สถานีตลิ่งชัน
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สถานีตลิ่งชัน (อังกฤษ: Taling Chan Station; รหัสสถานี: RW06) เป็นสถานีรถไฟฟ้าในเส้นทางรถไฟฟ้าชานเมือง สายนครวิถี และรถไฟทางไกลสายใต้ เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2564 ตั้งอยู่ในซอยฉิมพลี 12 แขวงฉิมพลี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร
ตลิ่งชัน RW06 Taling Chan | ||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ข้อมูลทั่วไป | ||||||||||||||||||||||||||
ที่ตั้ง | ซอยฉิมพลี 12 ถนนฉิมพลี แขวงฉิมพลี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร | |||||||||||||||||||||||||
พิกัด | 13.7893°N 100.4393°E | |||||||||||||||||||||||||
ผู้ให้บริการ | การรถไฟแห่งประเทศไทย (สายใต้) รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. (สายสีแดงอ่อน) | |||||||||||||||||||||||||
ผู้บริหาร | กระทรวงคมนาคม | |||||||||||||||||||||||||
สาย | สายใต้ – สายธนบุรี | |||||||||||||||||||||||||
ชานชาลา | 3 (สายใต้) 4 (สายสีแดงอ่อน) | |||||||||||||||||||||||||
ทางวิ่ง | 6 | |||||||||||||||||||||||||
โครงสร้าง | ||||||||||||||||||||||||||
ประเภทโครงสร้าง | ระดับดิน | |||||||||||||||||||||||||
ข้อมูลอื่น | ||||||||||||||||||||||||||
รหัสสถานี | 4004 (ตช.) (สายใต้) RW06 (สายสีแดงอ่อน) | |||||||||||||||||||||||||
ประวัติ | ||||||||||||||||||||||||||
เริ่มเปิดให้บริการ | 2 สิงหาคม พ.ศ. 2564 | |||||||||||||||||||||||||
สร้างใหม่ | กันยายน พ.ศ. 2552 | |||||||||||||||||||||||||
การเชื่อมต่อ | ||||||||||||||||||||||||||
| ||||||||||||||||||||||||||
|
ถนนฉิมพลี (ซอยฉิมพลี 12) ในบริเวณสถานีรถไฟตลิ่งชันเดิม ในพื้นที่แขวงฉิมพลี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร
สถานีตลิ่งชัน เป็นสถานีปลายทางในส่วนตะวันตก (Westbound Section) ของโครงการรถไฟฟ้าชานเมือง สายนครวิถี ไปจนกว่าจะมีความชัดเจนในการก่อสร้างส่วนต่อขยายสายนครวิถี ระยะที่ 2 และ 3 ตั้งแต่สถานีตลิ่งชัน ไปจนถึงสถานีศาลายา สถานีศิริราช และสถานีนครปฐม จากคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ โดยระหว่างนี้ ชานชาลาที่ 2 และ 3 ซึ่งเป็นชานชาลาที่เตรียมไว้สำหรับส่วนต่อขยายช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช จะถูกใช้เป็นรางหลีกสำหรับรถด่วนของทางรถไฟสายใต้
G | ||
อาคารผู้โดยสาร | ทางออก 1, ศูนย์บริการผู้โดยสาร, ห้องขายบัตรโดยสาร, เครื่องขายบัตรโดยสาร, ร้านค้า | |
ราง สายใต้ (เฉพาะขบวนรถธรรมดา) | ||
ชานชาลา 1 | สายสีแดงอ่อน มุ่งหน้า สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ | |
ชานชาลา 2 | สายสีแดงอ่อน สถานีปลายทาง (เตรียมไว้สำหรับช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช) ราง สายใต้ (เฉพาะขบวนรถเร็ว/รถด่วน/รถด่วนพิเศษ) | |
ชานชาลา 3 | สายสีแดงอ่อน สถานีปลายทาง (เตรียมไว้สำหรับช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช) ราง สายใต้ (เฉพาะขบวนรถเร็ว/รถด่วน/รถด่วนพิเศษ) | |
ชานชาลา 4 | สายสีแดงอ่อน มุ่งหน้า สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ | |
B ทางเดินลอดสถานี |
- | ทางออก 2, ทางเดินลอดสถานีระหว่างชานชาลากับอาคารผู้โดยสาร |
เนื่องจากเป็นสถานีปลายทาง และเปิดใช้ชานชาลาที่ 1 เพียงชานชาลาเดียว ขบวนรถที่มาจากสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์จะเข้าจอดที่ชานชาลาที่ 1 จากนั้นผู้โดยสารที่มาจากสถานีรายทางจะต้องลงจากขบวนรถทั้งหมด และผู้โดยสารที่จะโดยสารไปยังสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์จะใช้ชานชาลาร่วมกับผู้โดยสารที่เดินทางมาจากสถานีรายทาง โดยผู้โดยสารที่จะโดยสารไปยังสถานีอื่น ๆ จะต้องรอจนกว่าผู้โดยสารที่มาจากสถานีรายทางออกจากขบวนรถทั้งหมด และรอให้เจ้าหน้าที่ทำการตรวจสอบสภาพรถไฟฟ้าให้เรียบร้อยเสียก่อน จากนั้นขบวนรถไฟฟ้าจะออกจากสถานีเพื่อสับรางเข้าสู่สถานีบางบำหรุต่อไป
