสามารถจุแฟนบอลได้ 1,200 คน ฝั่งตรงข้ามกระถางคบเพลิงไม่มีหลังคาสามารถจุแฟนบอลได้ 2,500 คน และฝั่งแปรอักษรหลังประตูทิศเหนือสามารถจุแฟนบอล 1,500 คน โดยปัจจุบันได้มีการปรับปรุงโดยทาสีใหม่เพื่อความสวยงาม นอกจากนี้ในอนาคตสนามกีฬา องค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก สนามเหย้าของทีม "ขุนพลนเรศวร" ยังมีโครงการที่จะปรับสร้างอัฒจันทร์เพิ่มเติมให้รอบสนามอีกด้วย เพื่อรองรับแฟนบอลของทีมที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคต ซึ่งเป็นโครงการระยะเวลาอันใกล้นี้ด้วยงบประมาณของ องค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก
ด้านพื้นสนามหญ้าได้รับการดูแลรักษาเป็นอย่างดี ส่วนห้องต่าง ๆ สำหรับนักกีฬาและเจ้าหน้าที่ ประกอบด้วย ห้องพักนักกีฬาซึ่งมีห้องอาบน้ำและห้องน้ำในตัวทั้งสองฝั่ง ห้องรับรองห้องประชุมต่าง ๆ โดยมีการดัดแปลงเป็นสำนักงานและออฟฟิศขนาดย่อม ก่อนหน้านี้สนามกีฬาจังหวัดพิษณุโลกเคยถูกใช้เป็นสนามหลักในการแข่งขันกีฬาแห่งชาติครั้งที่ 37 (พิษณุโลกเกมส์) เมื่อปี พ.ศ. 2551
หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ
|
|
ตั้งแต่ พ.ศ. 2563 – ปัจจุบัน
ชื่อ-สกุล | สัญชาติ | ช่วงเวลา | เกียรติประวัติ |
---|---|---|---|
อภิชาติ โมสิกะ | 2563 – เมษายน 2564 | ||
ชำนาญ แพรขุนทด | เมษายน – พฤศจิกายน 2564 | ||
ดาเมียน เบลลอง | ธันวาคม 2564 – กุมภาพันธ์ 2565 | ||
กฤษณะ ต่ายวัลย์ กฤษณ์ ภิญโญ |
กุมภาพันธ์ – เมษายน 2565 | รองชนะเลิศ ไทยลีก 3 ฤดูกาล 2564–65 – โซนภาคเหนือ อันดับที่ 4 ไทยลีก 3 ฤดูกาล 2564–65 – รอบระดับประเทศ | |
อดุล หละโสะ | มิถุนายน – ธันวาคม 2565 | ||
ศุภชัย กลางกระแส กฤษณะ ต่ายวัลย์ |
ธันวาคม 2565 – มีนาคม 2566 | ชนะเลิศ ไทยลีก 3 ฤดูกาล 2565–66 – โซนภาคเหนือ | |
จงสฤษดิ์ วุฒิช่วย | มีนาคม – พฤษภาคม 2566 | ||
อานนท์ บรรดาศักดิ์ | มิถุนายน – ตุลาคม 2566 | ||
วิมล จันทร์คำ | ตุลาคม 2566 – ตุลาคม 2567 | ||
กฤษณะ ต่ายวัลย์ | ตุลาคม – พฤศจิกายน 2567 | ||
จงสฤษดิ์ วุฒิช่วย | พฤศจิกายน 2567 – |
ฤดูกาล/พ.ศ. | ลีก | ไทยเอฟเอคัพ | ไทยลีกคัพ | ไทยลีก 3 คัพ | |
---|---|---|---|---|---|
