รองศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ นพรัก (8 มีนาคม พ.ศ. 2484) อดีตประธานสภาคณบดีคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์แห่งประเทศไทย 2 วาระ (พ.ศ. 2552 - 2554), อดีตคณบดีคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร มหาวิทยาลัยนเรศวร 2 วาระ (พ.ศ. 2547 -2555) กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ และคณบดีวิทยาลัยการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยาคนแรก (พ.ศ. 2556)[1]
สมบัติ นพรัก | |
---|---|
เกิด | 8 มีนาคม พ.ศ. 2484 (ข้อผิดพลาด: แม่แบบ:อายุปีและวัน รองรับเฉพาะปีพุทธศักราช หากใช้เป็นคริสต์ศักราช กรุณาใช้ แม่แบบ:Age in years and days ) ประเทศไทย |
สัญชาติ | ไทย |
การศึกษา | The Maharaja Sayajirao University of Baroda, India |
คู่สมรส | รองศาสตราจารย์พรรณยุพา นพรัก |
บุตร | 1 คน |
ประวัติ
เกิดเมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2484 เข้าศึกษาในระดับอุดมศึกษาที่วิทยาลัยวิชาการศึกษาประสานมิตร จนสำเร็จการศึกษาในหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต (กศ.บ.(อังกฤษ-ไทย)) ในปี พ.ศ. 2512 จากนั้นจึงเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาโทที่ The Maharaja Sayajirao University of Baroda, India จนสำเร็จการศึกษา M.Ed. (Education Administration) เมื่อปี พ.ศ. 2519 ต่อมาเข้าศึกษา ในระดับปริญญาเอกจนสำเร็จการศึกษา Doctor of Philosophy (Ph.D.) จาก The Maharaja Sayajirao University of Baroda, India เมื่อปี พ.ศ. 2538 เริ่มรับราชการครั้งแรกที่โรงเรียนสวรรค์อนันต์วิทยา[2] ปัจจุบันสมรสกับ รองศาสตราจารย์พรรณยุพา นพรัก มีบุตร 1 คน
ประสบการณ์การทำงาน
บทความชีวประวัตินี้เขียนเหมือนประวัติสมัครงาน |
หลังจบการศึกษาจากวิทยาลัยวิชาการศึกษา ประสานมิตร ได้บรรจุเข้ารับราชการครั้งแรงที่โรงเรียนโรงเรียนสวรรค์อนันต์วิทยา และได้ตำรงตำแหน่งสำคัญต่าง ๆ ดังนี้
- พ.ศ. 2512 - พ.ศ. 2516 หัวหน้าสายภาษาอังกฤษ โรงเรียนสวรรค์อนันต์วิทยา
- พ.ศ. 2510 - พ.ศ. 2520 ผู้ช่วยอาจารย์ใหญ่ ฝ่ายวิชาการ โรงเรียนสวรรค์อนันต์วิทยา
- พ.ศ. 2520 - พ.ศ. 2525 รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ โรงเรียนสวรรค์อนันต์วิทยา
- พ.ศ. 2526 - พ.ศ. 2527 ประธานสภาอาจารย์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พิษณุโลก
- พ.ศ. 2527 - พ.ศ. 2529 หัวหน้าภาควิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พิษณุโลก
- พ.ศ. 2530 - พ.ศ. 2532 ผู้ช่วยรองอธิการบดีฝ่ายบริหาร มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พิษณุโลก
- พ.ศ. 2533 - พ.ศ. 2534 รักษาการรองอธิการบดีฝ่ายกิจการทั่วไป มหาวิทยาลัยนเรศวร
- พ.ศ. 2534 - พ.ศ. 2535 รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนิสิต มหาวิทยาลัยนเรศวร
- พ.ศ. 2535 - พ.ศ. 2536 รักษาการในตำแหน่งรองอธิการบดีฝ่ายกิจการทั่วไป มหาวิทยาลัยนเรศวร
- พ.ศ. 2536 - พ.ศ. 2539 รองอธิการบดีฝ่ายกิจการทั่วไป มหาวิทยาลัยนเรศวร
- พ.ศ. 2539 - พ.ศ. 2547 คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนเรศวร (2 วาระ)
- พ.ศ. 2542 - พ.ศ. 2546 ประธานสภาคณบดีบัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยของรัฐ (4 วาระ)
- พ.ศ. 2542 - พ.ศ. 2546 ประธานสภาคณบดีบัณฑิตวิทยาลัยแห่งประเทศไทย (4 วาระ)
- พ.ศ. 2543 - พ.ศ. 2548 กรรมการสภามหาวิทยาลัยนเรศวร (วาระแรก)
- พ.ศ. 2547 - พ.ศ. 2548 ประธานคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาพิษณุโลก เขต 3 (1 วาระ)
- พ.ศ. 2547 - พ.ศ. 2550 ประธานคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาพิษณุโลก เขต 2 (2 วาระ)
- พ.ศ. 2547 - พ.ศ. 2555 คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร (2 วาระ)
- พ.ศ. 2548 - พ.ศ. 2549 ที่ปรึกษาประจำคณะกรรมาธิการคมนาคม
- พ.ศ. 2548 - พ.ศ. 2551 รองประธานสภาคณบดีคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์แห่งประเทศไทย (2 วาระ)
- พ.ศ. 2549 - พ.ศ. 2552 ผู้ทรงคุณวุฒิ คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาพิษณุโลก เขต 1 (2 วาระ)
- พ.ศ. 2552 - พ.ศ. 2554 ประธานสภาคณบดีคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์แห่งประเทศไทย (2 วาระ)
- พ.ศ. 2553 - พ.ศ. 2555 กรรมการสภามหาวิทยาลัยนเรศวร (วาระที่ 2)
- พ.ศ. 2553 - พ.ศ. 2555 กรรมการคุรุสภา[3]
- พ.ศ. 2555 - พ.ศ. 2556 คณบดีวิทยาลัยการศึกษาต่อเนื่อง มหาวิทยาลัยพะเยา
ตำแหน่งหน้าที่ในปัจจุบัน
- พ.ศ. 2546 - ปัจจุบัน กรรมการสภาผู้ทรงคุณวุฒิ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ (4 วาระ)
- พ.ศ. 2547 - ปัจจุบัน ที่ปรึกษาสภาคณบดีบัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยของรัฐ
- พ.ศ. 2547 - ปัจจุบัน ที่ปรึกษาสภาคณบดีบัณฑิตวิทยาลัยแห่งประเทศไทย
- พ.ศ. 2548 - ปัจจุบัน กรรมการสภาผู้ทรงคุณวุฒิ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร (3 วาระ)
- พ.ศ. 2556 - ปัจจุบัน คณบดีวิทยาลัยการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา[2]
- พ.ศ. 2556 - ปัจจุบัน กรรมการผู้ทรงคุณวุฒฺ สภาสถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ ๔
- พ.ศ. 2559 - ปัจจุบัน รักษาการแทนคณบดีคณะวิทยาการจัดการและสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
เกียรติประวัติและผลงานดีเด่น
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
- พ.ศ. 2555 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[4]
- พ.ศ. 2550 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[5]
- พ.ศ. 2530 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[6]
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
Wikiwand in your browser!
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.