วีระยุทธ ดิษยะศริน
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
นาวาอากาศเอก วีระยุทธ ดิษยะศริน (เกิด 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2498) อดีตพระสวามี[1][2][3] ในสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารีเป็นผู้อนุรักษ์และฟื้นฟูเครื่องบิน นางสาวสยาม[4][5] เครื่องบินพลเรือนลำแรกของไทยให้กลับมาใช้งานได้ และเป็นพระชนกของพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์ และพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณ
วีระยุทธ ดิษยะศริน | |
---|---|
![]() | |
เกิด | 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2498 จังหวัดพระนคร |
สัญชาติ | ไทย |
ตำแหน่ง | นายกสมาคมกีฬาทางอากาศและการบินแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ |
กรรมการใน |
|
คู่สมรส |
|
บุตร | • พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์ • พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณ |
บุพการี |
|
ญาติ | พลอากาศเอก ชัยพฤกษ์ ดิษยะศริน |
เว็บไซต์ | สมาคมกีฬาทางอากาศและการบินแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ [] |
ประวัติ
สรุป
มุมมอง
ชีวิตส่วนตัว
น.อ. วีระยุทธ ดิษยะศริน ชื่อเล่น แตง[6] เกิดเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2498 เป็นบุตรของพล.อ.อ. ประหยัด ดิษยะศริน อดีตกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) กับคุณหญิงวิจิตรา ดิษยะศริน (สกุลเดิม วิกิณิยะธนี)[7] มีน้อง 2 คน คือ
- นางปาริชาติ ดิษยะศริน หอวัฒนกุล[8] ชื่อเล่น กวาง อดีตภรรยาของพล.ต.อ. เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์[9][10] (อดีตผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ คนที่ 12)
- พล.อ.อ. ชัยพฤกษ์ ดิษยะศริน[11] ชื่อเล่น กระต่าย (อดีตผู้บัญชาการทหารอากาศคนที่ 25)
น.อ. วีระยุทธ ดิษยะศริน เคยสมรสกับสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี[12] พระราชธิดาพระองค์เล็กในพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร กับสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เมื่อวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2525 ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท พระบรมมหาราชวัง และมีพระธิดาทั้ง 2 พระองค์ ซึ่งได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ สถาปนาให้ดำรงฐานันดรศักดิ์เป็น พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้า ทุกพระองค์คือ[13]
- พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์ (ประสูติ 8 ตุลาคม พ.ศ.2525 — ปัจจุบัน)
- พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณ (ประสูติ 5 พฤษภาคม พ.ศ.2527 — ปัจจุบัน)
ปัจจุบัน น.อ. วีระยุทธ สมรสกับ คุณจิตสิรินท์ ดิษยะศริน (แพตตี้)[14][15]
น.อ. วีระยุทธ ดิษยะศริน ยังปรากฏในข่าวและสื่อในประเทศไทยอยู่บ่อยครั้งในฐานะนายกสมาคมกีฬาทางอากาศ และการบินแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ และตามเสด็จพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์ และพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณ ในโอกาสต่าง ๆ บ่อยครั้ง เช่น เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 เวลา 19.02 น. พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์ (พระยศในขณะนั้น) เสด็จไปยังพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง พร้อมด้วย น.อ. วีระยุทธ ดิษยะศริน พระบิดา ในการบำเพ็ญพระกุศลสวดพระอภิธรรมพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร[16]
งานอดิเรก
น.อ. วีระยุทธ ดิษยะศริน สนใจเครื่องบินชื่นชอบ และเก็บสะสมมอเตอร์ไซค์ฮาร์ลีย์-เดวิดสัน[17]
การศึกษา
นาวาอากาศเอก วีระยุทธ ดิษยะศริน สำเร็จการศึกษาจาก
- พ.ศ. 2514 : โรงเรียนเทพศิรินทร์
- พ.ศ. 2516 : โรงเรียนเตรียมทหาร
- พ.ศ. 2521 : โรงเรียนนายเรืออากาศ
- พ.ศ. 2527 : โรงเรียนนายทหารชั้นผู้บังคับฝูง
- พ.ศ. 2530 : โรงเรียนเสนาธิการทหารอากาศ วิทยาลัยการทัพอากาศ
- ปริญญาโท ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาผู้นำสังคม ธุรกิจ การเมือง มหาวิทยาลัยรังสิต[18]
- ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาพลศึกษาและกีฬา มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ[19]
สกุลดิษยะศริน
