สนามกีฬาเบนิโต บิยามาริน (สเปน: Estadio Benito Villamarín) เป็นสนามฟุตบอลแห่งหนึ่งในเมืองเซบิยา ประเทศสเปน เป็นสนามเหย้าของสโมสรฟุตบอลเรอัลเบติส นับตั้งแต่เปิดใช้งานในปี ค.ศ. 1929 ปัจจุบันมีความจุ 60,720 ที่นั่ง นับเป็นสนามที่มีความจุมากที่สุดเป็นลำดับที่ 4 ของประเทศสเปนและมีความจุมากที่สุดในแคว้นอันดาลูซีอา[2]
ชื่อเต็ม | สนามกีฬาเบนิโต บิยามาริน |
---|---|
ชื่อเดิม | สนามกีฬามานูเอล รุยซ์ เด โลเปรา (ค.ศ. 2000–2010) |
ที่ตั้ง | อาเบนิดา เด เอลิโอโปลิส, s/n 41012 เซบิยา |
พิกัด | 37°21′23″N 5°58′53″W |
เจ้าของ | เรอัลเบติส |
ผู้ดำเนินการ | เรอัลเบติส |
ความจุ | 60,720 ที่นั่ง[1] |
สถิติผู้ชม | 57,123 (เรอัลเบติส พบ บาเลนเซีย 7 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2019) |
พื้นผิว | หญ้า |
การก่อสร้าง | |
เปิดใช้สนาม | ค.ศ. 1929 |
ปรับปรุง | ค.ศ. 1982, ค.ศ. 2000, ค.ศ. 2017 |
สถาปนิก | อันโตนิโอ กอนซาเลซ โตมัส การ์ริโด มานูเอล โรเปซ ลุยซ์ เฟร์มิน โกเมซ |
การใช้งาน | |
เรอัลเบติส (ค.ศ. 1929–ปัจจุบัน) |
ประวัติ
การก่อสร้าง
ในช่วงต้นปี ค.ศ. 1912 อานิบัล กอนซาเลซ อัลบาเรฅ-โอสโซริโอ สถาปนิกชาวสเปน ได้ออกแบบเบื้องต้นเป็นสนามกีฬาที่รองรับการจัดงานนิทรรศการไอบีเรีย–อเมริกัน 1929 ก่อนที่ คณะกรรมการบริหารได้มอบหมายให้ อันโตนิโอ อิยาเรส เดล ริโอ สถาปนิกดำเนินการออกแบบให้แล้วเสร็จในปี ค.ศ. 1923[3]
การแข่งขันในระดับทีมชาติ
การแข่งขันของทีมชาติสเปน
วันที่ | พบกับ | ผลคะแนน | รายการแข่งขัน |
---|---|---|---|
17 มีนาคม ค.ศ. 1929 | โปรตุเกส | 5–0 | กระชับมิตร |
21 ธันวาคม ค.ศ. 1983 | มอลตา | 12–1 | ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 1984 รอบคัดเลือก |
17 ตุลาคม ค.ศ. 1984 | เวลส์ | 3–0 | ฟุตบอลโลก 1986 รอบคัดเลือก |
25 กันยายน ค.ศ. 1985 | ไอซ์แลนด์ | 2–1 | ฟุตบอลโลก 1986 รอบคัดเลือก |
12 พฤศจิกายน 1986 | โรมาเนีย | 1–0 | ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 1988 รอบคัดเลือก |
18 พฤศจิกายน ค.ศ. 1987 | แอลเบเนีย | 5–0 | ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 1988 รอบคัดเลือก |
16 พฤศจิกายน 1988 | สาธารณรัฐไอร์แลนด์ | 2–0 | ฟุตบอลโลก 1990 รอบคัดเลือก |
23 มีนาคม ค.ศ. 1989 | มอลตา | 4–0 | ฟุตบอลโลก 1990 รอบคัดเลือก |
10 ตุลาคม ค.ศ. 1990 | ไอซ์แลนด์ | 2–1 | ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 1992 รอบคัดเลือก |
12 ตุลาคม ค.ศ. 1991 | ฝรั่งเศส | 1–2 | ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 1992 รอบคัดเลือก |
22 เมษายน ค.ศ. 1992 | แอลเบเนีย | 3–0 | ฟุตบอลโลก 1994 รอบคัดเลือก |
24 กุมภาพันธ์ 1993 | ลิทัวเนีย | 5–0 | ฟุตบอลโลก 1994 รอบคัดเลือก |
28 เมษายน 1993 | ไอร์แลนด์เหนือ | 3–1 | ฟุตบอลโลก 1994 รอบคัดเลือก |
7 มิถุนายน ค.ศ. 1995 | อาร์มีเนีย | 1–0 | ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 1996 รอบคัดเลือก |
15 ตุลาคม ค.ศ. 2018 | อังกฤษ | 2–3 | ยูฟ่าเนชันส์ลีก ฤดูกาล 2018–19 |
ฟุตบอลโลก 1982
สนามแห่งนี้เป็นหนึ่งใน 17 สนามที่ใช้จัดการแข่งขันฟุตบอลโลก 1982 โดยใช้ทั้งสิ้น 2 นัด ในรอบแบ่งกลุ่มในกลุ่มเอฟ ได้แก่[4]
วันที่ | ทีม 1 | ผล | ทีม 2 | รอบ |
---|---|---|---|---|
18 มิถุนายน ค.ศ. 1982 | บราซิล | 4–1 | สกอตแลนด์ | กลุ่มเอฟ (รอบแรก) |
23 มิถุนายน ค.ศ. 1982 | บราซิล | 4–0 | นิวซีแลนด์ | กลุ่มเอฟ (รอบแรก) |
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
Wikiwand in your browser!
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.