สุเชาวน์ พลอยชุม
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สุเชาว์ พลอยชุม เป็นรองศาสตราจารย์และอดีตผู้อำนวยการสถาบันภาษาศาสตร์และวัฒนธรรมราชนครินทร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่มีผลงานการเขียนและการวิจัยทางด้านพระพุทธศาสนาในประเทศไทยมากที่สุดท่านหนึ่งของประเทศในปัจจุบัน อ. สุเชาว์เป็นชาวจังหวัดราชบุรี เคยบวชเป็นพระภิกษุและจำพรรษาที่วัดบวรนิเวศวิหาร เป็นศิษย์ใกล้ชิดท่านหนึ่งของเจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร และเคยปฏิบัติงานในฐานะเลขานุการส่วนพระองค์ของเจ้าประคุณสมเด็จตั้งแต่ยังทรงสมณศักดิ์ที่ พระสาสนโสภณ มาเป็นระยะเวลานานก่อนจะลาสิกขา
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
การศึกษา
- เปรียญธรรม ๕ ประโยค วัดบวรนิเวศวิหาร
- ศน.บ (ศาสนาและปรัชญา) มหามกุฏราชวิทยาลัย
- MA (Philosophy), University of Mysore, India
เกียรติคุณ
สรุป
มุมมอง
อาจารย์สุเชาว์ พลอยชุม ผลิตงานวิชาการทางพระพุทธศาสนาออกมามาก โดยเฉพาะเรื่องราวพระพุทธศาสนาในประเทศไทย อาจารย์เขียนมากเป็นพิเศษ จึงมีความชำนาญทางนี้มากเป็นพิเศษ และที่เน้นจนโดดเด่นก็คือพระพุทธศาสนาในสมัยรัตนโกสินทร์, จริยศาสตร์และปรัชญาทางพระพุทธศาสนา, สุนทรียศาสตร์ในพุทธศาสตร์, พระพุทธศาสนาในอินเดีย
อาจารย์สุเชาว์ พลอยชุม เป็นศิษย์อาจารย์ สุชีพ ปุญญานุภาพ ท่านหนึ่งที่มีความแตกฉานในพระไตรปิฎกมาก และเป็นเจ้าของโครงการพระไตรปิฎกศึกษาสำหรับประชาชน ซึ่งเป็นโครงการที่มุ่งถ่ายทอดความรู้ในพระไตรปิฎกไปสู่สาธารณชนทั่วไปและประสบความสำเร็จดีมาก ผู้สนใจจะเข้าอบรมตามโครงการนี้เพื่อให้เข้าถึงเนื้อหาพระไตรปิฎกอย่างเป็นระบบ และโครงการพุทธศาสนศึกษาสำหรับประชาชน เพื่อการเรียนรู้สิ่งที่ชาวพุทธควรรู้ ติดต่อได้ที่สถาบันภาษาศาสตร์และวัฒนธรรมศึกษาราชนครินทร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โครงการอบรมดังกล่าวจัดแบ่งเป็นหลักสูตรระยะสั้น 3 ภาค ประกอบด้วย
โครงการพระไตรปิฎกศึกษาสำหรับประชาชน เนื้อหาบรรยายมี 3 ภาค
- ภาค 1 ความรู้เรื่องพระไตรปิฎก และศึกษาพุทธศาสนาจากพระไตรปิฎก
- ภาค 2 สุตตันตปิฎกศึกษา
- ภาค 3 วินัยปิฎกและอภิธรรมปิฎกศึกษา
แต่ละภาคใช้เวลาบรรยาย 30 ชั่วโมง เรียนทุกวันจันทร์และวันอังคารเวลา 17.00 - 19.00 น.
โครงการพุทธศาสนศึกษาสำหรับประชาชน เพื่อการเรียนรู้สิ่งที่ชาวพุทธควรรู้ เนื้อหาบรรยายมี 3 ภาค
- ภาคที่ 1 ศึกษาคัมภรีน์อรรถกถาธรรมบท
- ภาคที่ 2 ศึกษาคัมภีร์มงคลทีปนี
- ภาคที่ 3 ศึกษาคัมภีร์วิสุทธิมรรค
แต่ละภาคใช้เวลาบรรยาย 30 ชั่วโมง เรียนทุกวันพฤหัสบดี เวลา 15.30 - 18.00 น.และวันเสาร์ เวลา 09.00 -12.00 น.
