ระบบอาณัติสัญญาณรถไฟ
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ระบบอาณัติสัญญาณรถไฟ (Railway signalling system) เป็นระบบกลไก สัญญาณไฟ หรือระบบคอมพิวเตอร์ ในการเดินขบวนรถไฟเพื่อแจ้งให้พนักงานขับรถไฟทราบสภาพเส้นทางข้างหน้า และตัดสินใจที่จะหยุดรถ ชะลอความเร็ว หรือบังคับทิศทาง ให้การเดินรถดำเนินไปได้อย่างปลอดภัย รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะในการเดินรถสวนกันบนเส้นทางเดียว หรือการสับหลีกเพื่อให้รถไฟวิ่งสวนกันบริเวณสถานีรถไฟ หรือควบคุมรถไฟให้การเดินขบวนเป็นไปตามที่กำหนดไว้กรณีที่ใช้ระบบอาณัติสัญญาณแบบคอมพิวเตอร์
มุมมองและกรณีตัวอย่างในบทความนี้อาจไม่ได้แสดงถึงมุมมองที่เป็นสากลของเรื่อง (มีนาคม 2024) |
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
ระบบอาณัติสัญญาณรถไฟจะควบคุมและกำหนดทิศทางการเคลื่อนที่ และระยะเวลาในการเดินรถ ของขบวนรถที่อยู่บนทางร่วมเดียวกัน รวมทั้งการสับหลีกบริเวณสถานีรถไฟ โดยการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ ในระบบ จะออกแบบให้ทำงานสัมพันธ์กัน เพื่อให้พนักงานขับรถไฟสามารถตัดสินใจเดินรถได้อย่างมั่นใจ และไม่ให้เกิดความสับสน
ระบบอาณัติสัญญาณรถไฟในประเทศไทย ของการรถไฟแห่งประเทศไทย ออกแบบโดยคำนึงถึงความปลอดภัย สภาพภูมิประเทศ (ความลาดชัน, ทางโค้ง, สภาพราง) ความหนาแน่นของชุมชน และงบประมาณ
ระบบอาณัติสัญญาณรถไฟในประเทศไทย มีการลักษณะใช้สัญญาณประจำที่โดยพนักงานขับรถจะต้องปฏิบัติตามท่าแสดงสัญญาณอย่างเคร่งครัด โดยสัญญาณประจำที่นั้นได้มีการกำหนดให้ตั้งอยู่ทางด้านขวาของขบวนรถในทางเดี่ยว และด้านซ้ายของขบวนรถในทางคู่ แบ่งออกเป็น 3 ชนิดดังนี้
สัญญาณประจำที่ของการรถไฟที่ใช้มีดังนี้
หลักเขตสถานี (Limit of Station) ตั้งอยู่ก่อนถึงสถานีและอยู่ภายนอกประแจอันนอกสุดของสถานี ทำหน้าที่ห้ามหรืออนุญาตให้ขบวนรถเดินเข้าสู่สถานี
สัญญาณเตือน (Warner SIgnal หรือ Distant Signal) ตั้งอยู่ก่อนถึงสัญญาณเข้าเขตนอก หรืออยู่ร่วมกับสัญญาณเข้าเจตนอก หรือก่อนถึงสัญญาณเข้าเขตใน(หากไม่มีสัญญาณเข้าเขตนอก) หรือก่อนถึงสัญญาณอัตโนมัติ ประมาณ 1000 ถึง 1,500 เมตร ทำหน้าที่แสดงให้ทราบถึงสัญญาณประจำที่ตัวถัดไปว่าอยู่ในท่าใด
สัญญาณเข้าเขตนอก (Outer Home Signal) ตั้งอยู่ก่อนถึงสัญญาณเข้าเขตใน ทำหน้าที่ห้ามหรืออนุญาตให้ขบวนรถเดินถึงสัญญาณเข้าเขตใน
สัญญาณเข้าเขตใน (Inner Home Signal) ตั้งอยู่ก่อนถึงสถานีและประแจตัวนอกสุดของสถานี ทำหน้าที่ห้ามหรืออนุญาตให้ขบวนรถเดินเข้าสู่สถานี
สัญญาณออก (Starter Signal หรือ Exit Signal) ตั้งอยู่ในทิศทางที่ขบวนรถจะออกจากสถานี ทำหน้าที่ห้ามหรืออนุญาตให้ขบวนรถเดินเข้าสู่ตอน หรือตอนอัตโนมัติ หรือสัญญาณออกอันนอก(ถ้ามี)
สัญญาณออกอันนอก (Outer Starter Signal) ตั้งอยู่ถัดจากสัญญาณออก เป็นสัญญาณที่อยู่อันนอกสุด ทำหน้าที่เช่นเดียวกับสัญญาณออกหรือหลักเขตสับเปลี่ยน
สัญญาณเรียกเข้า (Call-On Signal) ตั้งอยู่ร่วมกับสัญญาณเข้าเขตนอกหรือสัญญาณเข้าเขตในชนิดไฟสี ทำหน้าที่อนุญาตให้ขบวนรถเดินผ่านสัญญาณที่อยู่ในที่ห้าม
สัญญาณตัวแทน (Repeater Signal) ตั้งอยู่ก่อนถึงสัญญาณประจำที่ในกรณีที่ไม่สามารถมองเห็นสัญญาณถัดไปในระยะไกลได้ (เช่นทางโค้ง) โดยแสดงสัญญาณตามท่าของสัญญาณประจำที่ตัวถัดไป
สัญญาณอัตโนมัติ (Automatic Signal) ตั้งอยู่ในตอนอัตโนมัติทำหน้าที่ห้ามหรืออนุญาตให้ขบวนรถเดินถึงสัญญาณประจำที่ตัวถัดไป
สัญญาณผ่านถนนเสมอระดับทาง (Level Crossing Rail Warning Signal) ตั้งอยู่ห่างจากขอบถนนที่ตัดผ่านทางรถไฟไม่น้อยกว่า 50 เมตร ทำหน้าที่แสดงให้พนักงานขับรถทราบว่าเครื่องกั้นถนนได้ปิดเรียบร้อยแล้วหรือไม่
การรถไฟแห่งประเทศไทยได้แบ่งประเภทของระบบอาณติสัญญาณประจำสถานีรถไฟ โดยแบ่งตามประเภทของสัญญาณประจำที่ที่ใช้ในแต่ละสถานีดังนี้
1) ประแจกลหมู่ชนิดควบคุมโดยเครื่องกลและไฟฟ้าสัมพันธ์กับสัญญาณไฟสี (Electromechanical Interlocking with Color Light Signals)
2) ประแจกลหมู่ชนิดควบคุมโดยสายลวดสัมพันธ์กับสัญญาณไฟสี (Electromechanical Interlocking but Operated from Lever Frame with Color Light Signals)
ข. ประแจกลเดี่ยว (ประแจมือ) พร้อมสัญญาณหางปลา (B : Semi Interlocking with Semaphore Signal with Hand Operated Key Locked Points)
ค. สถานีมีเสาสัญญาณหางปลาอย่างเดียว (C: Station with Semaphore Signals Only)
ง. สถานีใช้ป้ายเขตสถานี ไม่มีสัญญาณประจำที่ (D : Stations without Signals but with Hand Operated Key Locked Points)
จ. สถานีใช้ป้ายหยุดรถ หรือที่หยุดรถ (E : Stopping Place)
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.