คำถามยอดนิยม
ไทมไลน์
แชท
มุมมอง
สามารถ ม่วงศิริ
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Remove ads
พลตำรวจตรี นายแพทย์ สามารถ ม่วงศิริ (เกิด 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2512) เป็นอดีตนักการเมืองและข้าราชการตำรวจชาวไทย ตำแหน่งรองนายแพทย์ใหญ่ (สบ 7) โรงพยาบาลตำรวจ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
Remove ads
ประวัติ
สามารถ เกิดเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2512[1] เป็นบุตรนายประเสริฐ ม่วงศิริ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร กับนางรัตนา ม่วงศิริ และเป็นพี่ชายนายสากล ม่วงศิริ และนายสารัช ม่วงศิริ สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
สำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษาตอนต้น จากโรงเรียนป้วยฮั้วกงฮัก ระดับประถมศึกษาตอนปลาย จากโรงเรียนวัดหนัง ระดับมัธยมศึกษา จากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ระดับปริญญาตรี แพทยศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- ประกาศนียบัตร วิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก มหาวิทยาลัยมหิดล
- วุฒิบัตร ศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลตำรวจ
- Visiting fellow in Hip and Knee Service, Hospital for Special Surgery, New York, U.S.
- แพทย์เวชศาสตร์การบิน สถาบันเวชศาสตร์การบิน กองทัพอากาศ
- การบริหารงานตำรวจชั้นสูง รุ่นที่ 40 วิทยาลัยการตำรวจ
- การเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยสำหรับนักบริหารระดับสูง รุ่นที่ 20 สถาบันพระปกเกล้า
Remove ads
การทำงาน
- นายแพทย์ทั่วไป โรงพยาบาลกลาง กรมราชทัณฑ์
- นายแพทย์ศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลตำรวจ
- นายแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคข้อเข่าและข้อสะโพก
- กรรมการชมรมศัลยแพทย์ข้อเข่าข้อสะโพก แห่งประเทศไทย
- หัวหน้าศูนย์ส่งกลับและรถพยาบาล โรงพยาบาลตำรวจ
- ประธานศูนย์ความเป็นเลิศการลำเลียงผู้ป่วยทางอากาศ โรงพยาบาลตำรวจ
- หัวหน้าทีมปฏิบัติการ โรงพยาบาลตำรวจ ภารกิจช่วยเหลือทีมฟุตบอลหมูป่า จ.เชียงราย
งานการเมือง
สามารถได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรก ใน พ.ศ. 2554 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ โดยเอาชนะ วัน อยู่บำรุง จากพรรคเพื่อไทยไปได้ ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 เขาลงสมัครรับเลือกสังกัดพรรคประชาธิปัตย์เช่นเดิม แต่ไม่ได้รับเลือก[2]
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
สามารถ ม่วงศิริ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 1 สมัย คือ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
- พ.ศ. 2564 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[3]
- พ.ศ. 2555 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[4]
อ้างอิง
Wikiwand - on
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Remove ads