รัฐสภาแคนาดา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

รัฐสภาแคนาดา

รัฐสภาแคนาดา (อังกฤษ: Parliament of Canada, ฝรั่งเศส: Parlement du Canada) เป็นสภานิติบัญญัติในระดับสหพันธ์ของประเทศแคนาดา ตั้งอยู่ที่กรุงออตตาวา มีองค์ประกอบสำคัญสามส่วน ได้แก่ พระมหากษัตริย์ วุฒิสภา และสภาสามัญชน[1] ตามหลักจารีตรัฐธรรมนูญแล้วสภาสามัญชนเป็นสภาหลักซึ่งวุฒิสภานั้นไม่ค่อยจะก้าวล่วงในมติของสภาสามัญชน วุฒิสภานั้นมีหน้าที่กลั่นกรองกฎหมายจากมุมมองที่ไม่เป็นพรรคการเมืองและสามารถเสนอร่างกฎหมายแก่สภาได้ พระมหากษัตริย์ซึ่งมีผู้แทนพระองค์คือผู้สำเร็จราชการมีหน้าที่แทนพระองค์ในการพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้บังคับใช้เป็นกฎหมายได้

ข้อมูลเบื้องต้น รัฐสภาแคนาดา Parliament of Canada (อังกฤษ)Parlement du Canada (ฝรั่งเศส), ประเภท ...
รัฐสภาแคนาดา

Parliament of Canada (อังกฤษ)
Parlement du Canada (ฝรั่งเศส)
ถูกยุบในขณะนี้
ล่าสุด:สมัยที่ 44
Thumb
ประเภท
ประเภท
องค์ประกอบวุฒิสภา
สภาสามัญชน
ผู้บริหาร
สมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 3
ตั้งแต่ 9 กันยายน ค.ศ. 2022
แมรี ไซมอน
ตั้งแต่ 26 กรกฎาคม ค.ศ. 2021
ประธานวุฒิสภา
เรย์มอนด์ กาญ์ญี, ไม่สังกัดพรรค
ตั้งแต่ 12 มีนาคม ค.ศ. 2023
ประธานสภาสามัญชน
เกร็ก เฟอร์กัส, พรรคเสรีนิยมแห่งแคนาดา
ตั้งแต่ 3 ตุลาคม ค.ศ. 2023
มาร์ก คาร์นีย์, พรรคเสรีนิยมแห่งแคนาดา
ตั้งแต่ 26 ตุลาคม ค.ศ. 2017
ผู้นำฝ่ายค้าน
ปิแอร์ ปัวลิแยฟร์, พรรคพรรคอนุรักษนิยมแห่งแคนาดา
ตั้งแต่ 10 กันยายน ค.ศ. 2022
โครงสร้าง
สมาชิก443 ที่นั่ง
สมาชิกรัฐสภา 338 ที่นั่ง
วุฒิสภา 105 ที่นั่ง
Thumb
กลุ่มการเมืองใน
วุฒิสภา
  กลุ่มอิสระ (41)

  พรรคอนุรักษ์นิยม (18)
  กลุ่มก้าวหน้า (14)
  กลุ่มแคนาดา (13)
  อิสระ (8)

  ว่าง (11)
Thumb
กลุ่มการเมืองใน
สภาสามัญชน
  บล็อก เกเบกัว (32)
  พรรคกรีน (2)
  อิสระ (1)
  ว่าง (0)
การเลือกตั้ง
แต่งตั้งโดยผู้สำเร็จราชการ
(ตามคำแนะนำของนายกรัฐมนตรี)
แบ่งเขตคะแนนสูงสุด
การเลือกตั้งสมาชิกสภาสามัญชนครั้งล่าสุด
20 กันยายน ค.ศ. 2021
ที่ประชุม
Thumb
อาคารรัฐสภา
ออตตาวา ออนแทรีโอ แคนาดา
เว็บไซต์
www.parl.ca
ปิด

ผู้สำเร็จราชการซึ่งเป็นผู้แทนพระองค์มีหน้าที่เรียกประชุมและแต่งตั้งวุฒิสมาชิกจำนวน 105 รายตามคำแนะนำของนายกรัฐมนตรี ในขณะที่สมาชิกในสภาสามัญชนอีก 338 ราย หรือเรียกว่า สมาชิกรัฐสภา (อังกฤษ: members of Parliament, MPs) ซึ่งแต่ละคนมีหน้าที่เป็นผู้แทนในเขตเลือกตั้ง และมีที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนลงคะแนนเสียงในเขตนั้นๆ นอกจากนี้ผู้สำเร็จราชการยังมีเอกสิทธิ์ในฐานะผู้แทนพระองค์ในการเรียกประชุมสภาสามัญชน ทั้งพระมหากษัตริย์และผู้สำเร็จราชการหรือเป็นอุปราชโดยตำแหน่ง สามารถสั่งปิดสมัยประชุมหรือยุบสภาโดยการเรียกให้มีการเลือกตั้งทั่วไปได้ รัฐสภาสมัยปัจจุบันได้ถูกเรียกประชุมโดยผู้สำเร็จราชการ แมรี เมย์ ไซมอน ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2021 ซึ่งเป็นรัฐสภาชุดที่ 44 ตั้งแต่สมัยสมาพันธรัฐ

