นายพลและนักการเมืองชาวจีน (ค.ศ. 1916–2015) จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วัง ตงซิ่ง (จีน: 汪东兴; พินอิน: Wāng Dōngxìng; 9 กันยายน ค.ศ. 1916 – 21 สิงหาคม ค.ศ. 2015) เป็นผู้บัญชาการทหารและนักการเมืองชาวจีนที่มีชื่อเสียงในฐานะหัวหน้าองครักษ์ส่วนตัวของเหมา เจ๋อตง สำนักงานที่ 9 ของกระทรวงความมั่นคงมหาชน (รวมถึงกรมทหารพิเศษ 8341) วังดำรงตำแหน่งสำคัญหลายตำแหน่ง ทั้งในพรรคคอมมิวนิสต์จีนและรัฐบาล เขาดำรงตำแหน่งรองรัฐมนตรีว่าการกระทรวงความมั่นคงมหาชนใน ค.ศ. 1955–1958 และอีกครั้งใน ค.ศ. 1960–1970 และดำรงตำแหน่งรองประธานพรรคคอมมิวนิสต์จีนตั้งแต่ ค.ศ. 1977 ถึง 1980 ภายใต้การนำของประธานฮฺว่า กั๋วเฟิง
วัง ตงซิ่ง | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
汪东兴 | |||||||||
วัง ตงซิ่งใน ค.ศ. 1955 ในฐานะหัวหน้ากองกำลังรักษาความปลอดภัยส่วนตัวของเหมา | |||||||||
รองประธานพรรคคอมมิวนิสต์จีน | |||||||||
ดำรงตำแหน่ง สิงหาคม ค.ศ. 1977 – กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1980 | |||||||||
ประธาน | ฮฺว่า กั๋วเฟิง | ||||||||
ข้อมูลส่วนบุคคล | |||||||||
เกิด | 9 มกราคม ค.ศ. 1916 อำเภออี้หยาง เจียงซี สาธารณรัฐจีน | ||||||||
เสียชีวิต | 21 สิงหาคม ค.ศ. 2015 ปี) ปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน | (99||||||||
พรรคการเมือง | พรรคคอมมิวนิสต์จีน | ||||||||
ชื่อภาษาจีน | |||||||||
อักษรจีนตัวเต็ม | 汪東興 | ||||||||
อักษรจีนตัวย่อ | 汪东兴 | ||||||||
| |||||||||
วังและกองกำลังความมั่นคงที่เขาไว้ใจมีส่วนสำคัญในการยุติการปฏิวัติทางวัฒนธรรมโดยการจับกุมแก๊งออฟโฟร์ [1] กระนั้น วังคัดค้านการเปลี่ยนแปลงนโยบายเศรษฐกิจที่เติ้ง เสี่ยวผิงเสนอ โดยยังคงภักดีต่อฮฺว่า กั๋วเฟิงและสานต่อแนวทางการเมืองของเหมา ผลที่ตามมาคือ เมื่อเติ้งรวบรวมอำนาจ เขาก็ปลดวังออกจากตำแหน่งในรัฐบาลและพรรค แต่ไม่ได้ทำร้ายเขาเพิ่มเติม[1]
วังเกิดในครอบครัวชาวนาในอำเภออี้หยาง เจียงซี ในวันที่ 9 มกราคม ค.ศ. 1916 เขาเข้าร่วมสันนิบาตเยาวชนคอมมิวนิสต์จีนใน ค.ศ. 1932 และกองทัพแดงจีน (ต้นแบบของกองทัพปลดปล่อยประชาชน) ใน ค.ศ. 1933 ขณะมีอายุได้ 17 ปี เขาได้รับการฝึกอบรมทางทหารและการเมืองที่ โรงเรียนทหารราบเผิงหยาง และต่อมาที่ มหาวิทยาลัยการทหารและการเมืองต่อต้านญี่ปุ่น ใน ค.ศ. 1934–35 เขาเข้าร่วมการเดินทัพทางไกลร่วมกับเหมาไปยังเหยียนอาน[1] ต่อมาเขาได้ต่อสู้เป็นเจ้าหน้าที่ทหารราบในสงครามต่อต้านญี่ปุ่น และหลังจากญี่ปุ่นพ่ายแพ้ เขาก็ได้ทำสงครามกลางเมืองจีน ซึ่งนำไปสู่การก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีนใน ค.ศ. 1949[1]
