Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฟุตบอลถ้วยพระราชทาน ก ประจำปี พ.ศ. 2552 (รู้จักในชื่อรายการ อีซูซุ คอมมูนิตี้ คัพ ตามชื่อของผู้สนับสนุน) เป็นการแข่งขัน ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ก. ครั้งที่ 75 ซึ่งเป็นการแข่งขันฟุตบอลประจำปี โดยนำสโมสรชนะเลิศฟุตบอล ไทยลีก และ สโมสรชนะเลิศฟุตบอล ไทยเอฟเอคัพ เมื่อฤดูกาลที่แล้วมาแข่งขัน โดยทำการแข่งขันที่ สนามศุภชลาศัย กรุงเทพมหานคร ในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2553[1] โดยเป็นการชิงชนะเลิศกันระหว่าง สโมสรฟุตบอลเมืองทอง-หนองจอก ยูไนเต็ด สโมสรชนะเลิศไทยพรีเมียร์ลีก ฤดูกาล 2552 กับ การท่าเรือไทย สโมสรชนะเลิศ มูลนิธิไทยคม เอฟเอคัพ 2552 โดยผลการแข่งขันเป็นทาง สโมสรฟุตบอลเมืองทอง-หนองจอก ยูไนเต็ด ชนะเลิศการแข่งขันในครั้งนี้ หลังจากแข่งขันไปได้ 81 นาที ด้วยสกอร์ 2-0 เนื่องจากทาง การท่าเรือไทย ได้ประกาศขอยอมแพ้หลังเกิดเหตุการจลาจลในสนาม[2]
| |||||||
การท่าเรือไทย ประกาศขอยอมแพ้หลังเกิดเหตุจลาจล | |||||||
วันที่ | 20 กุมภาพันธ์ 2553 | ||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
สนาม | สนามศุภชลาศัย, กรุงเทพมหานคร | ||||||
ผู้ตัดสิน | อรรถกร เวชการ (ไทย) | ||||||
ผู้ชม | 13,000 | ||||||
เมืองทองฯ ยูไนเต็ด ได้ลุ้นจากจังหวะที่ ปิยะชาติ ถามะพันธ์ เปิดบอลมาถึง โคเน โมฮาเหม็ด ได้โหม่งประตูในนาทีที่ 14 แต่ผู้ตัดสินในเกมไม่ให้ประตูเพราะมีการทำฟาวล์ก่อนหน้านี้ และอีกจังหวะในนาทีที่ 16 ที่ ยายา ซูมาโฮโร มีโอกาสได้ทำประตู แต่ถูกจับล้ำหน้า
โคเน โมฮาเหม็ด ทำประตูออกนำให้กับ เมืองทองฯ ยูไนเต็ด ในนาทีที่ 67 จากลูกฟรีคิกของ ปิยะชาติ ซึ่งเป็นประตูแรกอย่างเป็นทางการของเจ้าตัวหลังย้ายมาจาก ชลบุรี เอฟซี ก่อนที่ในนาทีที่ 81 ดาโน เซียกา จะโขกทำประตูให้ทีมทิ้งห่างออกเป็น 2-0
หลังจากที่เมืองทองฯ ยูไนเต็ด ได้ประตูที่สองของเกม แฟนบอลของ การท่าเรือไทย ไม่พอใจการตัดสินของผู้ตัดสินในเกม (อรรถกร เวชการ) โดยมองว่าจังหวะประตูที่สองที่เมืองทองฯ ได้เป็นจังหวะแฮนด์บอล ก่อนจะมีการปาขวดน้ำและสิ่งของลงสนาม และจุดพลุไฟเขวี้ยงลงมา รวมถึงจุดประทัดขึ้นฟ้าเสียงดังลั่นสนาม จนเกมต้องยุติลงกลางคัน ก่อนที่ในเวลาต่อมา เหตุการณ์จะบานปลายเมื่อแฟนบอล การท่าเรือไทย พังรั้วกั้นเข้าไปทำร้ายกองเชียร์ของเมืองทองฯ จนคนดูวิ่งหนีกระโดดลงจากอัฒจันทร์ ขณะที่เจ้าหน้าที่ตำรวจและสารวัตรทหารที่มีเพียงไม่กี่คนไม่สามารถคุมสถานการณ์ได้ ทำให้เกิดเหตุวิวาทชกต่อยกันรอบสนาม[3]
ก่อนที่ในเวลาต่อมา พิเชษฐ์ มั่นคง ประธานสโมสรการท่าเรือไทย ได้ประกาศขอยอมแพ้ และยกตำแหน่งชนะเลิศการแข่งขันให้กับสโมสรเมืองทอง-หนองจอก ยูไนเต็ด[4] และในวันที่ 29 มกราคม 2554 ทางสโมสรเมืองทองฯ ยูไนเต็ด ได้เข้ารับถ้วยรางวัลอย่างเป็นทางการ ต่อหน้าพระบรมฉายาลักษณ์[5]
เมืองทองฯ ยูไนเต็ด
|
การท่าเรือไทย
|
|
|
คณะผู้ตัดสิน |
กติกา
|
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.