สุรีย์ สุขะ
อดีตนักบอลทีมชาติไทย จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สุรีย์ สุขะ (เกิดวันที่ 27 กรกฎาคม 2525) เป็นอดีตนักฟุตบอลทีมชาติไทย[1] สุรีย์สร้างชื่อเสียงจากการแข่งขันเอเชียนคัพ 2007 ทำให้ได้เป็นนักฟุตบอลชาวไทยคนแรกที่ได้เซ็นสัญญากับสโมสรแมนเชสเตอร์ซิตีในพรีเมียร์ลีกของอังกฤษ ร่วมกับธีรศิลป์ แดงดา และ เกียรติประวุฒิ สายแวว แต่ต่อมาถูกยกเลิกสัญญาและย้ายกลับมาเล่นให้ชลบุรี เอฟซี ซึ่งเป็นสโมสรเดิมในเมืองไทย
ข้อมูลส่วนตัว | |||
---|---|---|---|
ชื่อเต็ม | สุรีย์ สุขะ | ||
วันเกิด | 27 กรกฎาคม ค.ศ. 1982 | ||
สถานที่เกิด | สกลนครไทย | ||
ส่วนสูง | 1.76 m (5 ft 9 1⁄2 in) | ||
ตำแหน่ง | แบ็คขวา/ ปีกขวา | ||
สโมสรเยาวชน | |||
2542-2544 | สกลนคร | ||
สโมสรอาชีพ* | |||
ปี | ทีม | ลงเล่น | (ประตู) |
2544 | Balestier | 8 | (2) |
2544-2550 | ชลบุรี | 96 | (7) |
2550-2551 | แมนเชสเตอร์ซิตี | 0 | (0) |
2551 | กราสฮอปเปอร์คลับซูริก | 0 | (0) |
2551-2556 | ชลบุรี | 115 | (10) |
2556-2559 | บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด | 69 | (0) |
2559-2561 | อุบล ยูเอ็มที ยูไนเต็ด | 40 | (0) |
2561-2562 | ราชบุรี มิตรผล | 11 | (0) |
2563 | เมืองกาญจน์ ยูไนเต็ด | 0 | (0) |
2563 | → กาญจนบุรี (ยืมตัว) | 9 | (0) |
ทีมชาติ | |||
2549-2555 | ไทย | 68 | (2) |
*นัดที่ลงเล่นและประตูที่ยิงให้แก่สโมสรเฉพาะลีกในประเทศเท่านั้น |
1 sources
ประวัติ
สุรีย์ สุขะ มีชื่อเล่นว่า เปรม เกิดเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2525 ที่ตำบลเดื่อศรีคันไชย อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร เป็นบุตรของ นายบัญชาและนางไพรี สุขะ มีน้องฝาแฝดคือ สุรัตน์ สุขะ เริ่มเล่นฟุตบอลครั้งแรกตอนอายุ 10 ขวบ สุรีย์จบการศึกษาชั้น ป.1-ป.5 ที่โรงเรียนโคกสีจตุรภูมิพิทยา และย้ายมาเรียนชั้น ป.6 ที่โรงเรียนพังโคนวิทยาคม จังหวัดสกลนคร ก่อนจะเรียนชั้น ม.1 ที่โรงเรียนเดิม โดยเป็นนักกีฬาฟุตบอลของโรงเรียนด้วย เมื่ออายุได้ 15 ปีก็หันมาเล่นฟุตบอลอย่างจริงจัง โดยเข้าแข่งขันฟุตบอลฤดูร้อนของจังหวัดสกลนคร รุ่นอายุไม่เกิน 15 ปี กับทีมเขื่อนน้ำอูนซึ่งทำผลงานได้ดีโดยได้เข้าไปชิงชนะเลิศ เมื่อจบชั้น ม.2 จึงได้เดินทางไปคัดตัวกับโรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชา จังหวัดชลบุรี จนได้เรียนต่อในชั้นม.3 พร้อมกับน้องชายฝาแฝด สุรัตน์ สุขะ และโกสินทร์ หทัยรัตนกุล ซึ่งเป็นผู้รักษาประตูทีมชาติไทย สุรีย์ลงเล่นตำแหน่งกองกลางให้กับโรงเรียนและทำผลงานได้ค่อนข้างดี คว้าแชมป์ฟุตบอลนักเรียน อายุไม่เกิน 18 ปี ประเภท ก. ให้สถาบันได้ อีกทั้งยังเคยติดทีมฟุตบอลเยาวชนทีมชาติไทยชุดอายุไม่เกิน 17 ปีชิงแชมป์โลก รอบสุดท้าย ที่ประเทศนิวซีแลนด์ แต่ไม่ได้ลงเล่น
การค้าแข้งในระดับสโมสร
หลังจากจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 พวกเขาทั้งสามคน (สุรีย์, สุรัตน์, โกสินทร์) ก็ถูกเรียกตัวเข้าไปเล่นให้ สโมสรชลบุรี เอฟซีในปี 2543 ซึ่งเป็นการเล่นระดับสโมสรเป็นครั้งแรก โดยลงเล่นในโปรลีกจากนั้นปีพ.ศ. 2544 จึงได้เซ็นสัญญากับสโมสรบาเลสเตียร์ในเอส-ลีกสิงคโปร์ พร้อมกับครองพล ดาวเรือง แต่ด้วยอายุเพียง 18 ปีจึงได้เล่นอยู่กับทีมสำรองเป็นส่วนมาก ลงเล่นให้ทีมชุดใหญ่เพียงแค่ 8 นัดตลอดทั้งฤดูกาล
