ศาสตราจารย์ ดร.วิเลิศ ภูริวัชร ปัจจุบันดำรงตำแหน่งอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เคยดำรงตำแหน่งหลายตำแหน่งในจุฬาฯ เช่น คณบดีคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี (พ.ศ. 2562 - พ.ศ. 2567)[1][2] และกรรมการสภามหาวิทยาลัย รวมถึงเคยเป็นคอลัมนิสต์หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ นอกจากนี้ยังดำรงตำแหน่งกรรมการอิสระในบริษัทมหาชนจำกัด เช่น บริษัท เซ็น คอร์ปอเรชั่น กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) บริษัท กิจเจริญ เอ็นจิเนียริ่ง อีเลคทริค จำกัด (มหาชน)
โปรดรอสักครู่
หน้านี้อาจใช้ระยะเวลานานถึงหนึ่งสัปดาห์ เนื่องจากฉบับร่างจะได้รับการทบทวนตามลำดับ ขณะนี้มี 117 หน้าที่กำลังรอการทบทวน
ขอความช่วยเหลือ
วิธีปรับปรุงบทความของคุณ
คุณยังสามารถดู วิกิพีเดีย:บทความคัดสรร และ วิกิพีเดีย:บทความคุณภาพ เพื่อค้นหาตัวอย่างบทความที่ดีที่สุดของวิกิพีเดียในหัวข้อที่คล้ายกับบทความที่คุณแจ้งทบทวน ทรัพยากรการแก้ไข
เครื่องมือตรวจสอบ
|
ฉบับร่างนี้ถูกตีกลับ เมื่อ 26 สิงหาคม 2567 โดย Kaoavi (คุย) เนื้อหาของฉบับร่างที่ส่งมาไม่มีแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือมาสนับสนุนอย่างเพียงพอ แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือจำเป็นต่อการพิสูจน์ยืนยันได้ของเนื้อหา หากคุณต้องการความช่วยเหลือสำหรับการอ้างอิง โปรดดูที่ การอ้างอิงสำหรับผู้เริ่มต้น และ วิกิพีเดีย:การอ้างอิงแหล่งที่มา
ขอความช่วยเหลือ
วิธีปรับปรุงบทความของคุณ
คุณยังสามารถดู วิกิพีเดีย:บทความคัดสรร และ วิกิพีเดีย:บทความคุณภาพ เพื่อค้นหาตัวอย่างบทความที่ดีที่สุดของวิกิพีเดียในหัวข้อที่คล้ายกับบทความที่คุณแจ้งทบทวน ทรัพยากรการแก้ไข
ฉบับร่างนี้ถูกส่งซ้ำและกำลังรอการตรวจทานอีกรอบ |
- ความคิดเห็น: อ้างอิงบางส่วนยังไม่ถูกต้องโดยเฉพาะในย่อหน้าแรกที่มีการนำเว็บของจุฬามาอ้างอิงและนำเว็บบริษัทมาอ้างอิงซึ่งไม่ถูกต้อง แหล่งอ้างอิงควรเป็นแหล่งข่าวทั่วไปที่ไม่มีความสัมพันธ์กับศาสตราจารย์ท่านนี้ เบื้องต้นบทความผ่านความโดดเด่นครับแต่ควรปรับแก้การอ้างอิง Kaoavi (คาโอะเอวีไอ) (คุย) 22:07, 26 สิงหาคม 2567 (+07)
นี่คือบทความฉบับร่างซึ่งเปิดโอกาสให้ทุกคนสามารถแก้ไขได้ โปรดตรวจสอบว่าเนื้อหามีลักษณะเป็นสารานุกรมและมีความโดดเด่นควรแก่การรู้จักก่อนที่จะเผยแพร่เป็นบทความลงในวิกิพีเดีย กรุณาอดทนรอผู้เขียนคนอื่นมาช่วยตรวจให้ อย่าย้ายหน้าไปเป็นบทความเองโดยพลการ ค้นหาข้อมูล: Google (books · news · newspapers · scholar · free images · WP refs) · FENS · JSTOR · NYT · TWL สำคัญ: ถ้าลบป้ายนี้ออกจะทำให้บันทึกหน้าไม่ได้ ผู้แก้ไขหน้านี้คนล่าสุด คือ PPichit (พูดคุย | เรื่องที่เขียน) เมื่อ 22 วันก่อน (ล้างแคช)
ฉบับร่างนี้ถูกส่งสำหรับการทบทวนแล้วและกำลังรอการทบทวน |
ศาสตราจารย์ ดร. วิเลิศ ภูริวัชร | |
---|---|
อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 30 มิถุนายน 2567 | |
ก่อนหน้า | ศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ |
คณบดีคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | |
ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. 2562 – พ.ศ. 2567 | |
ก่อนหน้า | รองศาสตราจารย์ ดร.พสุ เดชะรินทร์ |
ถัดไป | รองศาสตราจารย์ ดร.ธารทัศน์ โมกขมรรคกุล |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2511 |
การศึกษา | ● บริหารธุรกิจบัณฑิต(เกียรตินิยม) (สาขาการเงินและการธนาคาร), จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ● Master of Public and Private Management, Yale University, USA ● Master of Business Administration, Yale University, USA ● Certificate in Human Resource Management, Harvard University, USA ● Doctor of Philosophy, D.phil.(Oxon), (Management Studies), University of Oxford, UK |
https://www.wilertvision.com/wilert | |
ประวัติ
ศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร เกิดเมื่อวันที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2511 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี บริหารธุรกิจบัณฑิต (เกียรตินิยม) (สาขาการเงินและการธนาคาร) จากคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปริญญาโทในสาขา Public and Private Management (MPPM) และ Business Administration (MBA) มหาวิทยาลัยเยล สหรัฐอเมริกา และสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก (Doctor of Philosophy, D.phil.(Oxon)) ในสาขา Management Studies จากมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด สหราชอาณาจักร[1]