องค์ประกอบ

สรุป
มุมมอง

องค์ประกอบของรัฐสภาประกอบด้วยพระมหากษัตริย์เป็นประมุขโดยมีอุปราชคือผู้สำเร็จราชการเป็นผู้แทนพระองค์ สภาสูง คือ วุฒิสภา และสภาล่าง คือสภาสามัญชน แต่ละองค์ประกอบล้วนมีหน่วยราชการและข้าราชการแยกในแต่ละหน่วยงาน โดยมีบทบาทแยกจากกันชัดเจนแต่ร่วมมือกันในกระบวนการนิติบัญญัติ ธรรมเนียมปฏิบัตินี้ได้รับมาจากสหราชอาณาจักรและเกือบจะเป็นสำเนาเดียวกันกับรัฐสภาแห่งเวสต์มินส์เตอร์ โดยแตกต่างกันเพียงแค่ในกรณีของแคนาดานั้นมิได้เป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์ และไม่มีระบบขุนนางเพื่อประกอบกันเป็นสภาสูง

ในแคนาดาเรียกสมาชิกที่นั่งอยู่สภาสามัญชนว่า "สมาชิกรัฐสภา" (MPs) มิได้รวมถึงสมาชิกวุฒิสภา (ยกเว้นกล่าวในกฎหมาย อาทิเช่น พระราชบัญญัติรัฐสภาแห่งแคนาดา) ถึงแม้ว่าวุฒิสภาจะเป็นส่วนหนึ่งของรัฐสภาก็ตาม สมาชิกวุฒิสภาถึงแม้ว่าจะมีอำนาจและบทบาทน้อยในกระบวนการนิติบัญญัติ แต่มีลำดับเกียรติสูงกว่า วทั้งสมาชิกรัฐสภาและสมาชิกวุฒิสภาไม่สามารถมีบทบาทได้พร้อมๆ กันในสองสภา

พระมหากษัตริย์

Thumb
สมเด็จพระราชาธิบดีแห่งแคนาดา

พระราชสถานะของพระมหากษัตริย์ในกระบวนการนิติบัญญัตินั้นเรียกตามกฎหมายว่า “รัฐสภาในพระราชาธิบดี” (King-in-Parliament)[2] ซึ่งบัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติรัฐธรรมนูญ ค.ศ. 1867 และในอีกหลายหลักจารีตรัฐธรรมนูญ[1] แต่ทั้งพระมหากษัตริย์และผู้สำเร็จราชการล้วนไม่มีบทบาทในกระบวนการนิติบัญญัติเลยนอกจากการพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้บังคับใช้เป็นกฎหมายได้หากร่างกฎหมายนั้นผ่านการกลั่นกรองจากทั้งสองสภาแล้ว ในทุกพระราชบัญญัติ (กฎหมายสหพันธ์) จะขึ้นต้อนด้วยประโยคว่า "บัดนี้สมเด็จพระราชาธิบดี โดยและด้วยคำแนะนำและการยินยอมจากวุฒิสภาและสภาสามัญชนแห่งแคนาดา ออกพระราชบัญญัติดังนี้..."[3] ดังนั้นพระมหากษัตริย์จึงปราศจากความรับผิดชอบจากการกระทำใดๆ ของรัฐสภายกเว้นแต่จะระบุไว้ในพระราชบัญญัติเป็นเช่นนั้น[4] โดยปกติผู้สำเร็จราชการจะเป็นผู้ดำเนินการแทนพระองค์ในการพระราชทานพระบรมราชานุญาต แต่หากพระมหากษัตริย์จะทรงมีพระบรมราชวินิจฉัยเองก็ทรงกระทำได้โดยคณะรัฐมนตรีหรือผู้สำเร็จราชการจะต้องเป็นผู้ยื่นกราบบังคมทูลทราบเพื่อทรงมีพระบรมราชวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ[5]

สมาชิกของทั้งสองสภาในรัฐสภานั้นจะต้องแสดงออกถึงความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์และพระราชอำนาจ โดยสมาชิกรายใหม่จะต้องเข้าพิธีถวายสัตย์ปฎิญาณจึงจะสามารถเข้าปฏิบัติหน้าที่ได้ตามกฎหมาย นอกจากนี้ ฝ่ายค้านอย่างเป็นทางการ (Official opposition) จะเรียกอย่างเป็นทางการว่า "ฝ่ายค้านของพระมหากษัตริย์" เพื่อเป็นสัญลักษณ์ว่าถึงแม้จะอยู่ในฝ่ายค้านต่อนโยบายของรัฐบาลในปัจจุบันแต่ยังคงกระทำหน้าที่ถวายแก่พระมหากษัตริย์ซึ่งทรงเป็นกลางทางการเมือง[6][7]

