คำถามยอดนิยม
ไทมไลน์
แชท
มุมมอง

ฟุตบอลโลกรอบคัดเลือก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

Remove ads

ฟุตบอลโลกรอบคัดเลือก (อังกฤษ: FIFA World Cup qualification) เป็นชุดของการแข่งขันซึ่งฟุตบอลทีมชาติแต่ละประเทศจะเข้าร่วมเพื่อคัดเลือกทีมที่ได้รับสิทธิ์ผ่านเข้าสู่การแข่งขันรอบสุดท้ายของฟุตบอลโลกชาย

ข้อมูลเบื้องต้น ก่อตั้ง, ภูมิภาค ...
Remove ads

การแข่งขันรอบคัดเลือกจะจัดขึ้นภายใน 6 โซนทวีปของฟีฟ่า แต่ละโซนจัดโดยสมาพันธ์ของตน ได้แก่ เอเอฟซี (เอเชีย), ซีเอเอฟ (แอฟริกา), คอนคาแคฟ (อเมริกาเหนือ กลาง และแคริบเบียน), คอนเมบอล (อเมริกาใต้), โอเอฟซี (โอเชียเนีย) และ ยูฟ่า (ยุโรป) การแข่งขันฟุตบอลโลกแต่ละครั้ง ฟีฟ่าจะเป็นผู้พิจารณาจำนวนโควต้าในรอบสุดท้ายที่จัดสรรให้กับแต่ละโซน โดยอ้างอิงจากจำนวนและความแข็งแกร่งสัมพัทธ์ของทีมในสมาพันธ์

ตามธรรมเนียม เจ้าภาพจัดการแข่งขันจะได้รับการโควต้าโดยอัตโนมัติ เช่นเดียวกับที่เคยเกิดขึ้นกับผู้ชนะการแข่งขันที่ผ่านมาในช่วงประวัติศาสตร์ของการแข่งขัน ส่วนผู้เข้ารอบสุดท้ายทีมอื่น ๆ ทั้งหมดจะพิจารณาจากความสำเร็จในรอบคัดเลือกเท่านั้นโดยไม่คำนึงถึงความสำเร็จครั้งก่อนหน้านี้

Remove ads

ประวัติ

สรุป
มุมมอง

โควต้าสำหรับการแข่งขันฟุตบอลโลกครั้งแรกในปี ค.ศ. 1930 นั้น ทุกทีมเข้าร่วมโดยผ่านการเชิญเท่านั้น ในฟุตบอลโลก 1934 เป็นครั้งแรกที่มีการแข่งขันรอบคัดเลือกแท้จริง ฟุตบอลโลกรอบคัดเลือกนัดแรกแข่งขันในวันที่ 11 มิถุนายน ค.ศ. 1933 เมื่อสวีเดนเอาชนะเอสโตเนีย 6–2 ที่สตอกโฮล์ม และทำประตูแรกได้ใน 7 นาทีของการแข่งขัน โดยแหล่งข่าวบางส่วน[1] ระบุว่าผู้ยิงประตูเป็นกัปตันทีมสวีเดน คนุต ครูน ในขณะที่คนอื่น ๆ ให้การรบรองว่าเป็นการทำเข้าประตูตัวเองโดยผู้รักษาประตูชาวเอสโตเนียชื่อ เอวาลด์ ทิปเนอร์

แม้ว่าจำนวนทีมที่ผ่านเข้ารอบสุดท้ายจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง (16 ทีมระหว่างปี ค.ศ. 1934 ถึง 1978 จากนั้นเพิ่มเป็น 24 ทีมระหว่างปี ค.ศ. 1982 ถึง 1994 และ 32 ทีมในปี ค.ศ. 1998 ถึง 2022 และสุดท้ายคือ 48 ทีมตั้งแต่ปี ค.ศ. 2026) รูปแบบการคัดเลือกยังคงไม่เปลี่ยนแปลง ทีมต่าง ๆ จะถูกจัดกลุ่มตามทวีปและแข่งขันกันเพื่อชิงโควต้าในจำนวนที่แน่นอน โดยมีโควต้าหนึ่งหรือสองตำแหน่งที่มอบให้กับผู้ชนะของเพลย์ออฟระหว่างทวีป

