Loading AI tools
หน่วยงานของรัฐในอนาคต จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สำนักงานส่งเสริมวัฒนธรรมสร้างสรรค์ (อังกฤษ: Thailand Creative Culture Agency; ชื่อเดิม: Thailand Creative Content Agency; ชื่อย่อ: THACCA) เป็นหน่วยงานของรัฐบาลไทย ภายใต้การกำกับดูแลโดยตรงของนายกรัฐมนตรี มีวัตถุประสงค์เพื่อขับเคลื่อนอุตสาหกรรมซอฟต์พาวเวอร์ของประเทศไทย[1] โดยจะจัดตั้งขึ้นผ่านการแปรสภาพจากสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) พร้อมทั้งรับโอนภารกิจการขับเคลื่อนซอฟต์พาวเวอร์จากสำนักงานขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง (สำนักงาน ป.ย.ป.) มาดำเนินงานเอง และกำกับดูแลโดยคณะกรรมการนโยบายส่งเสริมวัฒนธรรมสร้างสรรค์แห่งชาติที่จะแปรสภาพมาจากคณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ ภายหลังร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมวัฒนธรรมสร้างสรรค์ พ.ศ. ... มีผลบังคับใช้ในอนาคต[2]
ภาพรวมหน่วยงาน | |
---|---|
หน่วยงานก่อนหน้า | |
สำนักงานใหญ่ | 1160 ถนนเจริญกรุง แขวงบางรัก เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500 (เบื้องต้น) |
ต้นสังกัดหน่วยงาน | นายกรัฐมนตรี |
เว็บไซต์ | thacca |
สำนักงานส่งเสริมวัฒนธรรมสร้างสรรค์ เป็นหน่วยงานที่เตรียมจัดตั้งขึ้นตามร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมวัฒนธรรมสร้างสรรค์ พ.ศ. ... ซึ่งปัจจุบันยกร่างเสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้ว โดยอยู่ระหว่างการประชาพิจารณ์ตั้งแต่วันที่ 1 - 30 เมษายน พ.ศ. 2567[2] ก่อนนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี และคณะกรรมการกฤษฎีกาตามลำดับ ก่อนส่งกลับมายัง ครม. ในช่วงเดือนพฤษภาคม จากนั้น จะนำร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวเข้าสู่ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 26 ภายในสมัยประชุมสามัญประจําปีครั้งที่ 3 ในช่วงไตรมาสที่ 3[3][4] และคาดว่าที่ประชุมจะอนุมัติทั้ง 3 วาระในช่วงเดือนธันวาคม จากนั้นจะเข้าสู่การพิจารณาในชั้นของวุฒิสภาไทย ชุดที่ 13 ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2568 และคาดว่าหากผ่านชั้นของวุฒิสภาแล้ว จะประกาศใช้พระราชบัญญัติเพื่อจัดตั้งองค์กรดังกล่าวได้ในช่วงครึ่งปีแรกของปี พ.ศ. 2568[1]
ในบทเฉพาะกาลของร่างพระราชบัญญัตินี้กำหนดไว้ว่า หลังจากพระราชบัญญัตินี้บังคับใช้ ให้คณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ ทำหน้าที่เป็นคณะกรรมการนโยบายส่งเสริมวัฒนธรรมสร้างสรรค์แห่งชาติไปพลางก่อน จนกว่าจะมีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิภายในไม่เกิน 180 วัน จึงจะถือว่าคณะกรรมการถูกยุบเลิกและแปรสภาพโดยสมบูรณ์ และสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) จะถูกยุบเลิกและแปรสภาพเป็นสำนักงานส่งเสริมวัฒนธรรมสร้างสรรค์ทันที รวมถึงรับโอนภารกิจการขับเคลื่อนซอฟต์พาวเวอร์จากสำนักงานขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง (สำนักงาน ป.ย.ป.) ซึ่งเป็นหน่วยงานธุรการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ มาดำเนินงานเอง แต่ให้คณะกรรมการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ทำหน้าที่คณะกรรมการบริหารสำนักงานส่งเสริมวัฒนธรรมสร้างสรรค์ไปพลางก่อน จนกว่าจะมีการแต่งตั้งกรรมการบริหารภายในไม่เกิน 180 วัน และให้ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) ทำหน้าที่ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวัฒนธรรมสร้างสรรค์ไปพลางก่อนเช่นกัน[2]
สำนักงานส่งเสริมวัฒนธรรมสร้างสรรค์ จะเป็นหน่วยงานยุทธศาสตร์ที่รวบรวมภารกิจและงบประมาณในการสนับสนุนอุตสาหกรรมซอฟต์พาวเวอร์ไว้โดยสมบูรณ์ และมีการวางแผนงานร่วมกันทั้งหน่วยงานรัฐและเอกชน เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนอุตสาหกรรมซอฟต์พาวเวอร์ของประเทศไทยในระดับนานาชาติ