ระดับ | อันดับ | ||||
โปรลีก 2 | ชนะเลิศ | – | – | – | |
โปรลีก | อันดับ 6 | – | – | – | |
ไทยลีก ดิวิชัน 1 สาย B | อันดับ 5 | – | – | – | |
ไทยลีก ดิวิชัน 1 | อันดับ 16 (ตกชั้นสู่ ไทยลีก ดิวิชัน 2) | – | – | – | |
ไทยลีก ดิวิชัน 2 ลีกภูมิภาค โซนภาคเหนือ | อันดับ 6 | รอบคัดเลือก รอบแรก | – | – | |
ไทยลีก ดิวิชั่น 2 ลีกภูมิภาค โซนภาคเหนือ | อันดับ 7 | ไม่ได้เข้าร่วมการแข่งขัน | รอบ 64 ทีม | – | |
ไทยลีก ดิวิชั่น 2 ลีกภูมิภาค โซนภาคเหนือ | ชนะเลิศ (เข้ารอบแชมเปี้ยนลีก) | รอบคัดเลือก รอบ 3 | รอบคัดเลือก รอบแรก | – | |
ไทยลีก ดิวิชั่น 2 ลีกภูมิภาค รอบแชมเปี้ยนลีก กลุ่ม A | อันดับ 4 | ||||
ไทยลีก ดิวิชั่น 2 ลีกภูมิภาค โซนภาคเหนือ | อันดับ 2 (เข้ารอบแชมเปี้ยนลีก) | ไม่ได้เข้าร่วมการแข่งขัน | รอบคัดเลือก รอบแรก | – | |
ไทยลีก ดิวิชั่น 2 ลีกภูมิภาค รอบแชมเปี้ยนลีก กลุ่ม A | อันดับ 3 | ||||
ไทยลีก ดิวิชั่น 2 ลีกภูมิภาค โซนภาคเหนือ | อันดับ 2 (เข้ารอบแชมเปี้ยนลีก) | ไม่ได้เข้าร่วมการแข่งขัน | รอบ 64 ทีม | – | |
ไทยลีก ดิวิชั่น 2 ลีกภูมิภาค รอบแชมเปี้ยนลีก กลุ่ม A | อันดับ 2 (เลื่อนชั้นสู่ ไทยลีก ดิวิชั่น 1) | ||||
ไทยลีก ดิวิชั่น 2 ลีกภูมิภาค รอบชิงชนะเลิศ | อันดับ 3 | ||||
ไทยลีก ดิวิชั่น 1 | อันดับ 16 | รอบคัดเลือก รอบ 2 | รอบ 64 ทีม | – | |
ไทยลีก 4 โซนภาคเหนือ | อันดับ 3 | – | |||
ไทยลีก 4 โซนภาคเหนือ | อันดับ 4 | รอบคัดเลือก | รอบคัดเลือก รอบแรก | – | |
ไทยลีก 3 โซนภาคเหนือ | อันดับ 3 | รอบคัดเลือก | รอบคัดเลือก รอบสอง | – | |
ไทยลีก 3 รอบแชมเปียนส์ลีก โซนตอนบน[1] | อันดับ 5 | ||||
ไทยลีก 3 โซนภาคเหนือ | อันดับ 2 (เข้ารอบแชมเปี้ยนลีก) | รอบ 32 ทีม | รอบ 32 ทีม | – | |
ไทยลีก 3 รอบแชมเปี้ยนส์ลีก โซนบน | อันดับ 2 (เข้ารอบชิงอันดับที่สาม) | ||||
ไทยลีก 3 รอบระดับประเทศ นัดชิงอันดับที่สาม | อันดับ 4 | ||||
ไทยลีก 3 โซนภาคเหนือ | ชนะเลิศ (เข้ารอบแชมเปี้ยนลีก) | รอบ 16 ทีมสุดท้าย | รอบ 16 ทีมสุดท้าย | – | |
ไทยลีก 3 รอบแชมเปี้ยนส์ลีก โซนบน | อันดับ 3 | ||||
ไทยลีก 3 โซนภาคเหนือ | อันดับ 3 | รอบ 64 ทีมสุดท้าย | รอบเพลย์ออฟ | รอบ 32 ทีมสุดท้าย | |