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สถาบันภาษาศาสตร์และวัฒนธรรมศึกษาราชนครินทร์ อาคารศูนย์เรียนรวม 2 ชั้นล่าง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โทร.0-2942-8788-9
หน้าที่การงานในปัจจุบัน
- ที่ปรึกษาและคณะกรรมการสถาบันภาษาศาสตร์และวัฒนธรรมศึกษาราชนครินทร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- กรรมการมูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์
- กรรมการและที่ปรึกษาทางวิชาการมูลนิธิแผ่นดินธรรม ในพระสังฆราชูปถัมภ์
- อาจารย์พิเศษ บัณฑิตวิทยาลัย มหามกุฏราชวิทยาลัย
- ที่ปรึกษานิตยสาร ธรรมจักษุ ของมูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัย
- หัวหน้าโครงการพระไตรปิฎกศึกษาสำหรับประชาชน (เปิดอบรมพระไตรปิฎกสู่ประชาชนในวงกว้าง) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- หัวหน้าโครงการพุทธศาสนศึกษาสำหรับประชาชน เพื่อการเรียนรู้สิ่งที่ชาวพุทธควรรู้ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ผลงานทางวิชาการ
สรุป
มุมมอง
อาจารย์สุเชาว์มีผลงานทางวิชาการ ทั้งบทความและงานวิจัยเป็นจำนวนมาก หลายเล่มเป็นการรวบรวมเรียบเรียงโดยมอบให้มูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัยหรือวัดบวรนิเวศวิหาร จัดพิมพ์โดยระบุชื่อและไม่ได้ระบุชื่อผู้รวบรวม อาทิ
- คณะสงฆ์รามัญวงศ์ในประเทศไทย
- จริยศาสตร์แนวพุทธ (แปล)
- ธรรมานุกรม (รวบรวมเรียบเรียง)
- รายงานการวิจัยเรื่องการส่งเสริมพระพุทธศาสนาในสมัยรัชกาลที่ 2
- รายงานวิจัยเรื่องพระฝรั่งในประเทศไทย
- รายงานวิจัยเรื่องสำนักวิปัสสนาสายพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต
- รายงานวิจัยเรื่อง การปลูกฝังคุณธรรมของสังคมตามนวพุทธศาสน์
- พระพุทธศาสนาในอินเดียใต้ แปลและเรียบเรียง
- ประวัติคาถาชินบัญชร
- พระประวัติและพระนิพนธ์สมเด็จพระอริยวงษญาณ (สุก)
- สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ศรี)
- สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ศุข)
- สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (มี)
- สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (สุก)
- สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ด่อน)
- สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (นาค)
- สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส
- สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์
- สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (สา)
- สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
- สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์
- สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (แพ)
- สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ (ม.ร.ว.ชื่น)
- สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ปลด)
- สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (อยู่)
- สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (จวน)
- สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ปุ่น)
- สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (วาสน์)
- สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช (เจริญ)
- สุนทรียศาสตร์: ปัญหาเกี่ยวกับทฤษฎีความงามและศิลปะ
- ปรัชญาทั่วไป
- สารานุกรมพระพุทธศาสนา (รวบรวมเรียบเรียง)
- ประวัติมหามกุฏราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์
- 100 ปี มหามกุฏราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์
- ธรรมเนียมคณะธรรมยุติกนิกาย
- ประวัติคณะธรรมยุต
- ตำนานสมเด็จพระมหาวีรวงศ์
- ตำนานพระพรหมมุนี
- ตำนานพระธรรมวราภรณ์
- ตำนานพระสาสนโสภณ
- ตามรอยบาทพระพุทธองค์
- พุทธลีลา
- พุทธปรัชญาเถรวาท
- หัวใจพระพุทธศาสนา
หนังสือของรศ.สุเชาวน์ พลอยชุม ส่วนใหญ่จัดพิมพ์โดยมูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
- พ.ศ. 2548 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[1]
- พ.ศ. 2543 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[2]
- พ.ศ. 2547 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[3]
อ้างอิง
Wikiwand in your browser!
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.