คำถามยอดนิยม
ไทมไลน์
แชท
มุมมอง
สุภิญญา กลางณรงค์
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Remove ads
Remove ads
สุภิญญา กลางณรงค์ (เกิด พ.ศ. 2519 ที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี) เป็นนักกิจกรรมสังคมด้านสื่อ เริ่มต้นทำงานที่ป่าใหญ่ครีเอชั่น ในฝ่ายผลิตและเขียนบทสารคดีโทรทัศน์ในปี 2537 จากนั้นร่วมงานเป็นฝ่ายสื่อและเผยแพร่ของมูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม และเป็นผู้ประสานงานคณะทำงานติดตามมาตรา 40 ของรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 ซึ่งเกี่ยวกับการจัดสรรทรัพยากรสื่อสาร สุภิญญาร่วมก่อตั้งคณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปสื่อ (คปส.) เคยดำรงตำแหน่งเลขาธิการและรองประธานคปส. หลังจากนั้นมีความสนใจในสื่อใหม่และร่วมก่อตั้งและเป็นผู้ประสานงานคนแรกของเครือข่ายพลเมืองเน็ต ในปี 2551 ก่อนจะลาออกจากทุกตำแหน่งเพื่อเข้ากระบวนการสรรหาคัดเลือกเป็นกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และได้รับคัดเลือกเป็นกรรมการกสทช.ในปี 2554

สุภิญญาเป็นที่รู้จักจากบทบาทวิพากษ์วิจารณ์นโยบายการแทรกแซงสื่อสมัยรัฐบาลทักษิณ โดยเฉพาะจากคดีที่ถูกชินคอร์ปฟ้อง เมื่อปลายปี พ.ศ. 2546 ชินคอร์ปอเรชั่นฟ้องคดีหมิ่นประมาททางอาญากับเธอในฐานะจำเลยที่ 1 จากนั้นในปลายปี พ.ศ. 2547 ก็ฟ้องซ้ำในคดีแพ่ง เรียกค่าเสียหายเป็นเงิน 400 ล้านบาท เนื่องจากการให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับผลประโยชน์ทับซ้อน ของ ทักษิณ ชินวัตร, พรรคไทยรักไทย, และชินคอร์ปอเรชั่น ศาลตัดสินยกฟ้องเมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2549 โดยเห็นว่าสุภิญญาให้สัมภาษณ์เพื่อประโยชน์สาธารณะ
สุภิญญาเป็นส่วนหนึ่งของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเมื่อปีพ.ศ. 2549 สุภิญญาแสดงความเสียใจต่อสาธารณะในภายหลังต่อบทบาทดังกล่าว และได้ลดบทบาทการเคลื่อนไหวโดยยุติการดำรงตำแหน่งเลขาธิการคปส.หลังครบวาระและไปดำรงตำแหน่งรองประธานคปส.แทน และเป็นอนุกรรมาธิการของวุฒิสภาภายใต้การสนับสนุนของ ส.ว.แต่งตั้ง
Remove ads
กสทช.
บทบาทกับกสทช. สุภิญญาดำรงตำแหน่งประธานคณะอนุกรรมการส่งเสริมการกำกับดูแลกันเอง และประธานคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ โดยระหว่างดำรงตำแหน่ง ได้ทวีตแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับงานที่ทำอย่างต่อเนื่อง ผ่านบัญชีทวิตเตอร์ @supinya[1]
เมื่อ 15 มีนาคม พ.ศ. 2560 สุภิญญาประกาศยุติการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หลังจากที่ศาลฎีกาพิพากษาว่ามีความผิดจากคดีปีนรั้วสภาเมื่อปี พ.ศ. 2560[2]ต่อมามีพระบรมราชโองการให้พ้นจากตำแหน่งตั้งแต่วันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2560[3]สุภิญญาปฏิบัติหน้าที่ในฐานะคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ระหว่างวันที่ 7 ตุลาคม 2554 ถึง 14 มีนาคม 2560
Remove ads
ประวัติการศึกษา
- มัธยมต้น โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี (รุ่นที่ 1) (สมัยที่ใช้ชื่อเป็น วิทยาลัยครูสุราษฎร์ธานี)
- มัธยมปลาย โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ศิลป์ ฝรั่งเศส
- ปริญญาตรี นิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภาควิชาสื่อสารมวลชน (เริ่มเข้าศึกษา พ.ศ. 2536)
- ปริญญาโท วารสารศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หัวข้อวิทยานิพนธ์ มาตรา 40 กับวาทกรรมการปฏิรูปสื่อ (พ.ศ. 2543)[4]
- MA Communication Policy and Regulation (Merit), University of Westminster, London (2002)
Remove ads
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
- พ.ศ. 2557 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[5]
- พ.ศ. 2555 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)[6]
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
Wikiwand - on
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Remove ads