ดิษยะศริน เป็นนามสกุลที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานให้แก่นายร้อยเอก นายโต๊ะ ผู้บังคับกองร้อยที่ 2 กองพันที่ 1 กรมทหารราบที่ 11 (รักษาพระองค์) ปรากฏใน ทะเบียนนามสกุลที่เราได้ให้ไป ในลำดับที่ 1389 สะกดว่า ดิษยศริน และสะกดอย่างโรมันว่า Tishyasarin แต่ในประกาศพระราชทานนามสกุล ครั้งที่ 17 ลงวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2457 สะกดว่า ดิษยะศริน[20] จึงได้ยึดถือการสะกดนามสกุลดังกล่าวสืบมา[21]
การทำงาน
สรุป
มุมมอง
น.อ. วีระยุทธ ดิษยะศริน เคยดำรงตำแหน่งนักบินประจำหมวดบินที่ 2 หน่วยบินขับไล่โจมตีใบพัด หน่วยบิน 112 เชียงใหม่ จากนั้นเป็นผู้บังคับฝูงบิน 411 เชียงใหม่ รองผู้บังคับกองบิน 41 เชียงใหม่ และเป็นผู้บังคับการกองบิน 41 เชียงใหม่ และผู้ช่วยทูตทหารอากาศ ประจำกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. สหรัฐ
ภายหลังจากลาออกจากราชการ ได้เดินทางไปพำนักยังสหรัฐอเมริกา เพื่อดูแลพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณ ทำธุรกิจร้านอาหารที่รัฐเวอร์จิเนีย สหรัฐ และดำรงตำแหน่งนายกสมาคมกีฬาทางอากาศและการบินแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ และมูลนิธิอนุรักษ์และพัฒนาอากาศยานไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์[22] ซึ่งผลงานที่มีชื่อเสียงคือการอนุรักษ์และฟื้นฟูเครื่องบิน นางสาวสยาม เครื่องบินพลเรือนลำแรกของไทย ให้กลับมาใช้งานได้[23] ภายหลังได้ย้ายกลับมาพำนักในประเทศไทย[24]
จากการทุ่มเทให้กับการพัฒนากีฬาทางอากาศของประเทศไทย ในฐานะผู้ก่อตั้งและนายกสมาคมกีฬาทางอากาศ และการบินแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ คนแรกของประเทศไทย สามารถสร้างนักกีฬาทางอากาศเข้าแข่งขันในมหกรรมกีฬาระดับชาติและนานาชาติ โดยเป็นผู้ผลักดันให้นักกีฬาทางอากาศทีมชาติไทยประเภทร่มร่อน ทีมหญิง สามารถคว้าเหรียญทอง ในการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ 2018 เป็นการเข้าแข่งขันครั้งแรกของกีฬาทางอากาศและประสบความสำเร็จอย่างยิ่ง [25]
นอกจากนั้น น.อ. วีระยุทธ ดิษยะศริน มีส่วนสำคัญยิ่งในการริเริ่มและผลักดันให้ประเทศไทยคว้าแชมป์บังคับโดรนประเภทบุคคลหญิง จากการแข่งขันโดรนชิงแชมป์โลก “1st FAI WORLD DRONE RACING CHAMPIONSHIPS 2018” ณ เมืองเซินเจิ้น สาธารณรัฐประชาชนจีน และคว้าแชมป์รุ่น International Challenge จากการเชิญนักบินที่มีฝีมือจาก 9 ประเทศ เข้าร่วมการแข่งขันในงาน “ALISPORTS WESG Hongkong Esports Festival 2018 International Drone Racing Challenge” ที่ฮ่องกง[26]
ปัจจุบัน น.อ. วีระยุทธ ดิษยะศริน ดำรงตำแหน่ง นายกสมาคมกีฬาทางอากาศและการบินแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์[27] ประธานมูลนิธิอนุรักษ์ และพัฒนาอากาศยานไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์[28][29] และ ประธานสมาพันธ์กีฬาทางอากาศแห่งเอเชีย คนแรกของ AFA (Airsport Federation of Asia : AFA)[30] อีกทั้งยังคงดำเนินธุรกิจภัตตาคารอาหารไทยชื่อ Chao Pra Ya เมืองเฮิร์นดอน รัฐเวอร์จิเนีย สหรัฐอเมริกา[31][32]
น.อ. วีระยุทธ ดิษยะศริน มีความตั้งใจ มุ่งมั่น และทุ่มเท ต่อการพัฒนาวงการกีฬาทางอากาศของประเทศไทยและทวีปเอเชียให้เป็นที่รู้จัก สร้างนักกีฬาทางอากาศคนสำคัญของประเทศที่นำชื่อเสียงและเกียรติประวัติมาแก่ประเทศไทยและกองทัพไทย
ชีวิตส่วนตัว
นอกจากมีความสนใจเครื่องบินแล้ว นาวาอากาศเอก วีระยุทธ ดิษยะศริน ชื่นชอบและเก็บสะสมมอเตอร์ไซค์ฮาร์ลีย์-เดวิดสัน[17]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
- พ.ศ. 2538 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)[33]
- พ.ศ. 2535 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.)[34]
- พ.ศ. 2528 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้า (ท.จ.) (ฝ่ายหน้า)[35]
- พ.ศ. 2532 –
เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 2 (ส.ช.)[36]
- พ.ศ. 2537 –
เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)[37]
- พ.ศ. 2531 –
เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[38]
- พ.ศ. 2525 –
เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 1 (ภ.ป.ร.1)[39]
รางวัล
- ปริญญาปรัชญาดุษฏีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาพลศึกษาและกีฬา จากมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ[40]
อ้างอิง
Wikiwand - on
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.