ศาสนาอิสลามเป็นศาสนาที่มีผู้นับถือมากเป็นอันดับ 2 ในสหราชอาณาจักร ซึ่งมาจากผลสำรวจสำมะโน ค.ศ. 2011 ที่ระบุจำนวนประชากรทั้งหมด 2,786,635 คน หรือ 4.4% ของประชากรสหราชอาณาจักรทั้งหมด[4] ส่วนสำมะโน ค.ศ. 2021 (เท่าที่เผยแพร่ในข้อมูลเมื่อ พฤศจิกายน 2022) แสดงจำนวนประชากรที่ 3,868,133 คน (6.5%) ในอังกฤษและเวลส์ แบ่งเป็นในประเทศอังกฤษ 3,801,179 คน และประเทศเวลส์ 66,950 คน[5][6][a] สำมะโน ค.ศ. 2011 รายงานมุสลิม 76,737 คนในประเทศสกอตแลนด์ (1.45%) ลอนดอนเป็นเมืองที่มีประชากรมุสลิมมากที่สุดของประเทศ[7][8][9] ประชากรมุสลิมส่วนใหญ่ในสหราชอาณาจักรนับถือศาสนาอิสลามนิกายซึนนี[10] และจำนวนน้อยที่นับถือนิกายชีอะฮ์

ข้อมูลเบื้องต้น ศาสนิกชนรวม, ภูมิภาคที่มีศาสนิกชนจำนวนมาก ...
ศาสนาอิสลามในสหราชอาณาจักร
Thumb
มัสยิดกลางแบรดฟอร์ดเป็นมัสยิดที่ใหญ่ที่สุดตามความจุในสหราชอาณาจักร และใหญ่ที่สุดในยอร์กเชอร์และฮัมเบอร์
ศาสนิกชนรวม
  • 3,868,133 (2021)[1]
  • 6.5% ของประชากรทั้งหมด
  • (เฉพาะอังกฤษและเวลส์)
ภูมิภาคที่มีศาสนิกชนจำนวนมาก
เกรตเตอร์ลอนดอน1,318,754
เวสต์มิดแลนส์569,963
นอร์ทเวสต์อิงแลนด์563,105
ยอร์กเชอร์และฮัมเบอร์442,533
ศาสนา
ส่วนใหญ่นับถือนิกายซุนนี ส่วนชีอะฮ์มีจำนวนมาก และส่วนน้อยนับถือนิกายอะห์มะดียะฮ์
ภาษา
อังกฤษ, ปัญจาบ, สินธ์, อูรดู, เบงกอล, คุชราต, อาหรับ, ตุรกี, โซมาลี, เปอร์เซีย[2]
ปิด
Thumb
ศาสนาอิสลามในทวีปยุโรป
ตามจำนวนร้อยละของประชากรประเทศ[3]
  90–100%
  70–80%
คาซัคสถาน
  50–70%
  • บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา
  • แอลเบเนีย
  30–50%
มาซิโดเนียเหนือ
  10–20%
  • บัลแกเรีย
  • ไซปรัส
  • จอร์เจีย
  • มอนเตเนโกร
  • รัสเซีย
  5–10%
  • ออสเตรีย
  • สวีเดน
  • เบลเยียม
  • ฝรั่งเศส
  • เยอรมนี
  • กรีซ
  • ลีชเทินชไตน์
  • เนเธอร์แลนด
  • สวิตเซอร์แลนด์
  • สหราชอาณาจักร
  • นอร์เวย์
  • เดนมาร์ก
  4–5%
  2–4%
  • ลักเซมเบิร์ก
  • สโลวีเนีย
  • สเปน
  1–2%
  • โครเอเชีย
  • ไอร์แลนด์
  • ยูเครน
  < 1%
  • อันดอร์รา
  • อาร์มีเนีย
  • เบลารุส
  • เช็กเกีย
  • เอสโตเนีย
  • ฟินแลนด์
  • ฮังการี
  • ไอซ์แลนด์
  • ลัตเวีย
  • ลิทัวเนีย
  • มอลตา
  • มอลโดวา
  • โมนาโก
  • โปแลนด์
  • โปรตุเกส
  • โรมาเนีย
  • ซานมารีโน
  • สโลวาเกีย