ไทยลีก 3 โซนภาคเหนือ | รอบคัดเลือกรอบสอง | ||||
ฤดูกาล | ระดับ | แข่ง | ชนะ | เสมอ | แพ้ | ประตูได้ | ประตูเสีย | คะแนน | อันดับ |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
2549 | โปรลีก | 30 | 11 | 9 | 10 | 44 | 38 | 42 | 6 |
2550 | ไทยลีก ดิวิชัน 1 สาย B | 22 | 7 | 8 | 7 | 29 | 26 | 29 | 5 |
2551 | ไทยลีก ดิวิชัน 1 | 30 | 4 | 6 | 20 | 31 | 76 | 18 | 16 |
2552 | ไทยลีก ดิวิชั่น 2 ลีกภูมิภาค โซนภาคเหนือ | 20 | 6 | 7 | 7 | 32 | 33 | 25 | 6 |
2553 | ไทยลีก ดิวิชั่น 2 ลีกภูมิภาค โซนภาคเหนือ | 30 | 13 | 7 | 10 | 36 | 27 | 46 | 7 |
2554 | ไทยลีก ดิวิชั่น 2 ลีกภูมิภาค โซนภาคเหนือ | 30 | 22 | 7 | 1 | 56 | 13 | 73 | 1 |
ไทยลีก ดิวิชั่น 2 ลีกภูมิภาค รอบแชมเปี้ยนลีก กลุ่ม A | 10 | 4 | 1 | 5 | 13 | 14 | 13 | 4 | |
2555 | ไทยลีก ดิวิชั่น 2 ลีกภูมิภาค โซนภาคเหนือ | 34 | 21 | 11 | 2 | 51 | 18 | 74 | 2 |
ไทยลีก ดิวิชั่น 2 ลีกภูมิภาค รอบแชมเปี้ยนลีก กลุ่ม A | 10 | 4 | 2 | 4 | 10 | 10 | 14 | 3 | |
2556 | ไทยลีก ดิวิชั่น 2 ลีกภูมิภาค โซนภาคเหนือ | 30 | 18 | 9 | 3 | 51 | 16 | 63 | 2 |
ไทยลีก ดิวิชั่น 2 ลีกภูมิภาค รอบแชมเปี้ยนลีก กลุ่ม A | 10 | 6 | 1 | 3 | 12 | 7 | 19 | 2 | |
2557 | ไทยลีก ดิวิชั่น 1 | 21 | 6 | 7 | 8 | 25 | 34 | 25 | 14 |
2561 | ไทยลีก 4 โซนภาคเหนือ | 18 | 9 | 2 | 7 | 32 | 22 | 29 | 3 |
2562 | ไทยลีก 4 โซนภาคเหนือ | 27 | 12 | 9 | 6 | 43 | 25 | 45 | 4 |
2563–64 | ไทยลีก 3 โซนภาคเหนือ | 14 | 10 | 2 | 2 | 25 | 8 | 32 | 3 |
2564–65 | ไทยลีก 3 โซนภาคเหนือ | 22 | 11 | 8 | 3 | 28 | 15 | 41 | 2 |
ไทยลีก 3 รอบแชมเปี้ยนส์ลีก โซนบน | 5 | 4 | 0 | 1 | 9 | 4 | 12 | 2 | |
2565–66 | ไทยลีก 3 โซนภาคเหนือ | 22 | 17 | 5 | 0 | 60 | 17 | 56 | 1 |
ไทยลีก 3 รอบแชมเปี้ยนส์ลีก โซนบน | 5 | 3 | 1 | 1 | 11 | 10 | 10 | 3 | |
2566–67 | ไทยลีก 3 โซนภาคเหนือ | 20 | 10 | 8 | 2 | 43 | 22 | 38 | 3 |
ชนะเลิศ | รองชนะเลิศ | เลื่อนชั้น | ตกชั้น |
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.