Remove ads
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รัฐประหาร (ฝรั่งเศส: coup d'état หรือ coup) เป็นความพยายามที่ผิดกฎหมายและเปิดเผยโดยกองทัพหรือชนชั้นสูงอื่น ๆ ในรัฐบาล เพื่อถอดถอนผู้นำที่ดำรงตำแหน่งอยู่[1][2] ส่วนรัฐประหารตัวเองเป็นสิ่งที่ผู้นำที่ขึ้นสู่อำนาจโดยวิธีทางกฎหมาย พยายามจะอยู่ในอำนาจด้วยวิธีที่ผิดกฎหมาย[2]
จากการประมาณการครั้งหนึ่ง มีการพยายามรัฐประหาร 457 ครั้งระหว่างปี พ.ศ. 2493 ถึง 2553 ซึ่งครึ่งหนึ่งทำได้สำเร็จ ในจำนวนนี้มีครึ่งหนึ่งที่ประสบความสำเร็จ[1] ความพยายามรัฐประหารส่วนใหญ่เกิดขึ้นในช่วงกลางคริสต์ทศวรรษ 1960 แต่ก็มีความพยายามรัฐประหารจำนวนมากที่เกิดขึ้นในช่วงกลางคริสต์ทศวรรษ 1970 ถึงต้นคริสต์ทศวรรษ 1990[1] การรัฐประหารที่เกิดขึ้นในสมัยหลังสงครามเย็นมีแนวโน้มที่จะส่งผลให้เกิดระบอบประชาธิปไตยมากกว่ารัฐประหารในสงครามเย็น[3][4][5] แม้ว่าการรัฐประหารส่วนใหญ่ยังคงปกครองแบบอำนาจนิยมต่อไป[6]
ปัจจัยที่อาจนำไปสู่การเกิดรัฐประหารและตัวกำหนดความสำเร็จหรือล้มเหลวของการรัฐประหารมีอยู่หลายปัจจัย เมื่อเกิดรัฐประหารขึ้น ความสำเร็จในการทำรัฐประหารจะได้รับการขับเคลื่อนด้วยความสามารถของผู้ทำรัฐประหารในการให้ชนชั้นสูงและสาธารณชนเชื่อว่าความพยายามรัฐประหารจะประสบความสำเร็จ[7] เมื่อเวลาผ่านไป จำนวนรัฐประหารที่ประสบความสำเร็จมีจำนวนลดลง[1] การรัฐประหารที่ล้มเหลวในระบอบอำนาจนิยมมีแนวโน้มที่จะทำให้อำนาจของผู้ปกครองเผด็จการเข้มแข็งขึ้น[8][9] จำนวนรัฐประหารสะสมเป็นตัวทำนายการรัฐประหารในอนาคตได้อย่างชัดเจน ปรากฏการณ์นี้มีชื่อเรียกว่า "กับดักรัฐประหาร" (coup trap)[10][11][12][13]
ส่วน "มาตรการป้องกันรัฐประหาร" (coup-proofing) เป็นสิ่งที่ระบอบการปกครองสร้างโครงสร้างที่ทำให้กลุ่มเล็กใด ๆ ยึดอำนาจได้ยาก ยุทธศาสตร์ป้องกันการรัฐประหารเหล่านี้อาจรวมถึงการวางครอบครัว ชาติพันธุ์ และกลุ่มศาสนาในกองทัพตามเชิงยุทธศาสตร์ และการกระจายตัวหน่วยงานทางทหารและหน่วยความมั่นคง[14] อย่างไรก็ตาม สิ่งนี้ทำให้ประสิทธิผลฝ่ายทหารลดลง[15][16][17][18][19][20] เหตุผลหนึ่งที่รัฐบาลเผด็จการมีแนวโน้มที่จะมีทหารที่ไร้ความสามารถก็คือ รัฐบาลเผด็จการกลัวว่าทหารจะก่อรัฐประหารหรือปล่อยให้เกิดการลุกฮือในประเทศอย่างต่อเนื่อง ด้วยเหตุนี้ ผู้ปกครองเผด็จการจึงมีแรงจูงใจที่จะวางผู้จงรักภักดีที่ไร้ความสามารถในตำแหน่งสำคัญของกองทัพ[21]
การรัฐประหารที่ประสบความสำเร็จเป็นหนึ่งในวิธีการเปลี่ยนระบอบการปกครองที่ขัดขวางการเปลี่ยนผ่านอำนาจอย่างสันติ[22][23] งานวิจัยใน พ.ศ. 2559 จัดผลลัพธ์ของรัฐประหารในระบอบเผด็จการที่เป็นไปได้ 4 รูปแบบ:[4]
รัฐประหารที่เกิดขึ้นในสมัยหลังสงครามเย็นมีแนวโน้มที่จะส่งผลให้เกิดระบอบประชาธิปไตยมากกว่ารัฐประหารในสงครามเย็น[3][4][5] แม้ว่าการรัฐประหารส่วนใหญ่ยังคงใช้ระบอบอำนาจนิยมต่อไป[6] การรัฐประหารที่เกิดขึ้นในระหว่างสงครามกลางเมืองทำให้สงครามมีระยะเวลาสั้นลง[25]
บทวิจารณ์วรรณกรรมทางวิชาการใน พ.ศ. 2546 พบว่า ปัจจัยดังต่อไปนี้มีความเกี่ยวข้องกับการเกิดรัฐประหาร
บทวิจารณ์วรรณกรรมใน พ.ศ. 2559 มีการกล่าวถึงปัจจัยอื่นเพิ่มเข้ามา เช่น ความแตกย่อยเป็นกลุ่มของกลุ่มชาติพันธุ์ (ethnic factionalism), การสนับสนุนจากรัฐบาลต่างประเทศ, ความขาดประสบการณ์ของผู้นำ, การเติบโตที่เป็นไปอย่างเชื่องช้า, การสูงขึ้นของค่าครองชีพอย่างฉับพลัน และความยากจน[27]