โควต้าการคัดเลือกแบ่งตามทวีป

ตารางด้านล่างแสดงจำนวนโควต้าที่จัดสรรโดยฟีฟ่า สำหรับแต่ละทวีปในแต่ละการแข่งขัน นอกจากนี้ยังแสดงจำนวนทีมทั้งหมดที่เข้าร่วมและแข่งขันในทุกรอบการคัดเลือก

ในตาราง "H" หมายถึง โควต้าอัตโนมัติสำหรับเจ้าภาพ "C" หมายถึง โควต้าอัตโนมัติสำหรับการป้องกันแชมป์ และ "inv" หมายถึง จำนวนทีมที่ได้รับเชิญในปี ค.ศ. 1930 โควต้าในการแข่งขันเพลย์ออฟข้ามทวีปจะแสดงแทน เป็นเศษส่วนดังนี้

  • 0.5 – โควต้าในเพลย์ออฟโดยตรง
  • 0.25 – โควต้ารอบรองชนะเลิศรอบเพลย์ออฟ (ซึ่งผู้ชนะจะพบกับทีมอื่นเพื่อชิงโควต้าในรอบชิงชนะเลิศ)
  • 1/3 – โควต้าการแข่งขันเพลย์ออฟซึ่ง 2 ใน 6 ทีมจะผ่านเข้ารอบ
ข้อมูลเพิ่มเติม ยุโรป, แอฟริกา ...
หมายเหตุ
  1. โควต้าได้รับโดยการเชิญเท่านั้น
  2. จริงๆ แล้ว 10 ทีมจากยุโรปได้รับโควต้านี้ และไม่มีทีมจากแอฟริกาหรือเอเชียเลย หลังจากที่อิสราเอลชนะโซนแอฟริกา/เอเชียโดยไม่ได้ลงแข่งขันเนื่องจากการถอนตัวของทีมอื่น จึงมีการจัดการเพลย์ออฟพิเศษระหว่างพวกเขากับทีมจากยุโรปอย่างเวลส์ และฝ่ายหลังเป็นฝ่ายชนะ
  3. ไม่มีเข้าร่วม
  4. ไม่มีทีมจากภูมิภาคนี้เป็นสมาชิกของฟีฟ่าก่อนปี ค.ศ. 1950
  5. ออสเตรียถอนตัวหลังจากผ่านเข้ารอบ
  6. อินเดีย สกอตแลนด์ และตุรกี ถอนตัวหลังจากผ่านเข้ารอบ ในตอนแรกฝรั่งเศสยอมรับที่จะเข้าร่วมแทน แต่ก็ถอนตัวเช่นกัน
  7. รวมทุกทีมที่เข้าสู่รอบคัดเลือก แม้ว่าพวกเขาจะถอนตัวหรือถูกคัดออกในภายหลัง หรือผ่านเข้ารอบโดยการชนะอย่างง่ายดาย ไม่รวมถึงทีมที่ผ่านการคัดเลือกโดยอัตโนมัติซึ่งกำหนดไว้ล่วงหน้า
  8. รวมเจ้าภาพแอฟริกาใต้และตูวาลูที่ไม่ใช่สมาชิกฟีฟ่า ซึ่งเข้าร่วมเพราะการแข่งขันรายการอื่น ๆ ก็ทำหน้าที่เป็นรอบคัดเลือกของฟุตบอลโลกด้วย
  9. รวมเจ้าภาพกาตาร์ที่เข้าร่วมเพราะการแข่งขันอื่นเป็นรอบคัดเลือกฟุตบอลโลกด้วย
  10. รวมทีมที่ไม่ใช่สมาชิกฟีฟ่า หมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนา ซึ่งสามารถเข้าร่วมได้เนื่องจากการแข่งขันอื่นจะทำหน้าที่เป็นการคัดเลือกฟุตบอลโลกด้วย
  11. รวมเฉพาะทีมที่แข่งขันรอบคัดเลือกอย่างน้อยหนึ่งนัดที่ไม่เป็นโมฆะ
Remove ads

อ้างอิง

Loading content...

แหล่งข้อมูลอื่น

Loading related searches...

Wikiwand - on

Seamless Wikipedia browsing. On steroids.

Remove ads