ประวัติการทำงาน
ในประเทศ
- ศาสตราจารย์ สาขาบริหารธุรกิจ สังกัดคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[3]
- กรรมการสภามหาวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (พ.ศ. 2565 - พ.ศ. 2567)
- คณบดีคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (พ.ศ. 2562 - พ.ศ. 2567)
- หัวหน้าภาควิชาการตลาด คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (พ.ศ. 2553 - 2562)
- กรรมการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ภายใต้สังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
ต่างประเทศ / นานาชาติ
- กรรมการประเมินผลงานคุณภาพระดับโลก AACSB (Association to Advance Collegiate Schools of Business) สถาบันรับรองมาตรฐานการศึกษาด้านบริหารธุรกิจ สหรัฐอเมริกา
- กรรมการประเมินผลงานคุณภาพระดับโลก EQUIS (EFMD Quality Improvement System) สถาบันรับรองมาตรฐานการศึกษาด้านบริหารธุรกิจ สหภาพยุโรป
- กรรมการประเมินผลงานคุณภาพระดับโลก AMBA (Association of MBAs) สถาบันรับรองมาตรฐานหลักสูตรบริหารธุรกิจระดับบัณฑิตศึกษา สหราชอาณาจักร
- ประธานกรรมการวิจัยร่วมกับสภาเศรษฐกิจโลก (The World Economic Forum: WEF) - ในส่วนของการทำวิจัยในประเทศไทย
- กรรมการตัดสินในงานระดับโลก Youth4South Entrepreneurship Competition at United Nations
การทำงานในตำแหน่งอธิการบดีในช่วงแรก
เมื่อวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2567 สภาจุฬางกรณ์มหาวิทยาลัยมีมติแต่งตั้งให้เป็นผู้รักษาการแทนอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตั้งแต่วันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 เป็นต้นไป แทนศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ ที่ดำรงตำแหน่งครบวาระ[4] และมีได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตั้งแต่วันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2567[5]
คณบดีคณะพาณิชย์ศาสตร์และการบัญชี
ในการทำงานในตำแหน่งคณบดีคณะพาณิชย์ศาสตร์และการบัญชี ศ.ดร.วิเลิศ เคยให้สัมภาษณ์กับนิตยสารฟอบส์ ประเทศไทย[6] เกี่ยวกับการบริหารคณะพาณิชย์ศาสตร์และการบัญชีไว้ว่า ต้องการแสดงให้เห็นว่าสถาบันในประเทศไทยมีคุณภาพเท่าเทียมกับนานาชาติ โดยได้รับการประเมินจาก Association to Advance Collegiate Schools of Business (AACSB), Association of MBAs (AMBA) และ The EFMD Quality Improvement System (EQUIS)[6] จนคณะพาณิชย์ศาสตร์และการบัญชี ได้รับการประกาศเป็น "The Top Business School with Triple Crown Accreditation"[6] [7] โดยมีพันธกิจในการบริหารคณะคือ 4I ประกอบด้วย Internal, International, Innovation และ Integrate [8] นอกจากนี้ยังได้แสดงวิสัยทัศน์ส่วนหนึ่งไว้ว่า
"เราเชื่อว่าการศึกษาจะสร้างประสบการณ์ที่เปลี่ยนแปลงชีวิตผู้คนได้ ทำให้ผู้คนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ดังนั้นเราต้องสร้างสรรค์ภูมิปัญญาหรือความฉลาดเชิงนวัตกรรม เพราะสุดท้ายแล้วความรู้อาจมีวันล้าสมัย แต่ความฉลาดไม่มีวันล้าสมัย ที่สำคัญเมื่อเราพัฒนาผู้เรียนให้มีความเก่งแล้ว การปลูกฝังจิตวิญญาณในการรับใช้สังคมให้กับผู้เรียนก็เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ การสอนให้คนเราต้องไม่โกงต้องลงลึกทำให้คนๆ นั้น รู้สึกผิดเมื่อคิดจะโกง เพราะนั่นเป็นการสอนลงไปถึงระดับจิตวิญญาณ"
— วิเลิศ ภูริวัชร, เปิดวิสัยทัศน์พลิกโลกการศึกษาของ ศ.ดร. วิเลิศ ภูริวัชร พิชิตพันธกิจด้วยกลยุทธ์การพัฒนารอบทิศ, Forbes Thailand https://forbesthailand.com/news/marketing/cbs
ผลงาน
หนังสือ
- MARKETING is all around! (สำนักพิมพ์: กรุงเทพธุรกิจบิซบุ๊ค)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
- พ.ศ. 2566 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[9]
- พ.ศ. 2554 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)[10]
- พ.ศ. 2551 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.)[11]
อ้างอิง
Wikiwand in your browser!
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.