ในสมัยกลาง มีการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมโดยทั่วไประหว่างโลกคริสเตียนกับโลกอิสลาม อย่างไรก็ตาม ในเวลานั้นยังไม่มีมุสลิมอาศัยอยู่ในบริติชไอลส์ (นักรบครูเสดบางส่วนหันมาเข้ารีตในดินแดนตะวันออก เช่น รอเบิร์ตแห่งเซนต์ออลบันส์) ในสมัยเอลิซาเบธ การติดต่อเริ่มมีความชัดเจนมากขึ้น เนื่องจากราชวงศ์ทิวเดอร์สร้างพันธมิตรกับโมร็อกโกและจักรวรรดิออตโตมันเพื่อต่อต้านสเปนสมัยราชวงศ์ฮาพส์บวร์คที่นับถือนิกายโรมันคาทอลิก เมื่อจักรวรรดิบริติชเติบโตขึ้น โดยเฉพาะในอินเดีย บริเตนจึงเริ่มปกครองดินแดนที่มีพลเมืองมุสลิมจำนวนมาก โดยกลุ่มหนึ่งที่รู้จักกันในชื่อ lascar เป็นที่รู้จักจากการที่พวกเขาตั้งถิ่นฐานในบริเตนในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 18 เป็นต้นมา ต่อมาในคริสต์ศตวรรษที่ 19 บูรพาคดีศึกษาสมัยวิกตอเรียกระตุ้นความสนใจต่อศาสนาอิสลาม และชาวบริติชบางส่วน (รวมถึงชนชั้นสูง) หันมาเข้ารับอิสลาม

ส่วนภายในกองทัพบริติชอินเดียน มีมุสลิมจำนวนมากต่อสู้เพื่อสหราชอาณาจักรทั้งในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งและที่สอง (โดยมีหลายคนที่ได้รับรางวัลกางเขนวิกตอเรีย เครื่องอิสริยาภรณ์ชั้นสูงสุดของบริเตน) หลายทศวรรษหลังความขัดแย้งในช่วงหลังกับการแบ่งอินเดียใน ค.ศ. 1947 มุสลิมหลายคน (จากบริเวณที่ปัจจุบันคือบังกลาเทศ, อินเดีย และปากีสถาน) เข้ามาตั้งถิ่นฐานในบริเตน จนกระทั่งปัจจุบัน ชาวบริติชเอเชียน (British Asians) เป็นประชากรมุสลิมส่วนใหญ่ในสหราชอาณาจักรในแง่ของเชื้อชาติ[11][12] แม้ว่าจะมีชุมชนเติร์ก, อาหรับ และโซมาลีที่สำคัญ และมีชาวบริติชจากภูมิหลังทางชาติพันธุ์หลายกลุ่มที่เข้ารับอิสลามสูงสุดถึง 100,000 คนก็ตาม[13]

ประวัติ

ช่วงต้น

แม้ว่าโดยทั่วไปศาสนาอิสลามคาดว่าเป็นการเข้ามายังสหราชอาณาจักรเมื่อไม่นานมานี้ แต่มุสลิมได้ทำการค้าขายและแลกเปลี่ยนแนวคิดกับชาวบริติชมาหลายศตวรรษ

Thumb
mancus/ดีนารทองคำของพระเจ้าออฟฟาที่คัดลอกจากดีนารของรัฐเคาะลีฟะฮ์อับบาซียะฮ์ (ค.ศ. 774); เหรียญนี้ยังรวมข้อความภาษาอาหรับที่ว่า "มุฮัมมัดเป็นศาสนทูตของอัลลอฮ์" ซึ่งเป็นประโยคจากชะฮาดะฮ์