ด้วยการจัดตั้งรัฐบาลคอมมิวนิสต์ใหม่ วัง ตงซิ่งได้รับการแต่งตั้งเป็นรองผู้อำนวยการสำนักงานใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีน (ตำแหน่งราชการสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการบริหารและบุคลากร) และที่สำคัญยิ่งกว่านั้น ยังเป็นผู้อำนวยการสำนักงานที่ 9 ของกระทรวงความมั่นคงมหาชน ที่มีหน้าที่รับผิดชอบดูแลความปลอดภัยส่วนบุคคลของเหมา เจ๋อตง และยังปกป้องดูแลจงหนานไห่ซึ่งเป็นที่ตั้งของอำนาจรัฐบาลอีกด้วย สำนักงานที่ 9 ประกอบด้วยกรมทหารพิเศษ 8341 มีเพียงวังและลูกน้องของเขาเท่านั้นที่ได้รับอนุญาตให้พกอาวุธภายในจงหนานไห่ เหมาไว้วางใจวัง และมอบหมายให้เขารับผิดชอบการตรวจสอบประวัติของพนักงานทุกคนที่ทำงานในจงหนานไห่ (ไม่ใช่เฉพาะองครักษ์ แต่รวมถึงบริกร พ่อครัว เลขานุการ ฯลฯ)
ความไว้วางใจและการสนับสนุนอย่างต่อเนื่องของเหมาส่งผลให้วังได้รับแต่งตั้งเป็นรองรัฐมนตรีว่าการกระทรวงความมั่นคงมหาชนภายใต้การนำของรัฐมนตรีหลัว รุ่ยชิงใน ค.ศ. 1955 สำหรับความพยายามของเขาในการทำงานด้านความมั่นคงมหาชน วังยังได้รับยศพลตรีแห่งกองทัพปลดปล่อยประชาชนจีนใน ค.ศ. 1955
ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1958 เหมาลดตำแหน่งวังอย่างกะทันหัน โดยส่งเขาไปที่เจียงซีเพื่อเป็นผู้อำนวยการกรมการเวนคืนที่ดินของมณฑล ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1959 ถึงเดือนสิงหาคม ค. 1960 วังดำรงตำแหน่งสมาชิกคณะกรรมาธิการสามัญประจำคณะกรรมาธิการพรรคประจำมณฑลเจียงซี และรองประธานและเลขาธิการพรรคประจำมหาวิทยาลัยแรงงานคอมมิวนิสต์เจียงซี
อย่างไรก็ตาม ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1960 เหมาตัดสินใจเรียกวังกลับปักกิ่งและแต่งตั้งให้เขาเป็นหัวหน้าองครักษ์อีกครั้งและรองรัฐมนตรีว่าการกระทรวงความมั่นคงมหาชน ภายใต้การนำของรัฐมนตรีเซี่ย ฟู่จื้อ (ผู้ภักดีต่อเหมามากอีกคนหนึ่ง) ตลอดช่วงความโกลาหลและความไม่แน่นอนของการปฏิวัติทางวัฒนธรรม วังยังคงเป็นผู้ร่วมงานที่ซื่อสัตย์และมีประสิทธิภาพของเหมา แม้เขาจะไม่สามารถป้องกันเจ้าหน้าที่รักษาความมั่นคงของกระทรวงความมั่นคงมหาชนหลายคนจากการประณามและโจมตีของยุวชนแดงได้ (รัฐมนตรีเซี่ยอนุญาตและสนับสนุนให้กลุ่มยุวชนแดงที่เขาโปรดปรานโจมตีเจ้าหน้าที่รักษาความมั่นคงที่ภักดีต่อหลัว รุ่ยชิง)
ใน ค.ศ. 1966 ช่วงเริ่มต้นของการปฏิวัติทางวัฒนธรรม วังมักถูกพบเห็นในการชุมนุมครั้งใหญ่ของยุวชนแดง โดยนั่งข้างคนขับรถของเหมาในรถเปิดประทุนที่เหมาใช้ตรวจดูผู้สนับสนุนของเขา[1]