สถานีแห่งนี้เป็นสถานีระดับดิน ชานชาลาเกาะกลางแบบแยก (island platform station) ขนาดมาตรฐานยาว 230 เมตร เพื่อรองรับส่วนต่อขยายช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช ลักษณะโดยรวมแตกต่างจากสถานีหลักหก เนื่องจากมีทางลอดระหว่างอาคารผู้โดยสารและชานชาลาที่ชั้นใต้ดินแทนการสร้างชั้นจำหน่ายบัตรโดยสารคร่อมชานชาลา
ปลายทาง | วัน | ขบวนแรก | ขบวนสุดท้าย | |||
---|---|---|---|---|---|---|
สายนครวิถี | ||||||
ชานชาลาที่ 1 และ 4 | ||||||
RW01 RE01 | กรุงเทพอภิวัฒน์ | จันทร์ - อาทิตย์ | 05:30 | 00:00 | ||
ในอนาคต สถานีแห่งนี้จะกลายเป็นสถานีชุมทางระหว่างสายหลักและสายแยกธนบุรี-ศิริราช และในอนาคตยังจะเชื่อมต่อกับสถานีตลิ่งชันอีกแห่งหนึ่งของรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลมตามแนวถนนราชพฤกษ์
สายที่ | จุดเริ่มต้น | จุดสิ้นสุด | ประเภทของรถที่ให้บริการ | ผู้ให้บริการ | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|---|
189 (4-59) (1) | กระทุ่มแบน | สถานีรถไฟชุมทางตลิ่งชัน | รถโดยสารประจำทางสีครีม–แดง | ขสมก. | |
สายที่ | จุดเริ่มต้น | จุดสิ้นสุด | ประเภทของรถที่ให้บริการ | ผู้ให้บริการ | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|---|
79 (4-42) (2) | อู่บรมราชชนนี | ราชประสงค์ | รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู) | ขสมก. | |
511 (2) | อู่ฟาร์มจระเข้สมุทรปราการ | สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (ถนนบรมราชชนนี) | 1.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู) 2.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีฟ้า (ใช้แก๊สธรรมชาติ) |
มีรถบริการทางด่วน (ขึ้นทางด่วนด่านสุขุมวิท 62 ลงด่านเพชรบุรี) | |
516 (2-25) (1) | หมู่บ้านบัวทองเคหะ | เทเวศร์ | รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีครีม–น้ำเงิน | ||
556 (4-64) (1) | วัดไร่ขิง | อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย | รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู) | รถปรับอากาศ เริ่มต้นที่วัดไร่ขิง | |
แยกนครชัยศรี | รถโดยสารประจำทางสีครีม–แดง | รถธรรมดา เริ่มต้นที่แยกนครชัยศรี | |||
สายที่ | จุดเริ่มต้น | จุดสิ้นสุด | ประเภทของรถที่ให้บริการ | ผู้ให้บริการ | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|---|
28 (4-38) | สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (ถนนบรมราชชนนี) | มหาวิทยาลับราชภัฏจันทรเกษม | รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีน้ำเงิน (ใช้พลังงานไฟฟ้า) | บจก.สมาร์ทบัส (เครือไทยสมายล์บัส) |
|
40 (4-39) | สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (เอกมัย) | ||||
123 (4-50) | อ้อมใหญ่ | สนามหลวง | |||
124 (4-51) | ศาลายา | รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีน้ำเงิน (ใช้พลังงานไฟฟ้า) | |||
124 (4-51) | รถโดยสารประจำทางสีส้ม (ใช้พลังงานไฟฟ้า) | ||||
146 (4-52) | บางแค | ตลิ่งชัน | รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีน้ำเงิน (ใช้พลังงานไฟฟ้า) | บจก.ไทยสมายล์บัส | เส้นทางวิ่งเป็นวงกลม |
149 (4-53) | พุทธมณฑลสาย 2 | BTS เอกมัย | |||
170 (4-49) | บรมราชชชนี (สน.คู่ขนานลอยฟ้า) | สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) | |||
507 (3-13) | สำโรง | สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (ถนนบรมราชชนนี) | บจก.สมาร์ทบัส (เครือไทยสมายล์บัส) |
||
515 (4-61) | เซ็นทรัลพลาซา ศาลายา | อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ | บจก.ไทยสมายล์บัส | ||
524 (1-23) | หลักสี่ | สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (ถนนบรมราชชนนี) | บจก.บางกอกยูเนี่ยนเซอร์วิส 524 (เครือไทยสมายล์บัส) |
||
539 (4-62) | อ้อมน้อย | อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ | 1.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีฟ้า 2.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีฟ้า (ใช้แก๊สธรรมชาติ) |
บจก.บุญมงคลกาญจน์ | |
4-67 | ศาลายา | กระทรวงพาณิชย์ | รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีน้ำเงิน (ใช้พลังงานไฟฟ้า) | บจก.ไทยสมายล์บัส | |
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.