หลักฐานแรกสุดของอิทธิพลอิสลามในอังกฤษสืบไปได้ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 8 เมื่อออฟฟา กษัตริย์แอลโกล-แซกซันแห่งเมอร์เซีย ผลิตเงินที่มีจารึกภาษาอาหรับ ส่วนใหญ่เป็นสำเนาของเหรียญที่ออกโดยอัลมันศูร ผู้ปกครองอับบาซียะฮ์ที่มีชีวิตร่วมสมัยกับพระองค์[14] ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 มุสลิมจากแอฟริกาเหนือ ตะวันออกกลาง และเอเชียกลางเข้ามาอยู่ที่ลอนดอน โดยทำงานหลากหลายประเภท ตั้งแต่นักการทูตและนักแปล ไปจนถึงพ่อค้าและนักดนตรี[15]

ประชากร

สรุป
มุมมอง
ข้อมูลเพิ่มเติม ปี, ประชากร ...
ประชากรมุสลิมในประเทศอังกฤษและเวลส์
ปีประชากร±%
1961 50,000[16]    
1971 226,000[16]+352.0%
1981 553,000[16]+144.7%
1991 950,000[16]+71.8%
2001 1,600,000[16]+68.4%
2011 2,706,066[17]+69.1%
20213,868,133[18]+42.9%
ปิด

ประชากรมุสลิมในประเทศอังกฤษและเวลส์เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สอง โซฟี กิลเลียต-เรย์ยกการเติบโตในช่วงล่าสุดเข้ากับ "การอพยพในช่วงล่าสุด อัตราการเกิดที่สูงกว่าค่าเฉลี่ย บางส่วนเปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลาม"[19]

สำมะโนสหราชอาณาจักร ค.ศ. 2021 รายงานว่า มุสลิมในอังกฤษและเวลส์มีจำนวน 3,868,133 คน หรือ 6.5% ของประชากรทั้งหมด[20]

ข้อมูลเพิ่มเติม ปีสำรวจสำมะโน, จำนวนมุสลิม ...
ปีสำรวจสำมะโนจำนวนมุสลิมประชากรในอังกฤษและเวลส์มุสลิม (ร้อยละของประชากร)มัสยิดที่จดทะเบียนแล้วจำนวนมุสลิมต่อมัสยิด
196150,00046,196,0000.11[16]77,143
1971226,00049,152,0000.46[16]307,533
1981553,00049,634,0001.11[16]1493,711
1991950,00051,099,0001.86[16]4432,144
20011,600,00052,042,0003.07[16]6142,606
20112,706,00056,076,0004.83[17]1,5001,912
2017 (ประมาณ)3,373,000[21]5.17
20213,868,13359,597,5426.5
ปิด
Thumb
ประชากรมุสลิมในเขตการปกครองท้องถิ่นของอังกฤษ, ค.ศ. 2011
  0.0%–0.9%
  1%–1.9%
  2%–4.9%
  5%–9.9%
  10%–19.9%
  20% ขึ้นไป

ตามการคาดการณ์ล่าสุด ประชากรมุสลิมในสหราชอาณาจักรน่าจะมีจำนวนประมาณ 13 ล้านคนภายใน ค.ศ. 2050[22]

Thumb
กลุ่มชาติพันธุ์ของมุสลิมชาวบริติช (สำมะโน ค.ศ. 2011)[17]

หมายเหตุ

  1. จำนวนที่ตีพิมพ์ในสำมะโน ค.ศ. 2021 โดยรวมสำหรับอังกฤษและเวลส์แตกต่างจากยอดรวมตามพื้นที่ด้วย 5

อ้างอิง

อ่านเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

Wikiwand in your browser!

Seamless Wikipedia browsing. On steroids.

Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.

Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.