โดยสำนักงานส่งเสริมวัฒนธรรมสร้างสรรค์จะทำหน้าที่สนับสนุนอุตสาหกรรมซอฟต์พาวเวอร์ ดังนี้
ร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมวัฒนธรรมสร้างสรรค์ ได้กำหนดให้มีคณะกรรมการหลักจำนวน 4 คณะ คือ[2]
องค์ประกอบของคณะกรรมการนโยบายส่งเสริมวัฒนธรรมสร้างสรรค์แห่งชาติตามมาตรา 7 มีดังนี้
ลำดับที่ | ชื่อ | ตำแหน่ง | ตำแหน่งในคณะกรรมการ |
---|---|---|---|
1 | แพทองธาร ชินวัตร | นายกรัฐมนตรี | ประธานกรรมการ |
2 | อนุทิน ชาญวีรกูล | รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย | กรรมการโดยตำแหน่ง |
3 | ประเสริฐ จันทรรวงทอง | รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม | |
4 | มาริษ เสงี่ยมพงษ์ | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ | |
5 | สรวงศ์ เทียนทอง | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา | |
6 | ศุภมาส อิศรภักดี | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม | |
7 | พิชัย นริพทะพันธุ์ | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ | |
8 | พิพัฒน์ รัชกิจประการ | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน | |
9 | สุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม | |
10 | พลตํารวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ | |
11 | เอกนัฏ พร้อมพันธุ์ | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม | |
12 | กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 12 คนแต่ไม่เกิน 16 คน | กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ | |
24 | ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวัฒนธรรมสร้างสรรค์ | กรรมการและเลขานุการ | |
ตามมาตรา 53 ของร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมวัฒนธรรมสร้างสรรค์ ได้กำหนดให้จัดตั้ง กองทุนส่งเสริมวัฒนธรรมสร้างสรรค์ เพื่อใช้จ่ายในกิจการเกี่ยวกับการส่งเสริม ยกระดับ พัฒนา และสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐานและผู้ประกอบวิชาชีพในอุตสาหกรรมวัฒนธรรมสร้างสรรค์และผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมของประเทศไทย ทั้งในระดับประเทศและระดับนานาชาติ ตามแผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการ โดยจะบริหารโดยคณะกรรมการบริหารกองทุนส่งเสริมวัฒนธรรมสร้างสรรค์ ประกอบด้วยเงินและทรัพย์สิน ดังนี้
โดยเงินและทรัพย์สินเหล่านี้จะเป็นของสำนักงาน เพื่อใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ของกองทุนโดยไม่ต้องนำส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน
นอกจากนี้ คณะกรรมการนโยบายยังสามารถเสนอคณะรัฐมนตรีให้โอนเงินหรือทรัพย์สินจากกองทุนอื่น ๆ มาเป็นของกองทุนส่งเสริมวัฒนธรรมสร้างสรรค์ตามจำนวนที่กำหนด ดังนี้
เมื่อคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบแล้ว ให้กองทุนเหล่านี้ดำเนินการโอนทรัพย์สินภายใน 30 วัน นับแต่วันเริ่มต้นปีงบประมาณถัดไป[2]
ทักก้า สแปลช (อังกฤษ: THACCA Splash) เป็นงานประชุมนานาชาติเกี่ยวกับซอฟต์พาวเวอร์ของประเทศไทย จัดขึ้นโดยรัฐบาลไทย ผ่านสำนักงานส่งเสริมวัฒนธรรมสร้างสรรค์ (ครั้งที่ 1 จัดโดยคณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ) เพื่อเป็นการประกาศขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์อย่างเป็นทางการ โดยครั้งแรกจัดขึ้นในวันที่ 28–30 มิถุนายน พ.ศ. 2567 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ โดยจะมีการแสดงวิสัยทัศน์ของผู้ที่ประสบความสำเร็จทั้งภาครัฐและเอกชน ตัวแทนจากแบรนด์ดังระดับโลกที่มาจากหลายอุตสาหกรรมอาทิ แฟชั่น เพลง ภาพยนตร์ หรืออาหาร[6]
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.