วุฒิสภา

Thumb
วุฒิสภา

วุฒิสภา (ฝรั่งเศส: Sénat) คือสภาสูงในรัฐสภาแคนาดา ประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 105 คนมาจากการแต่งตั้งโดยผู้สำเร็จราชการตามคำแนะนำของนายกรัฐมนตรี[8] ซึ่งจะมาผู้ดำรงตำแหน่งจะต้องมีคุณสมบัติตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งจะต้องมีอายุ 30 ปีบริบูรณ์ และจะต้องเป็นข้าในพระองค์ฯ และมีสินทรัพย์มูลค่าสุทธิขั้นต่ำที่ $4,000 และจะต้องเป็นเจ้าที่ดินมูลค่าอย่างน้อย $4,000 ในรัฐที่เป็นผู้แทนในวุฒิสภา[9] สมาชิกวุฒิสภามีวาระตลอดชีพจนถึงปีค.ศ. 1965 เมื่อมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญให้เกษียณอายุราชการที่ 75 ปีบริบูรณ์ อย่างไรก็ตามสมาชิกวุฒิสภาอาจลาออกได้ก่อนกำหนด และสามารถถูกถอดจากความเป็นสมาชิกได้หากไม่สามารถเข้าร่วมประชุมรัฐสภาสองสมัยติดกัน

จุดประสงค์หลักด้านองค์ประกอบของวุฒิสภาคือการมีผู้แทนจำนวนเท่ากันตามแต่ละภูมิภาค รัฐออนทาริโอ 24 คน รัฐเกแบ็ก 24 คน เขตชายฝั่งทะเล 24 คน (รัฐโนวาสโกเชีย 10 คน รัฐนิวบรันสวิก 10 คน และ รัฐพรินซ์เอ็ดเวิร์ดไอแลนด์ 4 คน) และอีก 24 คน จากรัฐแถบตะวันตก (รัฐแอลเบอร์ตา รัฐชัสแคตเชวัน รัฐบริติชโคลัมเบีย และรัฐแมนิโทบา รัฐละ 6 คนเท่ากัน)[10] นอกจากนี้ยังมีอีกสองภูมิภาคซึ่งเพิ่มมาทีหลังในปีค.ศ. 1949 คือรัฐนิวฟันด์แลนด์และแลบราดอร์ จำนวน 6 คน ตั้งแต่ค.ศ. 1975 เป็นต้นมาในดินแดนทั้งสาม ได้แก่นอร์ทเวสต์เทร์ริทอรีส์ ยูคอน และนูนาวุต มีวุฒิสภาจำนวนดินแดนละ 1 คน ผู้สำเร็จราชการสามารถใช้อำนาจแต่งตั้งวุฒิสภาได้จำนวนอีก 4 ถึง 8 คน โดยสามารถทำได้หากมีพระบรมราชนุญาต และทั้งสี่ภูมิภาคนั้นแบ่งเป็นจำนวนเท่าๆ กัน โดยอำนาจพิเศษนี้เคยใช้เพียงครั้งเดียวตั้งแต่ปี ค.ศ. 1867 จนถึงปัจจุบัน ซึ่งในขณะนั้นทำให้จำนวนวุฒิสภาเพิ่มขึ้นเป็น 113 คน

สภาสามัญชน

Thumb
สภาสามัญชนแคนาดา

องค์ประกอบของรัฐสภาแคนาดาที่มาจากการเลือกตั้งคือสภาสามัญชน (ฝรั่งเศส: Chambre des communes) ซึ่งมาจากการเลือกตั้งในแบบคะแนนนำจากแต่ละเขตเลือกตั้งทั่วประเทศ โดยผู้สมัครรับเลือกตั้งจะต้องมีอายุอย่างน้อย 18 ปีบริบูรณ์ สมาชิกแต่ละคนมีวาระจนถึงยุบสภาซึ่งอาจจะลงเลือกตั้งใหม่ได้ในสมัยถัดไป โดยการแบ่งเขตเลือกตั้งนั้นจะทำตามสำมะโนประชากร[11] อย่างไรก็ตามรัฐธรรมนูญ ค.ศ. 1867 ได้รับรองให้แต่ละรัฐมีจำนวนสมาชิกรัฐสภาอย่างน้อยเท่ากับจำนวนของสมาชิกวุฒิสภา[12] และยังอนุญาตให้แต่ละรัฐมีจำนวนสมาชิกรัฐสภาเท่ากับที่เคยมีในปีค.ศ. 1976 หรือค.ศ. 1985[11] จึงมีผลทำให้ขนาดของสภาสามัญชนเกินกว่าจำนวนสมาชิกขั้นต่ำที่ 282 คน


อ้างอิง

Loading related searches...

Wikiwand - on

Seamless Wikipedia browsing. On steroids.