Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สัมพันธ์ ทองสมัคร (เกิด 9 ธันวาคม พ.ศ. 2485) อดีตกรรมการที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์[1] อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครศรีธรรมราช 11 สมัย อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ 2 สมัย
สัมพันธ์ ทองสมัคร | |
---|---|
ไฟล์:สัมพันธ์ ทองสมัคร 1991.jpg | |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ | |
ดำรงตำแหน่ง 29 กันยายน พ.ศ. 2535 – 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 | |
นายกรัฐมนตรี | ชวน หลีกภัย |
ก่อนหน้า | ก่อ สวัสดิ์พาณิชย์ |
ถัดไป | สุขวิช รังสิตพล |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 9 ธันวาคม พ.ศ. 2485 อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช |
พรรคการเมือง | ประชาธิปัตย์ (2518–2555) |
คู่สมรส | รุจนา ทองสมัคร |
สัมพันธ์ เกิดเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2485 ที่ตำบลหัวตะพาน อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช สำเร็จ การศึกษาระดับปริญญาตรี จากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เมื่อปี พ.ศ. 2514 และสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท จากสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เมื่อปี พ.ศ. 2535
นายสัมพันธ์ ทองสมัคร ประกอบอาชีพนักหนังสือพิมพ์มาก่อน และเป็นอาจารย์สถาบันราชภัฏนครศรีธรรมราช จากนั้นจึงได้สมัครรับเลือกตั้ง ได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครศรีธรรมราช รวม 11 สมัย (พ.ศ. 2518, 2519, 2522, 2526, 2529, 2531, 2535/1, 2535/2, 2538, 2539, 2550) โดยในการลงสมัครครั้งแรกเป็นไปโดยไม่ได้เตรียมการไว้ก่อน เนื่องจากผู้สมัครคนเดิมที่ถูกวางตัวไว้ได้ถอนตัวออกไป[2] เคยได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในปี พ.ศ. 2526-2531 (2 วาระ)[3] และเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในปี พ.ศ. 2535-2538[4]
นายสัมพันธ์มีฉายาที่เรียกกันทั่วไปว่า "หมอผี"[5] เนื่องจากมักมาทำงานที่กระทรวงตั้งแต่ยังเช้ามืดประจำ เป็นผู้หนึ่งที่มีบทบาทอย่างมาก ในการจัดสร้างวัตถุมงคล "จตุคามรามเทพ" ร่วมกับ พล.ต.ต.ขุนพันธรักษ์ราชเดช พล.ต.ท.สรรเพชญ ธรรมาธิกุล และนายอะผ่อง สกุลอมร จนเกิดกระแสจตุคามรามเทพฟีเวอร์ไปทั่วประเทศ
นายสัมพันธ์เคยกล่าวว่าจะยุติบทบาททางการเมืองแล้ว แต่ในการเลือกตั้ง 23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 นายสัมพันธ์กลับมาลงรับสมัครเลือกตั้งอีกครั้ง ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช และสามารถชนะการเลือกตั้งเป็นสมัยที่ 13
ต่อมาในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 48 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์[6] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง ต่อมาจึงได้ลาออกจากพรรคประชาธิปัตย์ เนื่องจากขอสนองงานด้านการศึกษา ในโครงการพระราชดำริ[7]
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.