วังมีส่วนสำคัญในการทำรัฐประหารต่อต้านแก๊งออฟโฟร์ทันทีหลังการอสัญกรรมของเหมา ตามคำสั่งของฮฺว่า กั๋วเฟิง (ผู้สืบทอดตำแหน่งของเหมา) เขารวบรวมเจ้าหน้าที่ที่น่าเชื่อถือจำนวนหนึ่ง ให้พวกเขาสาบานว่าจะจงรักภักดีและรักษาความลับ และสั่งให้พวกเขา "ยิงเพื่อฆ่า" หากมีการต่อต้านด้วยอาวุธ[1]
โชคดีที่ในการนี้ไม่มีการนองเลือด ผู้ร่วมงานใกล้ชิดทั้งสามของเจียง ชิง (จาง ชุนเฉียว, เหยา เหวินยฺเหวียน และหวัง หงเหวิน) ถูกจับกุมอย่างรวดเร็วและง่ายดายหลังถูกลวงให้มาเข้าร่วมการประชุมระดับสูงในจงหนานไห่ โดยมีเจตนาว่าจะหารือเกี่ยวกับการสร้างหอรำลึกของเหมาและการเผยแพร่ผลงานล่าสุดของเขา เจียงเองก็ถูกจับเช่นกันโดยไม่มีการต่อต้าน[1]
วังเป็นผู้มีชื่อเสียงภายใต้การนำของประธาน ฮฺว่า กั๋วเฟิง โดยได้รับการแต่งตั้งให้เป็นรองประธานพรรคคอมมิวนิสต์จีนและเป็นหนึ่งในสมาชิกห้าคนของคณะกรรมาธิการสามัญประจำกรมการเมือง ซึ่งเป็นคณะกรรมาธิการที่มีสมาชิกระหว่าง 5 ถึง 11 คนและรวมถึงผู้นำระดับสูงของพรรคคอมมิวนิสต์จีนด้วย
วังและฮฺว่า กั๋วเฟิง ผู้ให้การอุปถัมภ์ของเขาค่อย ๆ ถูกเอาชนะโดยเติ้ง เสี่ยวผิง ผู้ที่ขึ้นสู่อำนาจสูงสุดและถูกปลดจากตำแหน่งสำคัญในรัฐบาลและพรรคทั้งหมดในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 1980
อย่างไรก็ตาม เพื่อเป็นการแสดงท่าทีทั้งต่อบทบาทของวังในฐานะผู้ปกป้องส่วนตัวของเหมา และเพื่อเป็นสัญญาณว่าจะไม่มีการข่มเหงศัตรูทางการเมืองอีก วังจึงได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งสำรองสุดท้ายของคณะกรรมาธิการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีนในการประชุมสมัชชาใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีนครั้งที่ 12]] ใน ค.ศ. 1982
ภายหลังการถึงแก่อสัญกรรมของเหมา วังยังคงสนับสนุนความทรงจำของประธานเหมาอย่างต่อเนื่อง โดยไปเยี่ยมหอรำลึกในจัตุรัสเทียนอันเหมินพร้อมกับดอกไม้ในวันเกิดของเหมาอยู่เสมอ และยังจัดพิมพ์ไดอารีใน ค.ศ. 1993 เพื่อรำลึกถึงวันครบรอบ 100 ปีชาตกาลของเหมาอีกด้วย[1] ใน ค.ศ. 2011 เขาบ่นว่าสังคมนิยมจีนกำลังถดถอย และตอนนี้ทุกคนก็ "หมกมุ่นอยู่กับการหาเงิน"[1] ไม่มีผู้นำทางการเมืองชาวจีนคนใดกล้าพูดต่อสาธารณะในลักษณะดังกล่าว แต่วังยังคงยึดมั่นในความเชื่อตั้งแต่ต้นของตน (จึงกลายเป็นผู้สนับสนุนกลุ่มฝ่ายซ้ายใหม่ของจีน) โดยประกาศตัวว่า "ทหารผู้ภักดีของประธานเหมาจนวาระสุดท้าย"[1]
วังเสียชีวิตเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม ค.ศ. 2015 ในปักกิ่งขณะมีอายุได้ 99 ปี[2]
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.