ตัวทำนายที่สำคัญหนึ่งของการเกิดรัฐประหารในอนาคตคือจำนวนรัฐประหารสะสมในอดีต[10][11][12]
ระบบการปกครองแบบผสมมีแนวโน้มที่จะเกิดรัฐประหารมากกว่ารัฐเผด็จการหรือรัฐประชาธิปไตย[28]
ความเหลื่อมล้ำทางสังคมก็เป็นอีกตัวแปรที่ทำให้มีแนวโน้มเกิดรัฐประหารเพิ่มขึ้น[29]
ตารางด้านล่างแสดงรายชื่อประเทศและผู้นำที่เข้าสู่อำนาจจากรัฐประหาร และยังคงอยู่ในตำแหน่งในปัจจุบัน
ตำแหน่ง | ผู้นำจากรัฐประหาร | ผู้นำที่ถูกปลด | ประเทศ | เหตุการณ์ | วันที่ |
---|---|---|---|---|---|
ประธานาธิบดี | เตโอโดโร โอเบียง อึงเกมา อึมบาโซโก | ฟรันซิสโก มาซิอัส อึงเกมา | อิเควทอเรียลกินี | รัฐประหารในประเทศอิเควทอเรียลกินี ค.ศ. 1979 | 3 สิงหาคม พ.ศ. 2522 |
ประธานาธิบดี | โยเวรี มูเซเวนี | ตีโต โอเคลโล | ยูกันดา | สงครามบุช ยูกันดา | 29 มกราคม พ.ศ. 2529 |
ประธานาธิบดี | เอมอมาลี ราห์มอน | ราห์มอน นาบีเยฟ[n 1] | ทาจิกิสถาน | สงครามกลางเมืองทาจิกิสถาน | 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2535 |
ประธานาธิบดี | เดอนี ซาซู-อึนแกโซ | ปาสกัล ลิสซูบา | คองโก | สงครามกลางเมืองสาธารณรัฐคองโก | 25 ตุลาคม พ.ศ. 2540 |
ประธานาธิบดี | อับดุลฟัตตาห์ อัสซีซี | มุฮัมมัด มุรซี | อียิปต์ | รัฐประหารในประเทศอียิปต์ พ.ศ. 2556 | 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 |
ประธานสภาการเมืองสูงสุด | มะห์ดี อัลมาซัต | อับดราบบูห์ มันซูร์ หะดี[n 2] | เยเมน | รัฐประหารในประเทศเยเมน ค.ศ. 2014–2015 | 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 |
ประธานาธิบดี | เอ็มเมอร์สัน อึมนังกากวา | รอเบิร์ต มูกาบี[n 3] | ซิมบับเว | รัฐประหารในประเทศซิมบับเว ค.ศ. 2017 | 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 |
ประธานสภาเปลี่ยนผ่านอธิปไตย | อับดุลฟัตตาห์ อัลบุรฮาน | อุมัร อัลบะชีร | ซูดาน | รัฐประหารในประเทศซูดาน ค.ศ. 2019 | 21 สิงหาคม พ.ศ. 2562 |
ประธานสภาบริหารแห่งรัฐ | มี่นอองไลง์ | อองซานซูจี | พม่า | รัฐประหารในประเทศพม่า พ.ศ. 2564 | 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 |
ประธานกรรมการแห่งชาติเพื่อความอยู่รอดของประชาชน | อัสซิมี โกอิตา | บาห์ เอ็นดาอู | มาลี | รัฐประหารในประเทศมาลี ค.ศ. 2021 | 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 |
ประธานาธิบดี | ก็อยส์ ซะอีด | ฮิเชม เมชิชิ[n 4] | ตูนิเซีย | วิกฤตการการเมืองตูนิเซีย ค.ศ. 2021 | 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 |
ประธานคณะกรรมการปรองดองและพัฒนาแห่งชาติ | มามาดี ดูมบูยา | อาลฟา กงเด | กินี | รัฐประหารในประเทศกินี พ.ศ. 2564 | 5 กันยายน พ.ศ. 2564 |
ประธานขบวนการรักชาติเพื่อการปกป้องและการฟื้นฟู | อิบราฮิม ตราโอเร่ | ปอล-อ็องรี ดามีบา | บูร์กินาฟาโซ | รัฐประหารในประเทศบูร์กินาฟาโซ กันยายน ค.ศ. 2022 | 30 กันยายน พ.ศ. 2565 |
ประธานสภาแห่งชาติเพื่อการคุ้มกันบ้านเกิดเมืองนอน | อาบดูราอามาน ชียานี | มุฮัมมัด บาซูม | ไนเจอร์ | รัฐประหารในประเทศไนเจอร์ พ.ศ. 2566 | 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2566 |
หัวหน้าคณะกรรมาธิการเพื่อการเปลี่ยนผ่านและฟื้นฟูรัฐธรรมนูญ | บรีซ โคลแตร์ ออลีกี เงมา | อาลี บองโก ออนดิมบา | กาบอง | รัฐประหารในประเทศกาบอง พ.ศ. 2566 | 30 สิงหาคม พ.ศ. 2566 |
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.