ปี 2545 สุรีย์กลับมาร่วมทีมชลบุรีอีกครั้งและเป็นกำลังสำคัญให้ทีมจนพาทีมคว้าแชมป์โปรลีกได้ในปี พ.ศ. 2548 พร้อมคว้าสิทธิ์เล่นในไทยแลนด์พรีเมียร์ลีกได้เป็นครั้งแรกของสโมสร ทำให้สุรีย์เป็นที่รู้จักกันมากขึ้นประกอบกับการโชว์ฟอร์มที่ค่อนข้างดีทั้งของเขาเอง และสโมสรที่ได้แชมป์โปรลีก ทำให้สุรีย์ มีชื่อติดทีมชาติไทยชุดซีเกมส์ครั้งที่ 23 ที่ประเทศฟิลิปปินส์ ในปลายปี 2548 ซึ่งทีมชาติไทยสามารถคว้าแชมป์ได้เหรียญทองในที่สุด
สุรีย์ ติดทีมชาติอีกครั้งในการแข่งขันเอเซียนเกมส์ครั้งที่ 15 ที่ประเทศกาตาร์ ปี 2549 ซึ่งไทยทำผลงานได้ดีแต่ตกรอบแรก จากนั้นสุรีย์ก็ได้เล่นให้กับทีมชาติชุดใหญ่ในรายการอาเซียนคัพปี 2550 ซึ่งไทยได้รองแชมป์และสุรีย์เล่นได้โดดเด่นมากจึงได้เป็นผู้เล่นตัวจริงในทีมชาติชุดใหญ่ในรายการฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติเอเชีย หรือเอเชียนคัพ 2007ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพร่วมกับเวียดนาม มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ทำให้สุรีย์แจ้งเกิดอย่างเต็มตัวในตำแหน่งกองหลังริมเส้นฝั่งขวา โดยเฉพาะนัดที่ทีมชาติไทยพบกับทีมชาติออสเตรเลีย สามารถใช้ความคล่องตัวสู้กับผู้เล่นออสเตรเลียที่สูงใหญ่และหนากว่าได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะการเติมเกมรุกที่จัดจ้านจนฟอร์มการเล่นเป็นที่ประทับใจสโมสรฟุตบอลในต่างประเทศเป็นอย่างมากแม้ไทยจะตกรอบแรก
วันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 สุรีย์ได้เซ็นสัญญาร่วมทีมแมนเชสเตอร์ซิตี พร้อมกับเกียรติประวุฒิ สายแวว และธีรศิลป์ แดงดา โดยทั้งสามเคยไปทดสอบฝีเท้ากับแมนเชสเตอร์ซิตี มาแล้วก่อนหน้านี้ จนสเวน โกรัน อิริกสัน ประทับใจเป็นอย่างมาก [ต้องการอ้างอิง] จึงเดินทางมาเซ็นสัญญานักเตะทั้ง 3 คนที่เมืองไทย แต่ทั้ง 3 คนไม่สามารถลงเล่นให้ต้นสังกัดได้เนื่องจากไม่ได้ใบอนุญาตทำงานหรือเวิร์ค เพอร์มิต [2] และได้ทำสัญญาให้สโมสรกราสฮอปเปอร์ซูริกยืมตัวเป็นเวลา 1 ปี [3] โดยแมนเชสเตอร์ซิตีจ่ายเงินเดือนให้เดือนละสามแสนบาท รวม 8 เดือนก่อนยกเลิกสัญญาและชดเชยให้อีก 2 เดือน[4] ต่อมาสุรีย์เดินทางกลับมาเล่นและฝึกซ้อมกับต้นสังกัดเดิมในประเทศไทย [5]
4 sources
ผลงาน
- โปรวินเชียลลีก แชมป์: ฤดูกาล 2548
- ฟุตบอลถ้วยพระราชทาน ก. แชมป์: ประจำปี 2552
- ซีเกมส์ แชมป์: ปี 2548
- อาเซียนฟุตบอลแชมเปียนชิพ รองแชมป์: ปี 2550
- อาเซียนฟุตบอลแชมเปียนชิพ รองแชมป์: ปี 2551
ทำประตูในนามทีมชาติ
# | วันที่ | สถานที่ | พบ | คะแนน | ผล | รายการ |
---|---|---|---|---|---|---|
1. | 15 ตุลาคม 2550 | มาเก๊า, มาเก๊า | มาเก๊า | 7-1 | ชนะ | ฟุตบอลโลก 2010 รอบคัดเลือก |
2. | 7 ธันวาคม พ.ศ. 2553 | สนามกีฬาหลักเกอโลราบุงการ์โน, อินโดนีเซีย | อินโดนีเซีย | 1–0 | 1–2 | ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน 2010 |
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
Wikiwand in your browser!
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.